ไขข้อสงสัย! มอเตอร์ไซค์ชนรถยนต์ใครผิด รถใหญ่ผิดเสมอจริงไหม?
Key Takeaways
- มอเตอร์ไซค์ชนรถยนต์ถือเป็นอุบัติเหตุที่มีคนพูดถึงมากมายว่า รถยนต์จะต้องเป็นฝ่ายผิดเสมอ แต่จริง ๆ แล้วจะต้องพิจารณาจากข้อกฎหมายเหล่านี้ กรณีเจตนาขับรถชน, กรณีฝ่าฝืนกฎหมาย, กรณีขับรถประมาท, กรณีขับรถชนท้าย และกรณีเป็นเหตุสุดวิสัย
- ส่วนเหตุผลที่รถยนต์มักจะเป็นฝ่ายผิด เวลาเกิดอุบัติเหตุชนเข้ากับมอเตอร์ไซค์ คือ กรณีรถยนต์ไม่ยอมให้ทางมอเตอร์ไซค์, กรณีรถยนต์วิ่งด้วยความเร็วเกินกำหนด และกรณีรถยนต์จะเลี้ยวแต่ไม่ยอมให้สัญญาณไฟเลี้ยว
หลายคนน่าจะเคยได้ยินกับประโยคที่ว่า ‘มอเตอร์ไซค์ชนรถยนต์ ยังไง ๆ รถยนต์ก็ผิด’ ทำให้คนขับมือใหม่บางคนเชื่ออย่างสนิทใจว่า ทุกอุบัติเหตุไม่ว่ามอเตอร์ไซค์ชนรถยนต์หรือรถยนต์ชนมอเตอร์ไซค์ ยังไงรถยนต์ก็ผิดเต็ม ๆ แต่ในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นแบบนั้น วันนี้ TPIS เลยรวบรวมข้อกฎหมายสำคัญ ๆ ที่เป็นตัวกำหนดว่าใครกันแน่ที่ผิดและใครกันแน่ที่ถูก มาแชร์ให้ทุกคนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
อยากรู้ว่าอุบัติเหตุนี้ใครผิดใครถูก ต้องใช้ข้อกฎหมายนี้
1. กรณีเจตนาขับรถชน
ไม่ว่าจะเคยมีเรื่องกันมาก่อนหน้านี้ หรือ เพิ่งจะมามีเรื่องกันบนท้องถนน จนเกิดอารมณ์โมโหฉุนเฉียว จนตัดสินใจขับรถชนคู่กรณีเพื่อแก้แค้น การจงใจทำให้เกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้ ไม่ว่าคุณจะขับรถเล็กหรือรถใหญ่ ก็ล้วนถือเป็นความผิดอย่างแน่นอน
2. กรณีฝ่าฝืนกฎหมาย
แน่นอนว่าในแต่ละวันที่เราขับรถไปบนท้องถนน เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าวันนี้จะไปเจอกับเหตุการณ์อะไรบ้าง ซึ่งถ้าเราขับรถของเราอยู่ดี ๆ แต่ดันมีมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ทำผิดกฎจราจร อย่างการขับรถสวนเลนหรือฝ่าไฟแดง และมาชนเข้ากับรถของเรา กรณีนี้ไม่ว่ายังไงรถยนต์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็มีความผิดไปแบบเต็ม ๆ
3. กรณีขับรถประมาท
ไม่ว่าคุณจะขี่มอเตอร์ไซค์หรือขับรถยนต์ การขับขี่ด้วยความไม่ประมาทเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดแล้ว เพราะถ้าเกิดวันใดวันหนึ่งดันขี่มอเตอร์ไซค์ไปปาร์ตี้และดื่มแอลกอฮอล์มา พอขากลับก็ดันฝืนขี่มอเตอร์ไซค์กลับด้วยตัวเอง สุดท้ายก็ไปเกิดอุบัติเหตุชนเข้ากับรถยนต์ที่เขาขับมาดี ๆ กรณีนี้ยังไง ๆ มอเตอร์ไซค์ก็ผิดแบบเต็ม ๆ อย่างแน่นอน
4. กรณีขับรถชนท้าย
ถือเป็นข้อกฎหมายที่หลายคนน่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว ในเรื่องการเว้นระยะระหว่างคันเรากับคันข้างหน้า โดยคนขับจะต้องคอยเว้นระยะให้ห่างพอสมควร เพื่อให้หยุดรถได้อย่างปลอดภัย ซึ่งในสมัยก่อนไม่ว่าจะตั้งใจชนท้ายหรือไม่ก็ตาม ส่วนมากมักจะถูกตัดสินให้เป็นคนผิดอยู่เสมอ แต่ด้วยเทคโนโลยีกล้องหน้ารถในสมัยนี้ ทำให้ปัจจุบันมีการเอาหลักฐานที่ได้จากกล้องเหล่านั้นมาพิจารณาความผิดร่วมด้วย
5. กรณีเป็นเหตุสุดวิสัย
อย่างที่บอกไปตอนตนว่า การที่รถยนต์ชนมอเตอร์ไซค์หรือมอเตอร์ไซค์ชนรถยนต์ ไม่ได้หมายความว่ารถยนต์จะผิดเสมอไป เพราะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย อย่างกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ตั้งใจชน อย่างการที่รถยนต์ขับมาตามปกติ แต่ดันมีมอเตอร์ไซค์จากไหนก็ไม่รู้มาตัดหน้า ทำให้เบรกรถไม่ทันและชนเข้ากับมอเตอร์ไซค์ ก็ถือว่าไม่ใช่ความผิดของรถยนต์ แต่ก็ต้องเช็กอัตราความเร็วที่รถยนต์วิ่งมาประกอบกันไปด้วย
ขับขี่รถยนต์อย่างมั่นใจด้วยประกันภัยรถยนต์
แม้ว่าเราจะขับรถดีหรือขับรถถูกต้องตามกฎจราจรมากแค่ไหนก็ตาม เราก็ไม่สามารถไปกำหนดรถคันอื่น ๆ บนท้องถนนให้ขับดีแบบเราได้ ดังนั้นการทำประกันภัยรถยนต์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะอย่างน้อยก็เป็นตัวช่วยที่สามารถผ่อนหนักให้กลายเป็นเบาได้ ซึ่งประกันรถยนต์ในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายแบบหลายความคุ้มครอง เพื่อให้รองรับและเหมาะกับความต้องการของทุกคนได้
หลังจากที่ทุกคนได้รู้ข้อกฎหมายสำคัญ ๆ ที่ช่วยชี้ชะตาว่าใครผิดใครถูกกันไปแล้ว ก็ตามมาดูเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้รถยนต์มักเป็นฝ่ายผิด เวลาที่เกิดอุบัติเหตุชนเข้ากับมอเตอร์ไซค์
เหตุผลที่รถยนต์เป็นฝ่ายผิด เวลาชนกับมอเตอร์ไซค์
- รถยนต์ไม่ยอมให้ทางมอเตอร์ไซค์ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่ารถใหญ่ต้องให้ทางรถที่เล็กกว่า หากรถยนต์เกิดไปชนกับมอเตอร์ไซค์เพราะไม่ให้ทาง รถยนต์จะถูกพิจารณาให้เป็นฝ่ายผิดได้
- รถยนต์วิ่งด้วยความเร็วเกินกำหนด แน่นอนว่าในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการกำหนดความเร็วในการวิ่งเอาไว้ ซึ่งหากคนขับรถยนต์ขับมาด้วยความเร็วที่เกินกำหนด แล้วไปชนเข้ากับมอเตอร์ไซค์ก็จะถือเป็นฝ่ายผิด
- รถยนต์จะเลี้ยวแต่ไม่ให้สัญญาณ ข้อนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญทั้งกับมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ด้วยกันเอง เนื่องจากมอเตอร์ไซค์สามารถเปลี่ยนเลนได้ค่อนข้างอิสระ จึงจำเป็นต้องอาศัยสัญญาณไฟเลี้ยวเป็นตัวสื่อสาร เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างเปลี่ยนเลน
สรุปแล้ว มอเตอร์ไซค์ชนรถยนต์ ใครผิดถูกต้องดูที่อะไร?
1. การฝ่าฝืนกฎหมายจราจร
กฎหมายจราจรมีไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน ดังนั้นไม่ว่าอุบัติเหตุนั้นจะเกิดขึ้นจากการที่มอเตอร์ไซค์ไปชนรถยนต์หรือรถยนต์ไปชนมอเตอร์ไซต์ ก็ต้องพิจารณาดูจากหลักฐานว่ามีใครฝ่าฝืนกฎหมายจราจรหรือไม่ เพื่อเอามาเป็นปัจจัยในการหาคนผิดนั่นเอง
2. พฤติกรรมของคนขับ
อีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาหาคนผิดที่ขาดไม่ได้ คือ การดูที่พฤติกรรมของคนขับร่วมด้วย ทั้งของเราและของคู่กรณี ว่ามีลักษณะการขับขี่ที่ประมาทจนทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ หรือหากประมาททั้ง 2 ฝ่าย ก็ต้องไกล่เกลี่ยและเจรจาเพื่อหาทางออกกันต่อไป
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลสำคัญ ๆ ที่น่าจะพอช่วยไขข้อสงสัยว่าถ้าหากมอเตอร์ไซค์ชนเข้ากับรถยนต์ใครเป็นคนผิดกันแน่ ส่วนใครที่สนใจสมัครหรือต่อประกันภัยรถยนต์ แต่ยังต้องการสอบถามเบี้ยประกัน รวมถึงรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมดเพิ่มเติม ก็สามารถให้ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิสเป็นผู้ดูแลในการเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ที่ตรงใจคุณมากที่สุด
TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ ทั้งประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรง แถมยังมีโปรโมชันผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันกับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ