บ้านน้ำท่วมทำไงดี

บ้านน้ำท่วมทำไงดี

น้ำท่วมบ้านเป็นปัญหาใหญ่ที่ใครหลายคนกำลังเผชิญ เพราะมันก่อให้เกิดความเสียหายตามมามากมายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้าน เจ้าบ้านจึงต้องวางแผนในการจัดการไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างโดยยกระดับบ้านให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำเข้าพื้นที่ , การทำขอบกั้นน้ำเพื่อป้องกันและรับมือในช่วงน้ำหลาก หรือแม้แต่การทำประกันบ้านเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในกรณีน้ำท่วมบ้านหนัก .. บทความนี้จะพูดถึงวิธีการที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำที่สูง อาจจะใช้ได้ในบางกรณีเท่านั้น เพราะตัวแปรน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

ยกระดับพื้นบ้านให้สูงขึ้น

การยกพื้นบ้านช่วยปกป้องปัญหาบ้านน้ำท่วมได้ในอนาคต หากรู้ว่าบ้านตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วม หรือเกิดน้ำท่วมบ่อยในช่วงหน้าฝน การยกระดับพื้นบ้านถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีแก้ปัญหาชั่วคราวอย่างการทำคันกั้นน้ำ

ยกระดับพื้นบ้านให้สูงขึ้น

ทาสารเคลือบกันน้ำ-กันชื้น

เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมได้ เพราะความชื้นจากน้ำท่วมที่สะสมภายในวัสดุจะทำให้เกิดรอยร้าวได้ ผนังบ้านชื้นทำให้เกิดเชื้อราและกลิ่นอับ โดยเฉพาะบริเวณพื้นบ้านและผนังบ้าน ซึ่งสารเคลือบกันน้ำจะสร้างชั้นป้องกันบนพื้นผิวผนังและพื้น ทำให้น้ำซึมเข้าไปภายในโครงสร้างได้น้อยลง ช่วยลดความเสียหายจากการโดนน้ำท่วมได้

ควรเตรียมการทาสารเคลือบกันน้ำ-กันชื้นก่อนที่น้ำจะเข้าท่วมพื้นที่สำคัญภายในบ้าน ดังนั้นเมื่อพบว่าละแวกบ้านเริ่มมีน้ำท่วมแล้ว อันดับแรกต้องทำขอบคันกั้นน้ำก่อนเพื่อประวิงเวลาและจัดการทาสารเคลือบกันน้ำ-กันชื้น หากสถานการณ์ร้ายแรงกว่าที่คิดแล้วน้ำเข้าท่วมภายในบ้านจะได้ไม่เกิดความเสียหายหนักตามมา

ทำขอบคันกั้นน้ำ

เป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันน้ำท่วมบ้าน สามารถเลือกวัสดุในการนำมาปิดช่องทางน้ำเข้า เช่น วัสดุที่มีความแข็งแรง ใช้ได้ในระยะยาวอย่างปูนซีเมนต์หรืออิฐบล็อกซึ่งการทำขอบคันกั้นน้ำจะต้องขุดร่องรอบบ้านลึกประมาณ 30-50 ซม. เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับการก่อสร้างคันกั้นน้ำ

อย่างไรก็ตามแนะนำเตรียมความพร้อมโดยการประเมินพื้นที่อยู่อาศัยว่าเป็นที่ลุ่ม หรือพื้นที่รองรับน้ำมากน้อยแค่ไหน เพื่อเลือกวิธีทำขอบคันกันน้ำให้เหมาะกับงบประมาณ ถึงแม้การใช้กระสอบทรายใช้งบประมาณน้อยกว่าการก่ออิฐบล็อก ปูนซีเมนต์ ก็ตาม แต่การป้องกันน้ำนั้นไม่ดีเท่าการก่ออิฐขึ้นมา

ทำขอบคันกั้นน้ำ

ยกปลั๊ก (และระบบไฟฟ้า) สูง

เมื่อเกิดน้ำท่วม น้ำสามารถไหลเข้าสู่ปลั๊กไฟและระบบไฟฟ้าที่อยู่ต่ำได้ การยกปลั๊กไฟและระบบไฟฟ้าให้สูงขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและไฟฟ้าช็อต ที่จะส่งผลให้ระบบไฟฟ้าเสียหายหรือทำให้เกิดไฟไหม้ได้ นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการป้องกันความเสียหายของระบบไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหลังน้ำท่วมได้ แนะนำวิธียกปลั๊กและระบบไฟฟ้า ดังนี้

  • ย้ายปลั๊กไฟและสวิตช์ ขึ้นไปยังระดับที่สูงกว่าที่คาดว่าจะเกิดน้ำท่วมหรือสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-2 เมตร ตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า
  • แนะนำเลือกใช้สายไฟที่ทนทานต่อความชื้น และปิดผนึกส่วนที่เชื่อมต่อเพื่อป้องกันการซึมของน้ำ

ติดตั้งปั๊มระบายน้ำ

คือการติดตั้งเครื่องปั๊มที่ทำหน้าที่สูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งบริเวณที่เหมาะติดตั้งปั๊มระบายน้ำคือใต้ถุนบ้าน หรือจุดที่เกิดน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนัก สำหรับปั๊มระบายน้ำมีหลายแบบ เช่น

  • ปั๊มซับเมอร์ส เป็นปั๊มที่จุ่มลงไปในน้ำได้ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการระบายน้ำตลอดเวลา เช่น ห้องใต้ดิน
  • ปั๊มเซ็นทริฟูกัล ใช้หลักการหมุนของใบพัดเพื่อขับเคลื่อนน้ำ เหมาะสำหรับงานระบายน้ำทั่วไปในพื้นที่ไม่ลึก หรือการส่งน้ำระยะไกล

ทำประกันที่ดูแลทรัพย์สินจากเหตุน้ำท่วม

ทำประกันที่ดูแลทรัพย์สินจากเหตุน้ำท่วม

นอกจากเตรียมการป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมบ้านด้วยวิธีต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว การทำประกันภัยถือว่ามีความจำเป็น เพราะสร้างความอุ่นใจได้มากขึ้นเมื่อรู้ว่าได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ ซึ่งรูปแบบความคุ้มครองเพื่อดูแลทรัพย์สินนั้นแบ่งออกเป็น

  • ประกันบ้าน ไม่เพียงแต่ให้ความคุ้มครองเรื่องน้ำท่วมบ้านเท่านั้น แต่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมหลายด้านเพื่อปกป้องทรัพย์สินและลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น คุ้มครองในกรณีที่เกิดไฟไหม้ , คุ้มครองจากน้ำท่วม , คุ้มครองความเสียหายจากพายุ , ลูกเห็บ หรือเหตุการณ์ธรรมชาติอื่น ๆ นอกจากนั้นยังให้ความคุ้มครองสำหรับทรัพย์สินภายในบ้าน อย่างเฟอร์นิเจอร์ , อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ , ของมีค่าภายในบ้าน โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติตามแผนกรมธรรม์ที่เลือก
  • ประกันรถยนต์ ให้ความคุ้มครองตามแผนกรมธรรม์ที่เลือก อย่างประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ทุกกรณี รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมพายุ , ฝนตกหนัก หรือภัยธรรมชาติอื่น ๆ โดยจะได้รับการชดเชย หรือค่าซ่อมแซมรถจากบริษัทประกันตามเงื่อนไขในกรมธรรม์

บ้านน้ำท่วมจะหนักหรือเบาก็สร้างความเสียหายตามมา ทางที่ดีจึงควรเตรียมการป้องกันและรับมือไว้ก่อนดีที่สุด

ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ