ระบบเบรกมีกี่แบบ เบรก ABS คืออะไร ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้จริงหรอ?
Key Takeaways
- ระบบเบรกในอุตสาหกรรมรถยนต์มีทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน คือ ดรัมเบรกกับดิสก์เบรก โดยดรัมเบรกถือเป็นเบรกที่มีพละกำลังในการเบรกสูง จึงสามารถเบรกรถได้เร็ว ในขณะที่ดิสก์เบรกจะเด่นเรื่องช่วยลดอาการเบรกหาย แถมยังสามารถระบายความร้อนรวมถึงน้ำได้ดี
- ระบบ ABS คือ ระบบป้องกันเบรกล็อก ด้วยการคลายผ้าเบรกสลับกับการจับผ้าเบรกประมาณ 16-50 ครั้งต่อ 1 วินาที เพื่อทำให้ล้อรถยนต์ไม่ล็อกและคนขับสามารถควบคุมทิศทางของรถได้ โดยจะทำงานเมื่อมีการเหยียบเบรกแบบกะทันหัน
เวลาดูรีวิวรถยนต์แต่ละรุ่นก็มักจะมีการพูดถึง ระบบ ABS อยู่เสมอ ๆ แถมรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ แทบทุกคันก็มักจะมาพร้อมระบบเบรก ABS กันทั้งนั้น แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าระบบ ABS คืออะไรกันแน่ วันนี้ TPIS เลยรวบรวมเอาข้อมูลเกี่ยวกับระบบเบรก ABS มาแชร์ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจหลักการทำงานของระบบนี้กันมากขึ้น
ระบบเบรกในรถยนต์ มีทั้งหมดกี่แบบ?
1. ดรัมเบรก (Drum Brake)
“ หยุดรถได้เร็วทันใจ ”
ถือเป็นระบบเบรกยุคบุกเบิกที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์มาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ โดยหลักการทำงานของเบรกระบบนี้จะอาศัยแรงผลักของผ้าเบรก เพื่อทำให้ล้อรถยนต์เกิดแรงเฉื่อย จนตัวรถค่อย ๆ ชะลอความเร็วลงและหยุดในที่สุด
โดยระบบดรัมเบรกจะอยู่ติดแน่นกับดุมล้อรถยนต์ และภายในจะมี สปริงดึงกลับ ลูกสูบน้ำมันเบรก ที่ต่อเข้ากับสายเบรก และเมื่อไรก็ตามที่เราเหยียบเบรก ผ้าเบรก หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ก้ามปูเบรก จะถูกดันให้ไปติดกับดรัมหรือฝาครอบเบรกที่อยู่ติดกับล้อรถยนต์อีกที เพื่อชะลอความเร็วและทำให้รถหยุดวิ่งนั่นเอง
จุดเด่นของดรัมเบรก: สามารถหยุดรถได้อย่างรวดเร็วโดยที่คนขับไม่ต้องใช้แรงในการเหยียบเบรกเยอะ
2. ดิสก์เบรก (Disc Brake)
“ ลดอาการเบรกหาย ”
ระบบเบรกคู่ใจของคนยุคใหม่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ช่วงหลังมานี้ โดยหลักการทำงานของเบรกระบบนี้จะอาศัยแรงหนีบของผ้าเบรกที่ทำกับตัวจานเบรกของล้อรถ เพื่อทำให้เกิดแรงเฉื่อยจนรถยนต์ชะลอความเร็วลงอย่างช้า ๆ และหยุดในที่สุด
โดยระบบดิสก์เบรกจะประกอบไปด้วย จานเบรกที่อยู่ติดกับล้อรถยนต์ ผ้าเบรกที่อยู่ด้านในคาลิปเปอร์เบรก และคาลิปเปอร์เบรกที่ครอบตัวจานเบรกเอาไว้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเหยียบเบรก คาลิปเปอร์ก็จะหนีบตัวเพื่อทำให้ผ้าเบรกไปสัมผัสกับตัวจานเบรก เพื่อชะลอความเร็วและทำให้รถหยุดวิ่งนั่นเอง
จุดเด่นของดิสก์เบรก: สามารถช่วยลดการเฟดหรืออาการเบรกหายได้ เนื่องจากสามารถระบายความร้อนได้ดี
ความแตกต่างระหว่าง ดรัมเบรก กับ ดิสก์เบรก
ระบบเบรก | ดรัมเบรก | ดิสก์เบรก |
สามารถเบรกรถได้อย่างเร็ว | ✔ | – |
ใช้แรงในการเหยียบเบรกน้อย | ✔ | – |
ผ้าเบรกหมดช้า | ✔ | – |
ช่วยลดอาการเบรกหายได้ | – | ✔ |
สามารถระบายความร้อนได้ดี | – | ✔ |
สามารถระบายน้ำได้ดี | – | ✔ |
ดูแลและบำรุงรักษาง่าย | – | ✔ |
ตอนนี้ทุกคนก็น่าจะรู้ความแตกต่างระหว่างระบบเบรกทั้ง 2 ระบบนี้แล้ว ก็ถึงเวลาทำความรู้จักระบบ ABS ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเข้าใจหลักการทำงานที่แท้จริงของระบบนี้กัน
ระบบ ABS คืออะไร?
“ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ”
หนึ่งในระบบที่รถรุ่นใหม่ ๆ ทุกคันต้องมี คือ ระบบ ABS หรือ Anti-Lock Brake System ที่แปลตรงตัวว่า ระบบป้องกันเบรกล็อก ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่โดยเฉพาะ โดย ABS จะทำงานคู่กับระบบเบรกในรถยนต์ ซึ่งจะไม่ได้ทำงานทุกครั้งที่เราเหยียบเบรก แต่จะทำงานก็ต่อเมื่อเราเหยียบเบรกมากกว่าปกติหรือเหยียบเบรกแบบกะทันหันเท่านั้น
ทำไมระบบ ABS ถึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้
หลายคนน่าจะเคยเห็นคลิปวิดีโออุบัติเหตุที่เกิดจากการเหยียบเบรกแบบกะทันหันจนทำให้ล้อตายและรถยนต์เสียหลัก ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า ระบบ ABS ที่ทำงานโดยใช้เซนเซอร์ตรวจจับความเร็วของวงแหวนฟันเฟืองที่ติดอยู่กับตัวเพลา
ซึ่งหากเซนเซอร์ตรวจเจอการเบรกแบบกะทันหันเมื่อไร ระบบ ABS ก็จะเริ่มทำงานทันที ด้วยการคลายผ้าเบรกสลับกับการจับผ้าเบรกราว ๆ 16-50 ครั้งใน 1 วินาที เพื่อทำให้ล้อรถยนต์ไม่ล็อกและสามารถควบคุมทิศทางของรถได้นั่นเอง
1. ข้อดีของเบรก ABS
- สามารถช่วยให้รถยนต์ไม่เกิดอาการล้อตายหรือล้อล็อก เมื่อเหยียบเบรกกะทันหัน
- ช่วยให้คนขับสามารถควบคุมพวงมาลัยเพื่อบังคับทิศทางในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางหรือภัยอันตรายต่าง ๆ ได้
- สามารถยืดอายุการใช้งานของยางล้อรถและช่วยให้ดอกยางไม่สึกหรอไว
2. ข้อเสียของเบรก ABS
- หากเบรก ABS ทำงานจะทำให้รถยนต์เกิดการสะเทือน ซึ่งอาจจะรบกวนสมาธิในการขับขี่ได้
- ระบบเบรก ABS จะทำให้ระยะการเบรกเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องกะระยะห่างกับรถยนต์คันหน้าให้ดี
- ถ้าระบบ ABS ทำงานจะทำให้เกิดเสียงดังขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้คนขับตกใจได้
- หากระบบเบรกมีปัญหา จะต้องเสียค่าซ่อมมากกว่าเบรกธรรมดาทั่วไป
เสริมความมั่นใจในการขับขี่ด้วยประกันรถยนต์ชั้น 1
แม้ว่ารถยนต์ดี ๆ ที่มาพร้อมระบบ ABS จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้ก็จริง แต่อุบัติเหตุก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อความมั่นใจในการขับขี่ทุกคนจึงควรสมัครประกันรถถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองความเสียหายของตัวรถยนต์ ทั้งในกรณีไฟไหม้ น้ำท่วม และรถหาย รวมถึงค่ารักษาพยาบาลของคนขับ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
เรื่องน่ารู้ของระบบ ABS
1. เราจะรู้ได้ยังไงว่าระบบ ABS ทำงานอยู่?
เราสามารถสังเกตได้จากไฟสัญญาณ ABS ที่อยู่บนหน้าปัดรถยนต์จะสว่างขึ้น และหากเบรก ABS เริ่มทำงานเมื่อไร จะทำให้รถยนต์กระตุกเป็นจังหวะตามการปล่อยและการจับของผ้าเบรก รวมถึงคนขับจะรู้สึกได้ถึงแรงสะท้อนบริเวณแป้นเบรก และจะมีเสียงดังครืด ๆ เข้ามาในตัวรถอีกด้วย
2. เราต้องทำยังไง เมื่อระบบ ABS เริ่มทำงาน?
แน่นอนว่าอย่างแรกคือต้องรวบรวมสมาธิและตั้งสติให้ดี และจะต้องพยายามเหยียบแป้นเบรกค้างเอาไว้ โดยไม่ควรย้ำหรือผ่อนแป้นเบรกเด็ดขาด เนื่องจากจะส่งผลให้เบรก ABS ไม่ทำงาน จากนั้นให้ค่อย ๆ ควบคุมพวงมาลัยเพื่อให้รถออกห่างจากสิ่งกีดขวางต่าง ๆ แล้วจึงค่อยผ่อนแป้นเบรก
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบเบรกในรถยนต์ รวมถึงระบบ ABS คืออะไร ทำไมถึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้ ที่น่าจะช่วยให้ทุกคนเห็นภาพและเข้าใจการทำงานของ ABS กันมากขึ้น ส่วนใครที่สนใจซื้อหรือต่อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 แต่ยังต้องการสอบถามเบี้ยประกัน รวมถึงรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมด ก็สามารถให้ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิสเป็นผู้ดูแลในการเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ที่ตรงใจคุณมากที่สุด เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้
แจ้งข้อมูลเพื่อให้บริษัทติดต่อกลับ
TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ ทั้งประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรง แถมยังมีโปรโมชันผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันกับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ