ประกันชีวิตผู้สูงอายุ
ปัจจุบันไม่เพียงแต่คนหนุ่มสาวเท่านั้นที่ทำประกันชีวิตกันมากขึ้น ผู้สูงอายุเองก็เริ่มหันมาทำประกันชีวิตกันมากขึ้นเช่นกัน เพราะนอกจากเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ลูกหลานในวันที่จากไปแล้ว ยังเหลือเงินก้อนใหญ่ไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลานอีกด้วย แต่ยังมีหลายเรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันชีวิตผู้สูงอายุ ในบทความนี้เรามีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับประกันชีวิตผู้สูงอายุมาฝาก รับรองว่าคุณจะเข้าใจเกี่ยวกับประกันชีวิตผู้สูงอายุมากขึ้นแน่นอน
ประกันผู้สูงอายุคือ
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนทั่วไปจะเข้าใจว่าประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ให้ความคุ้มครองไปถึงอายุ 80 ปี 90 ปี หรือตลอดชีพคือประกันชีวิตผู้สูงอายุ แต่ถึงอย่างนั้นบางกรมธรรม์อาจไม่ใช่ประกันชีวิตผู้สูงอายุแบบที่เข้าใจคลาดเคลื่อน ด้วยเหตุนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คนอยากทำประกันเข้าใจผิด ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้กำหนดคุณสมบัติของประกันชีวิตสูงอายุไว้ดังนี้
ประกันผู้สูงอายุซื้อตอนไหนดี
สำหรับผู้สูงอายุหรือลูกหลานที่อยากทำประกันชีวิตและสงสัยว่าควรทำตอนไหน คำตอบคือ สามารถทำประกันชีวิตได้เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป และสูงสุดที่ 70 ปี ซึ่งบางกรมธรรม์อาจให้ซื้อได้ถึง 75 ปี แต่จะไม่เกินกว่านี้ อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจเลือกประกันชีวิตควรพิจารณารายละเอียดหรือเงื่อนไขของกรมธรรม์ดังต่อไปนี้
ประเภทของประกัน
ปกติแล้วประกันชีวิตผู้สูงอายุมีให้เลือกทั้งสิ้น 2 รูปแบบ ได้แก่ ประกันชีวิตผู้สูงอายุแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันชีวิตที่มีการคืนเงินปันผลตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หากครบกำหนดผู้ทำประกันไม่เสียชีวิตจะได้รับเงินสะสมพร้อมผลตอบแทนรายปีตามเงื่อนไข ส่วนอีกประเภทคือประกันชีวิตผู้สูงอายุแบบคุ้มครองชีวิตเป็นรูปแบบประกันที่ให้ผลตอบแทนกับผู้รับผลประโยชน์เมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิตเท่านั้น
ระยะเวลาในการเริ่มความคุ้มครอง
เช่นเดียวกับประกันชีวิตทั่วไป ประกันชีวิตผู้สูงอายุมีการกำหนดระยะรอคอย หรือระยะเริ่มการคุ้มครองโรคร้าย ซึ่งถ้าผู้ทำประกันเสียชีวิตในช่วงรอคอย ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเพียงเบี้ยประกันและผลตอบแทนประมาณ 2 – 5 เปอร์เซ็นต์ ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
เบี้ยประกัน
เนื่องจากค่าเบี้ยประกันจะคำนวณจากช่วงอายุของผู้ทำประกัน ยิ่งผู้ทำประกันอายุมาก ค่าเบี้ยประกันยิ่งสูงขึ้น จึงควรคำนวณค่าเบี้ยประกันก่อนตัดสินใจและเลือกประกันชีวิตที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับชีวิตเกษียณของผู้สูงอายุ
ประกันชีวิตผู้สูงอายุ ต่างกับประกันสุขภาพอย่างไร
เชื่อว่ามีคนไม่น้อยที่เข้าใจว่าประกันชีวิตผู้สูงอายุเหมือนกับประกันสุขภาพและให้ความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุด้วย แต่ในความจริงแล้วประกันชีวิตผู้สูงอายุไม่ได้ให้ความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาลเหมือนประกันสุขภาพ ส่วนใหญ่จะให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีผู้ทำประกันเสียชีวิตเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขดังนี้
ผู้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์จะได้รับคืนค่าเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายให้กับบริษัทประกันภัยบวกด้วยเงินผลตอบแทน 2 – 5 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์
ผู้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์จะได้รับเงินเอาประกันเต็มจำนวน เงินเอาประกันภัย
ผู้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์จะได้รับเงินเอาประกันเต็มจำนวนจากบริษัทประกันภัยในทุกกรณีไม่ว่าจะเสียชีวิตด้วยสาเหตุใดก็ตาม
จะเห็นได้ว่าประกันชีวิตผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งประเภทประกันที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่ต้องการทำประกันชีวิตผู้สูงอายุแบบมุ่งเน้นที่เงินสะสมพร้อมลดความเสี่ยงไปด้วย แนะนำประกันชีวิตผู้สูงอายุแบบสะสมทรัพย์ ในกรณีอยากลดภาระให้กับคนข้างหลัง ประกันชีวิตแบบคุ้มครองชีวิตตอบโจทย์ความต้องการมากกว่า
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ