ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ วิธีเรียกร้องค่าชดเชยอย่างไร
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ การที่เราศูนย์เสียรายได้ หรือประโยชน์ระหว่างการรอซ่อมรถ รวมถึงการที่เราต้องเสียค่าเดินทางเพิ่มเติมระหว่างรอการซ่อมรถด้วย ซึ่งเราสามารถเรียกค่าชดเชยส่วนนี้ได้จากบริษัทฯ ประกันรถยนต์ของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด นั้นเป็นที่มาของคำว่า “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” ก็ความหมายตรงๆ ตัวเลยนั้นแหละ
ขั้นตอนการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- ถ่ายรูปสภาพรถ หลังจากเกิดอุบัติเหตุ และสำเนาใบเคลมของคู่กรณีจากบริษัทประกันภัยรถยนต์
- สำเนาใบเคลมประกันฝ่ายเรา (อย่าลืมว่า ก่อนนำรถเข้าซ่อมต้องสำเนาเก็บไว้ด้วยนะ)
- สำเนารายละเอียดการซ่อมรถ และสำเนาใบรับรถพร้อมระบุวันที่ส่งมอบรถคืนที่ชัดเจน (หลังจากซ่อมเสร็จ)
- การเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- แจ้งบริษัทประกันภัยของคู่กรณี ว่าต้องการเรียกร้อง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- ส่งเอกสารตามข้อ 1-3 และ สำเนาทะเบียนรถ, สำเนาบัตรประชาชนของผู้เรียกร้อง
- จดหมายเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ โดยระบุรายละเอียดค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการซ่อมรถ รวมถึงชื่อ และเบอร์โทรติดต่อกลับด้วย
*** ข้อมูลอ้างอิงประกาศจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เรื่อง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน พ.ศ.2559 คำสั่งนายทะเบียน ที่ 70/2561 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2561 บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจริง และได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็น 3 กลุ่ม
ค่าชดเชยสำหรับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ มีทั้งหมด 3 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 รถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน รวมผู้ขับขี่ ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
- กลุ่มที่ 2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะมีที่นั่งไม่เกิน 7 คน รวมผู้ขับขี่ ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
- กลุ่มที่ 3 รถยนต์ที่นั่งรวมผู้ขับขี่เกิน 7 คน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
* การเรียกร้องค่าขาดผลประโยชน์จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
** หากเป็นรถอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในประเภททั้ง 3 กลุ่ม เช่น รถจักรยานยนต์ จะต้องเรียกร้องกันตามตกลงจากคู่กรณีโดยใช้หลักฐานที่เกิดจากอุบัติเหตุเป็นหลัก
ตัวอย่างการคำนวนเรียกร้อง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
หากรถของเราถูกชนเสียหาย จะต้องเข้าอู่ซ่อมรถยนต์เป็นเวลา 4 เดือน เราควรจะได้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเท่าไหร่ จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับการคิดคำนวนจากบริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์ของคู่กรณี เช่น หากรถของเราต้องเข้าอู่ซ่อมนานโดยเป็นเหตุผลของทางอู่ เช่น อู่มีลูกค้าอยู่หลายคิว หรือ อะไหล่ในการซ่อมไม่มี ทำให้ระยะเวลาการซ่อมนาน เหตุผลต่างๆ เหล่านี้
แต่ละบริษัทฯ ประกันรถยนต์คำนวนค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถให้ประมาน 500 – 1,000 บาท/วัน และคำนวนระยะเวลาซ่อมให้เพียง 20 – 30 วันเท่านั้น แต่ถ้าหากเราเสียประโยชน์จากการใช้รถมากกว่าที่บริษัทฯ ประกันรถยนต์คู่กรณีคำนวนให้ล่ะ อย่างนี้เราจะสามารถเรียกร้อง และขอให้บริษัทฯ ประกันของคู่กรณีคิดคำนวนค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถได้มากกว่านี้ได้อย่างไร
ตัวอย่างจาก website คปภ. การเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
หลักเกณฑ์การคำนวนการขาดประโยชน์จากการใช้รถ
ตามปกติหลักการคิดคำนวนค่าขาดประโยชน์จากความเสียหายของรถจะไม่สามารถขอเพิ่มได้ แต่ถ้าหากเกิดการจากที่อู่ยืดเยื้อ ไม่ยอมซ่อมโดยไม่มีเหตุที่สมควร เราจะสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเพิ่มเติมได้ แต่ได้เพิ่มเฉพาะจำนวนวันที่ล่าช้าเท่านั้นนะ เช่น บริษัทฯ ประกันรถยนต์คู่กรณีคำนวนเวลาซ่อมไว้ที่ 15 – 20 วัน แต่อู่เกิดไม่ยอมหาอะไหล่มาซ่อมหรือหาอะไหล่ซ่อมช้ามาก ทำให้ใช้เวลาซ่อมถึง 4 เดือน เราสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็น 120 วันได้
นอกจากนี้เรายังสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ตั้งแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ แต่เราสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเท่านั้นไม่รวมค่าขาดรายได้จากการทำงานนะ แต่เราสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนที่เราต้องหารถยนต์คนอื่นมาใช้แทนรถที่ถูกชนจนเข้าอู่ไป จากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้
ซึ่งขึ้นอยู่กับการต่อรองกับบริษัทฯ ประกันรถยนต์ของคู่กรณี หากการต่อรอรองมีปัญหาหรือเกิดความขัดแย้ง ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ให้นำเรื่องไปเจรจาต่อที่สำนักงาน คปภ. ได้
ขั้นตอนการแจ้งเรื่องกับ คปภ. เรียกร้องค่าขาดผลประโยชน์เพิ่ม
- ติดต่อสำนักงาน คปภ. 1186 หรือ 0-2515-3999
- คปภ. จะใช้เวลา 10 – 15 วัน ในการดำเนินการเรียกบริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์มาเจรจากับผู้ร้องเรียน
- คปภ. จะช่วยแจ้งเรื่องและแนวทางการจ่ายขั้นต่ำ 500 บาท, 700 บาท และ 1000 บาท แต่การพิจารณาขึ้นอยู่กับทางบริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์อยู่ดี แต่ คปภ. จะมาช่วยเจรจาไกล่ไกลี่ยและยกหลักเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงวันเข้าซ่อมและวันรับรถเท่านั้น
- ค่าขาดผลประโยชน์จากการใช้รถ ซึ่งจะได้รับเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการเจรจา เพราะสุดท้าย คปภ. เป็นตัวกลางเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจในการบังคับให้บริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์ต้องจ่ายค่าชดเชยอะไรเพิ่มเติม
สรุป
หากคุณขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนกันขึ้น โดยคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด เราสามารถเรียกร้องให้คู่กรณีซ่อมรถยนต์ให้เราตามปกติแล้ว นอกจากนี้ ระหว่างรอการซ่อมรถยนต์ อย่าลืมเรียกร้อง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ กันด้วยเพื่อไม่ให้เป็นการเสียสิทธิ ด้วยความห่วงใยจาก TPIS หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่นี่คลิก
สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ TPIS พร้อมติดต่อกลับทันที!
TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ ทั้งประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรง แถมยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันภัยกับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ