เทคนิครับมือเมื่อรถยางแตก ต้องทำยังไงให้ปลอดภัยที่สุด

Key Takeaways

  • หากรถยางแตก เพื่อความปลอดภัยต้องทำตามนี้ ตั้งสติให้ดี, จับพวงมาลัยเอาไว้ให้มั่น, เปิดไฟฉุกเฉิน, ถอนคันเร่งเบา ๆ , ห้ามดึงเบรกมือ, ห้ามเหยียบเบรกแบบกะทันหัน, ให้แตะเบรกเบา ๆ , ค่อย ๆ ประคองรถเข้าข้างทาง และลงมือเปลี่ยนยางอะไหล่
  • สาเหตุของยางแตก ประกอบไปด้วย ยางรถยนต์บวมหรือเสื่อมสภาพ, บรรทุกน้ำหนักเยอะเกินไป, ขนาดยางที่ใช้ไม่เหมาะสม, ปริมาณลมยางไม่พอดี, ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง และยางที่ใช้ไม่มีคุณภาพ

อุบัติเหตุรถยางแตกถือเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากเจ้าของรถไม่ยอมดูแลและรักษาสภาพรถยนต์ให้เหมาะกับการใช้งาน และถ้าวันดีคืนดีรถเกิดยางแตกตอนที่เรากำลังขับรถอยู่บนถนนแบบที่ไม่ทันตั้งตัว ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ วันนี้ TPIS เลยอยากจะมาแชร์เทคนิครับมือกับเหตุการณ์ยางรถยนต์แตก เพื่อสร้างความปลอดภัย ลดความเสียหาย พร้อมลดโอกาสสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น

รถยางแตก ต้องทำแบบนี้ ถึงจะปลอดภัยที่สุด

เทคนิครับมือรถยางแตก
ภาพ: เทคนิครับมือรถยางแตก

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า รถยางแตก?

ถ้าใครไม่เคยนั่งอยู่บนรถที่ยางแตก ก็อาจจะจินตนาการไม่ออกว่าถ้ารถยางแตกขึ้นมาจริง ๆ ความรู้สึกจะเป็นยังไง เพื่อช่วยให้ทุกคนรู้ทันและตั้งตัวเร็ว เวลายางแตกรถยนต์จะมีลักษณะตามนี้

  • เกิดเสียงระเบิดดังขึ้น ซึ่งในบางกรณีเสียงอาจจะดังจนคนในรถรับรู้ได้ แต่ในบางกรณีอาจไม่มีใครได้ยินเสียงยางระเบิดเลยก็ได้เช่นกัน
  • อยู่ดี ๆ ความเร็วรถก็น้อยลง ทั้ง ๆ ที่เหยียบคันเร่งเท่าเดิม
  • รถมีการส่ายไปมา ซึ่งจะส่ายมากหรือส่ายน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเร็วที่รถวิ่งมา
  • ได้ยินเสียงลมพุ่งออกมาจากตัวยาง รวมถึงเสียงยางแบน ๆ ที่กำลังบดไปกับผิวถนน

ยางรถยนต์แตก ต้องทำยังไงบ้าง?

  1. ตั้งสติให้ดี เพราะสติคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในทุก ๆ เหตุการณ์
  2. จับพวงมาลัยเอาไว้ ห้ามปล่อยมือจากพวงมาลัย เพื่อประคองรถให้อยู่ในเลน
  3. เปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อบอกเพื่อนร่วมทางให้ระวัง เพราะรถของเรากำลังมีปัญหา
  4. ถอนคันเร่งเบา ๆ เพื่อให้ความเร็วของตัวรถค่อย ๆ ต่ำลง
  5. ห้ามดึงเบรกมือ เพราะมันอาจจะทำให้รถหมุนได้
  6. ห้ามเหยียบเบรก แบบกะทันหันเพราะจะทำให้รถเสียการทรงตัว
  7. แตะเบรกเบา ๆ ซ้ำ ๆ เมื่อรถเริ่มวิ่งช้าลงแล้ว
  8. ประคองรถเข้าข้างทาง เพื่อจอดในจุดที่มีความปลอดภัย
  9. เปลี่ยนยางอะไหล่ ด้วยตัวเองหรืออาจจะเรียกช่างให้เข้ามาช่วยเปลี่ยน

คุ้มครองทุกเหตุการณ์ ครอบคลุมทุกอุบัติเหตุ ด้วยประกันรถยนต์ชั้น 1

หลายต่อหลายครั้งที่บางคนคิดว่าตัวเองดูแลสภาพรถดีแล้ว ขับรถก็ไม่ประมาท เลยไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องอุบัติเหตุใด ๆ แต่อยู่ดี ๆ ก็ดันเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นมาซะงั้น นอกจากจะตกใจและเจ็บตัวแล้ว ยังต้องมาเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล จะดีกว่าไหมถ้ามีประกันรถยนต์ชั้น 1 ดี ๆ เอาไว้คุ้มครองทั้งตัวเรา รถเรา และคู่กรณี แถมยังช่วยให้เราสบายใจในวันที่เกิดเรื่องร้าย ๆ

ตอนนี้ทุกคนได้รู้เทคนิคการรับมือและเอาตัวรอดจากสถานการณ์คับขันอย่างรถยางแตกกันไปแล้ว ก็ตามมาดูกันดีกว่าว่าสาเหตุของยางแตกนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง เพื่อให้ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุยางรถยนต์แตกที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สาเหตุของรถยางแตก มีอะไรบ้าง?

1. ยางรถยนต์บวมหรือเสื่อมสภาพ

ยางรถยนต์เสื่อมสภาพ
ภาพ: ยางรถยนต์เสื่อมสภาพ

ยางรถยนต์ที่ใช้วิ่งไปบนถนนทุกวัน ๆ แถมบางวันยังต้องเจอผิวถนนที่ไม่เรียบ ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ จึงอาจทำให้ยางเกิดเสื่อมสภาพได้ ซึ่งดูได้จากลมยางที่อ่อนง่ายกว่าเดิม จนต้องเติมลมยางบ่อย ๆ บริเวณผิวยางมีรอยแตกลายงา ดอกยางเริ่มสึก และมักมีเสียงยางดังแม้จะเบรกเบา ๆ หรือเข้าโค้งช้า ๆ ยางรถยนต์ใครเริ่มส่งสัญญาณแบบนี้ ให้รีบเปลี่ยนยางโดยด่วน

2. บรรทุกน้ำหนักเยอะเกินไป

บรรทุกน้ำหนักเยอะ
ภาพ: บรรทุกน้ำหนักเยอะ

ส่วนมากอันนี้จะเป็นปัญหาของรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่มักจะขนของหรือสินค้าจำนวนมากในครั้งเดียว ทำให้ยางล้อรถจะต้องแบกรับน้ำหนักที่เยอะเกินไป และยิ่งคนขับรถบรรทุกคันไหนไม่ค่อยตรวจเช็กหรือดูแลสภาพรถให้ดี ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่รถจะยางแตกได้

3. ขนาดยางที่ใช้ไม่เหมาะสม

ขนาดยาง
ภาพ: ขนาดยาง

ถ้าใครขับรถมานานหรือเป็นคนชอบเรื่องรถอยู่แล้ว ก็คงรู้กันดีว่ายางรถนั้นมีให้เลือกหลายขนาดด้วยกัน ซึ่งแต่ละขนาดก็จะเหมาะกับชนิดของรถและลักษณะการใช้รถที่แตกต่างกันออกไป อย่างรถเก๋งทั่วไปก็จะเหมาะกับขอบยางขนาด 15 นิ้ว ในขณะที่รถกระบะจะเหมาะกับขอบยางขนาด 17-18 นิ้ว

4. ปริมาณลมยางไม่พอดี

การเติมลมยาง
ภาพ: การเติมลมยาง

ลมยางเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการใช้รถใช้ถนน เพราะเป็นรากฐานที่เอาไว้รับน้ำหนักตัวรถโดยเฉพาะ ซึ่งหากเจ้าของรถคันไหนละเลย ไม่หมั่นเช็กและเติมลมยางให้พอดี ปล่อยให้ลมยางอ่อนจนเกินไป นอกจากจะทำให้เปลืองน้ำมันแล้ว ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ยางรถยนต์จะแตกได้อีกด้วย

5. ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง

ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง
ภาพ: ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง

สายซิ่งต้องคอยระวังให้ดี ๆ เพราะการขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงอันดับต้น ๆ ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้มากมาย ทั้งชนคนข้ามทางม้าลาย หลุดโค้ง หรือแม้แต่ยางรถยนต์แตก เพราะยิ่งขับรถด้วยความเร็วมากแค่ไหน ความร้อนบริเวณผิวยางก็จะยิ่งเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้นเท่านั้น จนอาจจะทำให้ยางเกิดระเบิดขึ้นได้

6. ยางที่ใช้ไม่มีคุณภาพ

ยางไม่มีคุณภาพ
ภาพ: ยางไม่มีคุณภาพ

บางอย่างเราอาจจะเห็นแก่ของถูกได้แต่ไม่ใช่กับยางรถยนต์ เพราะเรื่องความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก ดังนั้นเวลาจะเลือกซื้อยางหรือเปลี่ยนยางรถยนต์ จะต้องเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจในการขับขี่ และช่วยลดโอกาสยางแตกได้จริงนั่นเอง

ไม่อยากเจอเหตุการณ์ยางแตก ต้องทำตามนี้

การดูแลยางรถยนต์
ภาพ: การดูแลยางรถยนต์
  • หมั่นเช็กสภาพยางอยู่เสมอ โดยดูว่ามีตรงไหนที่รั่ว ชำรุด บวม หรือแตกหรือไม่ และถ้าเจอยางเส้นไหนที่เริ่มเสื่อมสภาพ ก็ควรรีบเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย
  • เช็กลมยางเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนเดินทางไกล ๆ เพื่อดูว่าล้อรถของเราอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่
  • เช็กสภาพรถเป็นประจำทุกปี นอกจากจะช่วยลดเหตุการณ์รถยางแตกได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในด้านอื่น ๆ อีกด้วย
  • เลือกใช้ยางรถที่เหมาะสม ทั้งด้านการใช้งาน ชนิดของรถ และการบรรทุกน้ำหนัก

ทั้งหมดนี้ คือ เทคนิคในการรับมือกับเหตุการณ์รถยางแตก ที่ทั้งปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งถือเป็นข้อมูลดี ๆ ที่น่าจะช่วยให้ทุกคนสามารถควบคุมอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันอย่างยางรถยนต์แตกได้ ส่วนใครที่กำลังสนใจสมัครหรือต่อประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่ยังต้องการสอบถามเบี้ยประกัน รวมถึงรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมด ก็สามารถให้ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิสเป็นผู้ดูแลในการเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ที่ตรงใจคุณมากที่สุด เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้

แจ้งข้อมูลเพื่อให้บริษัทติดต่อกลับ

TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์

เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ ทั้งประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรง แถมยังมีโปรโมชันผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันกับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ