วิธีวางแผนการเงินด้วยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ

วิธีวางแผนการเงินด้วยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ

ประกันชีวิตและประกันสุขภาพถือเป็นตัวช่วยทางการเงินอย่างดีที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินที่ไม่คาดฝันของเราและคนในครอบครัวได้ และสามารถใช้วางแผนป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่จะเกิดขึ้นกับเราในอนาคตได้อีกด้วย แต่ประกันชีวิตและประกันสุขภาพจะช่วยวางแผนการเงินอย่างไร และเราต้องทำอย่างไรบ้างมาอ่านกันต่อเล้ยย

1.เลือกประกันชีวิตและประกันสุขภาพให้ตรงความต้องการของเรา

ขั้นตอนแรกๆ ในการวางแผนการเงินด้วยประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่ควรทำ คือ ศึกษาประกันชีวิและประกันสุขภาพก่อนเลือกซื้อประกัน เพราะ ภาระทางการเงินของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ความต้องการประกันของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกันนั้นเอง โดยให้เราพิจารณาปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

1. อายุ

ต้องพิจราณาว่าสามารถส่งค่าเบี้ยประกันได้จนถึงอายุเท่าไหร่ หากเราเริ่มทำประกันชีวิตตอนอายุยังน้อยจะสามารถส่งค่าเบี้ยประกันได้นานค่าเบี้ยประกันก็จะถูก

แต่ถ้าเราเริ่มทำตอนอายุมากๆ หรือมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้วก็จะทำให้ค่าเบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายสูงขึ้น และบางทีประกันอาจจะคุ้มครองไม่ครอบคุมเท่ากับการทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ นั้นเอง

2. รายได้ – รายจ่าย

เป็นอีกเรื่องที่ต้องคำนวณให้ดี โดยเฉพาะผู้ประกอบการ หรืออาชีพอิสระ ที่อาจจะมีรายได้ไม่แน่นอน จำเป็นต้องคำนวณรายได้ให้ดีว่าสามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันเป็นเงินก้อนไหวไหมกระทบต่อการกินอยู่หรือธุรกิจของเรารึเปล่า หรือควรจะแบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันเป็นงวด ๆ ดี เพื่อที่จะรับความคุ้มครอง และผลประโยชน์สูงสุดจากประกันโดยไม่ต้องยกเลิกความคุ้มครองหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันเสียก่อนนั้นเอง

3. เปรียบเทียบราคาและความคุ้มครอง

อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อประกันทันทีควรศึกษาและเปรียบเทียบประกันด้วยตนเองก่อน อย่ารีบตัดสินใจซื้อจากการแนะนำจากเพื่อน จากเว็บไซต์ หรือจากการโทรมาขายประกันโดยตรงก็ตาม

ควรศึกษาหาประกันที่เหมาะกับเรา และเปรียบเทียบให้แน่ใจเสียก่อน โดยสามารถเปรียบเทียบเงื่อนไขและเบี้ยประกันจากหลาย ๆ บริษัทฯ พร้อมกับความคุ้มครองที่เหมาะสม

4. เปรียบเทียบเงื่อนไขความคุ้มครองของประกัน

หลังจากศึกษาประกันต่าง ๆ และเบี้ยประกันที่เราต้องการแล้ว ให้ตรวจสอบว่ามีเงื่อนไขและโรคใดบ้างที่ประกันจะไม่คุ้มครอง เช่น โรคจากพันธุกรรม โรคติดต่อทางเพศ โรคที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โรคทางจิตเวช หรือโรคที่เป็นก่อนทำประกัน รวมถึงนโยบายและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ด้วย

5. ตรวจสอบความจำเป็นในการทำประกัน

พิจารณาความต้องการตัวเองก่อนต่อประกันทุกครั้ง เพราะหากถึงช่วงอายุหนึ่งของเราความต้องการของเราอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง บางสิ่งที่เราไม่ต้องการให้คุ้มครองในวัย 20 – 30 ปี อาจจะจำเป็นมากขึ้นเมื่อเราอายุ 40 – 50 ปี ก็ได้ เช่น เราอาจจะต้องการประกันสุขภาพโรคร้ายแรง หรือ ประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มเติม

ดังนั้น เราควรตรวจสอบความต้องการของตัวเองเสมอๆ เพื่อให้ประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่เราทำตอบสนองความต้องการขอเราได้ดีที่สุด

6. ปรึกษานักวางแผนการเงิน

การทำประกันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันประเภทใดก็ตามถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินทั้งนั้น การปรึกษานักวางแผนทางการเงินก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ เพราะ นักวางแผนการเงินสามารถช่วยเราวางแผนประกันที่เหมาะสมกับเราในแต่ละช่วงอายุ และยังสามารถวางแผนการเงินอื่นๆ เช่น การลงทุน หรือการวางแผนธุรกิจได้อีกด้วย

ถึงแม้การเปรียบเทียบประกันชีวิต และประกันสุขภาพจากหลาย บริษัทฯ จะเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลาเยอะ แต่ TPIS สามารถช่วยเปรียบเทียบเบี้ยประกันและความคุ้มครองได้ง่ายๆ โทร. 02-792-2160