7 วิธีแก้ปวดหลังขับรถเดินทางไกล ขับนานแค่ไหนก็สบาย

7 วิธีแก้ปวดหลังขับรถเดินทางไกล ขับนานแค่ไหนก็สบาย

การนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมง มักจะมีอาการปวด บริเวณคอ บ่า หลัง ขา ควรปรับเปลี่ยนท่านั่ง หาวิธีคลายกล้ามเนื้อให้คลายเมื่อยหายปวด ใครมีปัญหาเวลานั่งรถนานๆ วันนี้เรามีวิธีแก้ปวดหลังมาแนะนำกัน

1.วิธีแก้ปวดหลังด้วยการปรับท่าขับรถ

ใครขับรถนาน ๆ แล้วมีอาการปวดเมื่อยทั้งตัว บางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากนั่งนานเสมอไป แต่เกิดจากท่านั่งขับรถที่ไม่ถูกหลัก หรือสัดส่วนเบาะนั่งไม่เหมาะกับสรีระ ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้า ปวดหลัง และปวดขาขึ้นมาได้ วิธีแก้ไขง่าย ๆ เริ่มจากนั่งให้เต็มเบาะก่อน การปรับท่านั่งขับรถจะทำให้ผู้ขับควบคุมรถได้ง่ายขึ้นในทุกสถานการณ์ ช่วยลดอาการเมื่อยล้าตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลดความเครียดในขณะขับขี่ไปด้วย

2.วิธีแก้ปวดหลังด้วยการยืดเส้นยืดสาย

วิธีแก้ปวดหลังด้วยการยืดเส้นยืดสาย

เมื่อต้องขับรถทางไกล หรือเจอรถติดเสียเวลาขับนานจนมีอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว แนะนำให้จอดรถพักระหว่างทาง ลงมาเดินยืดเส้นยืดสายคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงหลังจากการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ หรือนั่งผิดท่า ถ้าจะให้ดีในระหว่างที่รถติดนานๆ เราสามารถยืดเหยียดกล้ามเนื้อบนเบาะนั่งในรถยนต์ระหว่างรถติดได้เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความผ่อนคลาย เราสามารถลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและลดอาการปวดหลังได้ด้วยท่ายืดดังต่อไปนี้

ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ นั่งตัวตรง มือประสานไว้ที่ท้ายทอย ก้มศีรษะลง ออกแรงดันศีรษะเบาๆ จนรู้สึกตึง นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่า เอียงศีรษะไปด้านซ้ายใช้มือข้างซ้ายกดศีรษะลงเบาๆ จนรู้สึกตึงบ่าด้านขวา (แต่ไม่เจ็บ) นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง แล้วสลับข้าง

ท่าที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบัก เหยียดแขนซ้ายไขว้ไปฝั่งขวา ใช้แขนขวาล็อคแขนซ้ายเข้าหาตัวแล้วล็อก จากนั้นออกแรงดึงข้อศอกให้มากที่สุด (แต่ไม่ให้เจ็บ) นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง

ท่าที่ 4 ท่ายืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว นั่งตัวตรง เหยียดแขนข้างขวาขึ้นเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ เอียงลำตัวและแขนไปด้านซ้าย จนรู้สึกตึง นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง

3.วิธีแก้ปวดหลังด้วยท่าออกกำลังกายที่ถูกต้อง

วิธีแก้ปวดหลังด้วยท่าออกกำลังกายที่ถูกต้อง

หากเปลี่ยนอิริยาบถแล้วยังรู้สึกปวดหลังอยู่ ให้ลองออกกำลังกายคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการ ปวดหลัง และขา แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อกระชับและเพิ่มความแข็งแรงให้กับแนวกระดูกสันหลัง

ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อหลัง นอนหงายชันเข่าทั้ง 2 ข้าง แล้วงอเข่าขึ้นทีละข้าง โดยใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณเข่าค่อยๆ ดึงเข้าหาทรวงอกช้าๆ นับ 1-5 ทำสลับซ้าย-ขวา เมื่ออาการปวดดีขึ้น ให้งอเข่าทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน

ท่าที่ 2 ท่าบริหารเท้า นั่งเก้าอี้แล้วเหยียดขาข้างหนึ่งไปด้านหน้า ใช้ปลายเท้าวาดเป็นตัวเลข 0-9 ทำสลับข้าง 5-10 ครั้ง ช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าขณะขับรถได้ดี

ท่าที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่ นั่งหลังตรง ยักไหล่สองข้างขึ้นพร้อมกัน ค้างไว้ นับ 1-2 แล้วกดไหล่สองข้างลง ทำซ้ำ 8 -10 ครั้ง ใครที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมใช้ท่ายืดกล้ามเนื้อนี้ผสมผสานในการรักษาได้ด้วย

4.วิธีแก้ปวดหลังด้วยการปรับเบาะกับพวงมาลัย

การปรับเบาะพนักพิงให้พอดีกับแผ่นหลังช่วยแก้อาการปวดหลัง โดยปรับพนักพิงให้เอนประมาณ 110 องศา ห่างจากพวงมาลัยในระดับที่เหมาะสม และสามารถจับพวงมาลัยได้ถนัด ช่วยให้ควบคุมรถได้ง่ายและมองเห็นทัศนวิสัยได้ชัดเจน แขนไม่เกร็งและตึงมากเกินไป รวมทั้งใช้หมอนรองคอช่วยลดอาการปวดเมื่อยต้นคอได้ พร้อมกับเช็คระยะว่าเท้าเหยียบคันเร่งสะดวกไหม เท้าเหยียบเบรกจมหรือไม่ โดยระยะนั่งควรจะต้องเหยียบคันเร่งและเบรกได้ถนัดที่สุด

5.วิธีแก้ปวดหลังด้วยเบาะเสริมพิเศษ

ขับรถแล้วปวดหลังปวดคอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน การหาอุปกรณ์เสริมอย่างเบาะเสริมพิเศษทำหน้าที่รองหลังให้ชิดเบาะมากขึ้น นั่งสบายคลายความปวดเมื่อย ช่วยให้กล้ามเนื้อหลังและคอไม่ต้องทำงานหนักมาก รวมทั้งใช้หมอนรองคอเสริมเพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยต้นคอและลดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุได้ด้วย

6.วิธีแก้ปวดหลังด้วยการปรับความสูงต่ำของที่นั่ง

วิธีแก้ปวดหลังด้วยการปรับความสูงต่ำของที่นั่ง

การปรับความสูงต่ำของที่นั่งก็สำคัญ เพราะมีผลต่อต่อกระดูกสันหลังโดยตรง หากเบาะนั่งต่ำเกินไป ทำให้นั่งหลังงอและก้มหน้ามากไป จะเกิดอาการเกร็งช่วงคอ บ่า และไหล่ พร้อมกับค่อย ๆ สะสมความเมื่อยล้าจนเกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อมากขึ้น หากขับรถบ่อยขับนานจะยิ่งปวดเมื่อยมากขึ้นด้วย คุณจำเป็นต้องปรับท่าทางของร่างกายให้ถูกต้องสอดคล้องกับธรรมชาติเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง ทั้งยังช่วยให้มองเห็นทัศนวิสัยได้ชัดเจน และควบคุมรถได้ง่ายด้วย

7.วิธีแก้ปวดหลังด้วยการปรับเบาะรองศีรษะ

การปรับเบาะรองศีรษะในระยะพอดีควรให้ตำแหน่งใบหูของเราอยู่กึ่งกลางของหมอนรองศีรษะ ตำแหน่งเบาะรองศีรษะที่เหมาะสมจะช่วยรองรับแรงกระแทกศีรษะในกรณีที่รถถูกชนจากด้านหลัง อีกทั้งยังช่วยลดความเมื่อยล้าบริเวณต้นคอเมื่อต้องขับขี่เป็นเวลานาน ๆ

แนะนำว่าควรหยุดพักการขับรถทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อลุกเดินไปมา หรือเปลี่ยนท่ายืดเส้นยืดสาย การเปลี่ยนอิริยาบถให้กล้ามเนื้อได้พัก ทั้งยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับอาการปวดเมื่อยจากการขับรถนาน ๆ ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ