เช็ก! อาการรถวูบ เร่งไม่ขึ้น ดับกลางอากาศ เกิดจากอะไร
รถยนต์ต้องได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพราะอุปกรณ์ชิ้นส่วนของรถยนต์นั้นมีการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน เกิดเป็นเรื่องอันตรายได้หากขับรถแล้วเกิดอาการรถวูบ เร่งไม่ขึ้น หรือเหตุอันตรายร้ายแรงอย่างรถดับกลางอากาศ แล้วอาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
สาเหตุของอาการรถวูบ เร่งไม่ขึ้น ดับกลางอากาศ
1. ระบบไฟชาร์จมีปัญหา
รถยนต์มีระบบชาร์จไฟที่เรียกว่าไดชาร์จ โดยมีหน้าที่จ่ายไฟไปยังระบบไฟฟ้าส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ หากไดชาร์จมีปัญหาจะทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานต่อไปได้ ส่งผลให้เกิดอาการรถดับกลางอากาศ โดยอาการของระบบไฟชาร์จมีปัญหา สังเกตได้ดังนี้
2.SCV วาล์วเสีย
SCV วาล์ว (Suction control valve) คือ วาล์วตัวจ่ายน้ำมันเข้าตูดปั๊มสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล หาก SCV วาล์วมีปัญหาจะทำให้รถเร่งไม่ขึ้น วูบดับกลางอากาศ โดยสาเหตุมาจากการละเลยการเปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง หรือใช้กรองน้ำมันเครื่องที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ความสกปรกจากน้ำมันเข้าสู่วาล์วจนเสียหาย
3.ปั๊มและกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงทำหน้าที่ในการป้อนเชื้อเพลิงเข้าระบบ หากปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน หรือเสียหายจะส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ มักมีอาการ ดังนี้
ส่วนกรองน้ำมันเครื่องนั้นหากเกิดการอุดตัน จะทำให้รถเร่งไม่ขึ้น จนอาจทำให้รถดับกลางอากาศได้ จึงควรเปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องทุก 10,000 กิโลเมตร
4.หัวเทียนและคอยล์จุดระเบิด
หัวเทียนที่มีการใช้งานมานานจะเกิดการเสื่อมสภาพ เช่น สายหัวเทียนขาด เขี้ยวหัวเทียนชำรุด ส่งผลให้คอยล์จุดระเบิดทำงานไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดอาการสตาร์ทยาก รถวูบ เครื่องยนต์เดินสะดุดได้เช่นกัน โดยมาตรฐานทั่วไปควรเปลี่ยนหัวเทียนทุก 40,000-50,000 กิโลเมตร แต่ก็มีหัวเทียนมีอายุยาวนานถึง 100,000 กิโลเมตรให้เลือกใช้งานด้วยเช่นกัน
5.อุณหภูมิเครื่องยนต์สูง
การที่รถยนต์มีอุณหภูมิที่สูง หรือที่เรียกว่าความร้อนขึ้น มาจากระบบระบายความร้อนมีปัญหา เช่น น้ำในระบบหล่อเย็นต่ำ หม้อน้ำรั่วซึม อุดตัน ปั๊มน้ำไม่ทำงาน หรือรั่วซึม พัดลมระบายอากาศไม่ทำงาน หากพบปัญหาระหว่างขับขี่จะทำให้เครื่องยนต์เสียหายจนรถดับกลางอากาศได้
วิธีการรับมือกับสถานการณ์รถดับกลางอากาศ
1.ประคองรถเข้าสู่จุดปลอดภัย
ไม่ควรตื่นตระหนก ให้ทำงานประคองพวงมาลัยเพื่อนำรถเข้าสู่ไหล่ทาง หรือบริเวณที่ปลอดภัยอย่างช้า ๆ ที่สำคัญไม่ควรเหยียบเบรกแรงและกะทันหัน เพราะรถยนต์อาจเสียหลักพลิกคว่ำ
2.เปิดไฟฉุกเฉิน
เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่คนอื่นทราบว่ารถเรามีปัญหา ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ
3.โทรขอความช่วยเหลือ
ให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ เช่น ตำรวจ หรือโทรหาบริการรถลากจูงเพื่อนำรถไปยังอู่ที่ใกล้ที่สุดเพื่อทำการแก้ไขเบื้องต้น
ข้อควรระวัง
การตรวจเช็ครถให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำ และควรหมั่นสังเกตอาการของรถยนต์ด้วย หากพบอาการผิดปกติให้นำรถไปยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถเพื่อตรวจเช็คเบื้องต้น การฝืนใช้รถที่มีปัญหาจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ