จะซื้อรถคันแรกทั้งที ต้องเตรียมตัวยังไง มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
Key Takeaways
- สำรวจความต้องการ, รู้วัตถุประสงค์ในการใช้งาน, ศึกษาข้อมูลรถที่ต้องการให้ดี, คำนวณค่างวดที่ต้องจ่าย, ตระเวนดูรถหลาย ๆ เจ้า และ ต่อรองราคากับพนักงานขาย คือ สิ่งที่ต้องทำเมื่อต้องการซื้อรถคันแรก
- เงินดาวน์และค่างวด, ค่าน้ำมันและค่าแก๊ส, ค่าบำรุงรักษา, ค่าภาษีรถยนต์, ค่า พ.ร.บ. รถยนต์ และ ค่าประกันภัยรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียหลังออกรถคันแรก
อยากมีรถคันแรกเหมือนเพื่อน ๆ คนอื่นเขาบ้าง เห็นพวกเขาจะไปไหนมาไหนก็สะดวกสบาย ไปเที่ยวคาเฟ่ฮิต ๆ จังหวัดใกล้ ๆ ก็ง่ายมาก จะออกต่างจังหวัดไปทริปสั้น ๆ ก็รวดเร็วทันใจ ไม่ต้องไปนั่งรอเวลาให้รถเต็มที่ขนส่งนาน ๆ อีกต่อไป วันนี้ TPIS เลยจะมาแชร์ความรู้เบื้องต้นที่คนอยากซื้อรถยนต์คันแรกต้องรู้ รวมถึงค่าใช้จ่ายสำคัญ ๆ ที่จะต้องเจอในอนาคต จะได้เตรียมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะตามมาหลังออกรถคันแรกได้ง่ายมากขึ้น
6 ค่าใช้จ่ายหลังออกรถคันแรกที่ต้องรู้
1. เงินดาวน์และค่างวด
ป็นค่าใช้จ่ายแรก ๆ ที่คนซื้อรถยนต์คันแรกต้องนึกถึง บางคนอาจจะต้องจ่ายเงินดาวน์เป็นก้อน บางคนอาจจะตัดสินใจไม่วางเงินดาวน์ แต่ค่าใช้จ่ายก็จะไปหนักที่ค่างวดแทน ซึ่งค่างวดที่เราต้องใช้ในการผ่อนรถแต่ละเดือนจะต้องไม่เกิน 30% ของรายได้ เพื่อไม่ทำให้เงินตึงมือนั่นเอง
ตัวอย่าง
มีเงินเก็บ 250,000 บาท มีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาท และอยากซื้อรถคันแรกเป็น Honda City รุ่น SV ราคาอยู่ที่ 665,000 บาท
- เงินดาวน์ เลือกดาวน์ 25% จะต้องเสียเงินดาวน์ทั้งสิ้น 166,250 บาท
- เงินค่างวด เลือกผ่อน 72 เดือน จะต้องเสียค่างวดต่อเดือนทั้งสิ้น 8,174 บาท
จะเห็นได้ว่า ค่างวดสุทธิไม่เกิน 30% ของรายได้ (ค่างวดคำนวนจากดอกเบี้ย 3% ต่อปี)
2. ค่าน้ำมันและค่าแก๊ส
หลังจากออกรถมาแล้วคงถึงเวลาต้องตามข่าวราคาน้ำมันอย่างจริงจัง เพราะสิ่งนี้สามารถดูดเงินได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งปริมาณน้ำมันที่ต้องใช้ก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งความถี่ในการใช้รถ ระยะเวลาในการเดินทาง รวมถึงอัตราสิ้นเปลืองของรถคันนั้น ๆ แถมราคาน้ำมันแต่ละชนิดยังไม่เท่ากันอีกด้วย
ตัวอย่าง
หากใช้รถยนต์ขับไปทำงานทุกวัน จะเสียค่าน้ำมันราว ๆ 4,000-8,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะทาง สภาพการจราจร และนิสัยในการขับรถ
3. ค่าบำรุงรักษา
หลายคนที่เพิ่งขับรถอาจจะไม่รู้ว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ นั่นคือค่าบำรุงรักษารถยนต์ที่เจ้าของรถต้องคอยเอารถไปตรวจเช็กสภาพทุกปีหรือทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร รวมถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรอง และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อดูแลรถยนต์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แถมยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนขับเองด้วย
ตัวอย่าง
หากเอารถไปเช็กระยะและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง จะมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 3,000-4,000 บาทต่อครั้ง
4. ค่าภาษีรถยนต์
ป้ายสีฟ้า ๆ ชมพู ๆ ที่เราเห็นติดอยู่หน้ารถทุกคันที่มีเลขปีกำกับอยู่ คือ ป้ายที่เอาไว้ยืนยันว่าเราเสียภาษีรถยนต์ในปีนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรถยนต์แต่ละแบบก็จะเสียค่าภาษีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์และกำลังเครื่องยนต์ในแต่ละรุ่น แต่หากเจ้าของรถคันไหนไม่ยอมจ่ายภาษีและเอารถออกมาใช้ก็จะมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ดังนั้นคนจะออกรถคันแรกต้องห้ามลืมเด็ดขาด
ตัวอย่าง
Honda City รุ่น SV เครื่องยนต์ 1,000 ซีซี (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
- 601-1,800 ซีซีต่อมา ซีซีละ 1.50 บาท = (1,000 – 600) x 1.50 = 600 บาท
สรุปต้องจ่ายภาษีรถยนต์ต่อปีทั้งสิ้น 300 + 600 = 900 บาท
5. ค่า พ.ร.บ. รถยนต์
หลายคนยังสับสนกับคำว่า พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ อยู่ เพราะนึกว่าเป็นอันเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วในแต่ละปีคนขับรถทุกคนจะต้องเสียทั้งค่าภาษีรถยนต์และค่า พ.ร.บ. รถยนต์ โดยค่า พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี ไม่ว่าจะเป็นรถคันแรกหรือรถเก่า 10 ปีก็ตาม เนื่องจากมีเอาไว้เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์โดยเฉพาะ
ตัวอย่าง
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะเสียค่า พ.ร.บ. รถยนต์อยู่ที่ 600 บาทต่อปี
6. ค่าประกันภัยรถยนต์
อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายขนาดใหญ่ที่คนซื้อรถคันแรกต้องเจอ โดยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนั้นจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ แต่ถ้าเรามีประกันรถยนต์ที่คุ้มครองอย่างครอบคลุม ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการขับรถได้ แถมถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นประกันภัยนี่แหละที่จะคอยช่วยเหลือเราเป็นอย่างดี ซึ่งประกันภัยรถยนต์ก็มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งชั้น 1, ชั้น 2 และชั้น 3 โดยแต่ละแบบก็จะมีค่าเบี้ยและความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป
ตัวอย่าง
ค่าประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 สำหรับรถ Honda City รุ่น SV ต่อปีจะอยู่ราว ๆ 10,000-15,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับแผนประกันและบริษัทประกันที่เลือกใช้บริการ
ความอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่มีประกันภัยรถยนต์
- ต้องออกค่ารักษาส่วนต่างและค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถทั้งหมดด้วยตัวเอง
- ต้องคุยและเผชิญหน้ากับคู่กรณีด้วยตัวเอง
- ต้องคอยดูแลและจัดการทุก ๆ ขั้นตอนด้วยตัวเอง หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น
จะดีกว่าไหมถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วมีคนคอยประสานงาน จัดการ และดูแลคุณในทุก ๆ ขั้นตอน พร้อมอำนวยความสะดวกได้อย่างเต็มที่ ด้วยประกันภัยรถยนต์จากตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์ที่พร้อมดูแลคุณ พิเศษด้วยโปรโมชันผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน*
ซื้อรถคันแรกทั้งที ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง?
1. สำรวจความต้องการ
“ อยากได้ หรือ จำเป็น ”
ก่อนจะผลีผลามออกรถคันแรกหรือทำเรื่องกู้เงินเพื่อมาซื้อรถยนต์คันแรก อยากให้เพื่อน ๆ สำรวจความต้องการของตัวเองให้ดีว่าอยากมีรถคันแรกไปเพื่ออะไร แค่อยากมีเหมือนคนอื่นเฉย ๆ หรืออยากมีเพราะความจำเป็น แต่ถ้าคนไหนเงินเหลือก็ออกได้เลยตามสบาย แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่รายได้ยังไม่มากพอ ก็ต้องคิดนิดนึงว่ามันจำเป็นจริง ๆ ใช่ไหม ซื้อมาแล้วจะไม่เดือดร้อนตัวเองหรือคนรอบข้าง หรือถ้าจะใช้เป็นช่องทางในการหารายได้เพิ่ม ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าลงทุนอย่างหนึ่ง โดยให้คำนึงตามนี้
- ความจำเป็น จำเป็นต้องใช้รถจริง ๆ เพราะต้องกลับบ้านต่างจังหวัดทุกอาทิตย์ ต้องพาพ่อแม่เข้าเมืองไปหาหมอบ่อย ๆ ต้องเอามาใช้ขนของหารายได้เสริม หรือที่ทำงานเดินทางลำบากมีรถสาธารณะผ่านน้อย
- รายได้ รายได้ที่มีเพียงพอต่อค่างวดในแต่ละเดือนไหม หลังจากหักค่างวดรถไปแล้ว ยังจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคล่องตัวหรือเปล่า
- เงินเก็บ มีเงินเก็บเพียงพอไหม ถ้าเอาไปดาวน์รถจนหมดและในอนาคตเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินจะคอนโทรลไหวไหม หรือในแต่ละเดือนถ้าหักค่างวดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว ยังพอมีเงินเหลือให้เก็บบ้างไหม
2. รู้วัตถุประสงค์ในการใช้งาน
“ รถแต่ละรุ่นตอบโจทย์ต่างกัน ”
อยากซื้อรถคันแรกเพราะจะเอาไว้ขับไปทำงานในเมือง อยากออกรถคันแรกเพราะจะเอาไว้พาทั้งครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัด หรืออยากซื้อรถยนต์คันแรกเพราะอยากเอามาขนของขนพัสดุของธุรกิจเสริมตัวเอง ดังนั้นการรู้เป้าหมายว่าเราจะออกรถเพื่อเอามาทำอะไร จะช่วยให้เราเลือกรุ่นรถได้ง่ายขึ้น ตัดสินใจได้ถูกต้องมากขึ้น แถมยังช่วยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตได้อย่างตรงจุด
- เน้นขับรถในเมือง เหมาะกับรถยนต์ซีดานหรือรถยนต์อีโคคาร์
- เน้นจุคนได้เยอะ ๆ เหมาะกับรถยนต์เอ็มพีวีหรือรถตู้
- เน้นขนของได้จุก ๆ เหมาะกับรถยนต์เอสยูวีหรือรถกระบะ
3. ศึกษาข้อมูลรถที่ต้องการให้ดี
“ รถแต่ละรุ่นมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ”
เคยนั่งรถพี่คนนี้แล้วชอบมาก ๆ เคยเห็นรถยนต์คันนี้ในซีรีส์เรื่องโปรดแล้วหลงรักเลย เลยตัดสินใจซื้อรถยนต์คันแรกตามเพื่อนหรือตามซีรีส์ที่ชอบ เพราะสวยและอยากได้มานาน โดยไม่หาข้อมูลดูรีวิวเลยสักนิด ถือเป็นเรื่องพลาดแบบมหันต์ เพราะจะซื้อรถคันแรกทั้งที มันต้องศึกษารายละเอียดให้ดี ไม่ว่าจะเรื่องฟังก์ชันของรถ สมรรถนะในการขับขี่ ระบบความปลอดภัย รวมถึงบริการหลังการขายและศูนย์บริการที่มี และต้องไม่ลืมไปลองขับดูว่ารถที่เราชอบมันตอบโจทย์เราจริง ๆ ใช่ไหม
4. คำนวณค่างวดที่ต้องจ่าย
“ ซื้อรถคันแรกทั้งทีต้องไม่ลำบาก ”
รับได้ไหมถ้าเงินเดือนจะหายวับไปกับตาเดือนละเกือบหมื่นหรือบางคนอาจจะหลายหมื่น เพื่อเอาไปจ่ายค่างวดรถคันแรกที่เป็นความฝันของหลาย ๆ คน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย และยิ่งถ้าใครต้องจ่ายค่างวดเกินกว่า 30% ของรายได้ ก็ต้องคิดให้เยอะ ๆ เพราะเงินเดือนที่เหลืออาจจะไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น อย่างค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่ากิน คนที่อยากซื้อรถคันแรกจึงต้องคำนวณค่างวดและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของตัวเองให้ดี ก่อนตัดสินใจออกรถ
5. ตระเวนดูรถหลาย ๆ เจ้า
“ ค้นหาตัวเลือกที่ดีที่สุดให้ตัวเอง ”
นั่งรถผ่านโชว์รูมนี้ทุกวันเห็นว่าใกล้บ้านดี เลยเลือกออกรถคันแรกกับที่นี่แหละง่ายดี อาจจะง่ายจริงแต่อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะแต่ละเจ้าแต่ละโขว์รูม รวมถึงเซลล์แต่ละคนก็ให้ข้อเสนอในการซื้อรถคันแรกไม่เหมือนกัน บางที่ได้ส่วนลดเล็กน้อยแต่ไม่ได้ของแถมอะไรเลย บางที่ไม่ได้ส่วนลดเลยแต่ได้ของแถมแบบจุก ๆ ดังนั้นยิ่งตระเวนดูหลายเจ้าก็จะยิ่งได้ข้อเสนอที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับเรา
6. ต่อรองราคากับพนักงานขาย
“ คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง ”
ใครว่าพนักงานขายพูดเก่งแล้วเราก็ต้องพูดและโน้มน้าวให้เก่งกว่าให้ได้ เพื่อที่จะได้ซื้อรถคันแรกในราคาที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ และนาน ๆ เราจะออกรถสักที ก็ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจและคารมที่มีให้หมดหน้าตัก เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด แต่ต้องไม่ลืมไปสำรวจตลาดให้ดีก่อนว่าที่ไหนให้ส่วนลดเท่าไรและได้ของแถมอะไรบ้าง เพื่อเอามาเป็นเครดิตในการต่อรองกับเซลล์
หลังจากที่ทุกคนได้วิธีเตรียมตัวในการซื้อรถยนต์คันแรกกันไปแล้ว ก็ตามมาดูค่าใช้จ่ายสำคัญ ๆ ที่คนออกรถคันแรกต้องเจอ เพื่อช่วยให้ทุกคนรับมือได้อย่างทันท่วงที
และทั้งหมดนี้ก็คือรายละเอียดที่คนจะซื้อรถคันแรกต้องรู้ เพื่อช่วยในการเตรียมตัวและเตรียมเงินมารองรับค่าใช้จ่ายที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต ส่วนใครที่สนใจและอยากรู้รายละเอียดความคุ้มครองของแผนประกันแต่ละแบบ หรืออยากรู้เรื่องเบี้ยประกันเพิ่มเติม ก็สามารถให้ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิสเป็นผู้ดูแลในการเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ที่ตรงใจคุณมากที่สุด เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้
สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ TPIS พร้อมติดต่อกลับทันที!
TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส ที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ แถมยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันภัยรถยนต์กับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ