ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
พ.ร.บ. ราคา 600 บาท
สำหรับรถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
พ.ร.บ. ราคา 600 บาท
สำหรับรถยนต์โดยสาร
ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ดีอย่างไร
- ค่ารักษาพยาบาล
- คุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะ
- ค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต
- ค่าชดเชยรายวันในฐานะผู้ป่วยใน
การทำ พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ จะให้ความคุ้มครองทุกคนที่ประสบเหตุ และรถทุกคันจำเป็นที่ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับทั้งสิ้น
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องจัดทําประกันภัย เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน หากได้รับความเสียหายแก่ร่างกาย อนามัย รวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น ในกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
ในปัจจุบัน การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคุณสามารถต่อ พรบ. หรือต่ออายุประกันภาคสมัครใจในบางบริษัทประกันฯ ได้พร้อมๆ กัน
พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครอง ค่าเสียหายเบื้องต้น จะชดเชยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อร่างกายหรือชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต ภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น เคลม พ.ร.บ. ได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด
ผู้ประสบภัยได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ
เงินค่ารักษาที่จ่ายตามจริง 30,000 บาท ต่อคน
ผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ, ทุพพลภาพอย่างถาวร ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น
เงินชดเชย 35,000 บาท ต่อคน
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต จะได้รับค่าปลงศพตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น
เงินชดเชย 35,000 บาท ต่อคน
หมายเหตุ* หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้ว ไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
จำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้ว
ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฏหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
ค่าสินไหมทดแทน หลังพิสูจน์แล้วเป็นฝ่ายถูก
ความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ
เงินค่ารักษาที่จ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน
สูญเสียอวัยวะ, ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
เงินชดเชย 200,000 – 500,000 บาท ต่อคน
กรณีการเสียชีวิต
เงินชดเชย 500,000 บาท ต่อคน
กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน
ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ราคา ปี 2567
จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. รถยนต์โดยสาร
- รถยนต์โดยสาร ไม่เกิน 7 ที่นั่ง หรือที่เราคุ้นเคยกันว่าเป็นรถเก๋ง ราคา 600 บาท
- รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่ถึง 15 ที่นั่ง หรือรถตู้ ราคา 1,100 บาท
- รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาท
- รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาท
- รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง และเกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,740 บาท
2. รถกระบะ และรถบรรทุก
- รถบรรทุก หรือรถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ราคา 900 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ราคา 1,220 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,310 บาท
- รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,680 บาท
- รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน ราคา 2,320 บาท
3. รถยนต์ประเภทอื่น ๆ
- หัวรถลากจูง เช่น รถลากพ่วง รถกึ่งพ่วง ราคา 2,370 บาท
- รถพ่วง ราคา 600 บาท
- รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร ราคา 90 บาท
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ คือ กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมีประกันภัยชนิดนี้ แต่ถ้าเป็นประกันภัยภาคสมัครใจ คือ เจ้าของรถยนต์ควรมีเพิ่มเติมนอกเหนือจากการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ โดยเจ้าของรถสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความพึงพอใจ
ไม่ได้ เนื่องจากเป็นกฏหมายที่ทางภาครัฐระบุเอาไว้ชัดเจนว่า พ.ร.บ. นี้มีไว้เพื่อคุ้มครองสำหรับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน หากได้รับความเสียหายแก่ร่างกาย อนามัย เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์
ลูกค้าสามารถเลือกวันคุ้มครองได้ ซึ่งมักจะกำหนดให้คุ้มครองต่อเนื่องจากกรมธรรม์ฉบับเดิม หรือจะกำหนดวันที่จะให้เริ่มต้นความคุ้มครองเป็นวันที่ซื้อพ.ร.บ. ก็ได้ หากพ.ร.บ. ฉบับเดิมหมดอายุแล้ว
สำหรับการเคลมหรือเบิก พ.ร.บ. นั้นจะเป็นการยื่นเรื่องเคลมเพื่อรับเงิน หลังจากที่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
- เอกสารที่ต้องใช้ในการเคลม พ.ร.บ.
- สำหรับเกิดเหตุทุกกรณี
- สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
- สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
- ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.
- ใบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
- เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีบาดเจ็บ
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
- เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีรักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน
- ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน
- ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน
- เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีทุพพลภาพ
- ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
- เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีเสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
- สำหรับเกิดเหตุทุกกรณี
- ระยะเวลาการทำเรื่องเบิก พ.ร.บ.
- ต้องทำเรื่องเบิกภายใน 6 เดือน หรือ 180 วัน นับจากวันเกิดเหตุ
- ต้องทำเรื่องเบิกภายใน 6 เดือน หรือ 180 วัน นับจากวันเกิดเหตุ
- บุคคลใดสามารถทำเรื่องเบิก พ.ร.บ.
- ผู้ประสบภัย, ผู้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย
- ผู้ประสบภัย, ผู้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย
- ช่องทางติดต่อการเคลม พ.ร.บ.
- ยื่นเรื่องผ่านโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
- โทร. 1791 เพื่อยื่นเรื่องผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์
เมื่อ พ.ร.บ. จะหมดอายุ จะต้องรีบไปซื้อพ.ร.บ. จุดบริการขาย หรือซื้อพ.ร.บ. ที่ TPIS ก็ได้ ถ้าปล่อยให้พ.ร.บ. หมดอายุและใช้งานรถยนต์แบบไม่มีประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ จะมีความผิดตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- เล่มจดทะเบียนรถยนต์ตัวจริง หรือสำเนาทะเบียนรถ
- พ.ร.บ. รถยนต์ฉบับเดิม
- เอกสารตรวจสภาพรถยนต์
ดี เพราะจะได้ไม่ลืมต่อประกันภัยทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับ และที่สำคัญเพื่อความสะดวกสบายไม่ต้องติดต่อ 2 บริษัท เมื่อต้องการเคลมประกัน
มีเจ้าหน้าที่อธิบายข้อดีและประโยชน์ของการซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) อีกทั้งพร้อมให้คำแนะนำด้านประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจฟรี
ได้ที่ช่องทางออนไลน์ โทรศัพท์หรือกรอกข้อมูลให้ติดต่อกลับ พร้อมแจ้งความประสงค์ ซื้อพ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยเมื่อเจ้าหน้าที่โทรหาคุณ
ลูกค้าสามารถเลือกช่องทางการชำระค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ตามความสะดวกที่ง่ายสำหรับคุณ เช่น ATM, Internet Banking หรือเคาน์เตอร์ชำระเงินของผู้ให้บริการต่างๆ