สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับระยะเวลารอคอย (Waiting Period) ของประกันสุขภาพ

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าหลังจากทำประกันสุขภาพสามารถเข้ารักษาพยาบาลทันทีเมื่อมีอาการเจ็บป่วย แต่ในความจริงแล้วหลังทำประกันสุขภาพมีข้อกำหนดเรื่องระยะเวลารอคอย ผู้ทำประกันจึงรอให้พ้นระยะเวลารอก่อนจึงสามารถเคลมประกันตามเงื่อนไขได้ แต่ระยะเวลารอคอยคืออะไร เรามีคำตอบมาฝาก

ระยะเวลารอคอยคืออะไรและทำไมถึงสำคัญ

‘ระยะเวลารอคอย’ หรือ Waiting Period หมายถึงระยะที่บริษัทประกันยังไม่ให้ความคุ้มครองกับผู้ทำประกันสุขภาพตามเงื่อนไขตามกรมธรรม์ ต้องรอให้พ้นระยะเวลารอคอยจึงสามารถยื่นเคลมประกันกับบริษัทประกันได้ โดยส่วนใหญ่ระยะรอคอยมักกำหนดไว้ที่ 30 – 120 วัน นับจากบริษัทประกันอนุมัติกรมธรรม์ ซึ่งเหตุผลที่บริษัทประกันจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเรื่องระยะรอคอยหลังจากการทำประกันสุขภาพ หลัก ๆ ก็เพื่อคัดกรองผู้ทำประกันที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว หรือเคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ รวมถึงป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีอาการป่วยทำประกันสุขภาพในราคาถูกเพื่อหวังเงินประกันก้อนใหญ่จากการตรวจพบอาการเจ็บป่วยด้วย อย่างไรก็ตามบริษัทประกันบางแห่งอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรืออาการเจ็บป่วยทำประกันสุขภาพได้ แต่ต้องมีการให้ข้อมูลสุขภาพหรือเสียค่าเบี้ยประกันสูงกว่าปกติ

ระยะเวลารอคอยคืออะไรและทำไมถึงสำคัญ

วิธีวางแผนการใช้ประกันสุขภาพในช่วงระยะเวลารอคอย

คนที่สงสัยว่าซื้อประกันสุขภาพแล้วเกิดมีอาการเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในช่วงระยะเวลารอคอย สามารถเคลมความคุ้มครองได้หรือไม่? คำตอบคือ “ไม่สามารถเคลมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ในทุกกรณี” ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดเพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ แนะนำให้ตรวจสอบเงื่อนไขระยะเวลารอคอยดังนี้

  • 1. สอบถามระยะเวลารอคอยของประกันสุขภาพจากบริษัท
  • เนื่องจากปัจจุบันมีประกันสุขภาพหลากหลายประเภท ทั้งประกันสุขภาพทั่วไป , ประกันโรคร้ายที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะโรคร้าย หรือประกันโรคตามเงื่อนไข ซึ่งแต่ละประเภทมีการกำหนดระยะเวลารอคอยที่แตกต่างกัน อย่างประกันสุขภาพทั่วไปที่เน้นคุ้มครองส่วนค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยส่วนใหญ่กำหนดระยะเวลารอคอยที่ 30 วัน แต่ในกรณีของประกันโรคร้ายมีกำหนดระยะเวลารอคอยความคุ้มครองโรคตามเงื่อนไขที่ 60 – 120 วัน หากตรวจพบโรคตามเงื่อนไขก่อนประกันจะไม่จ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ทำประกัน ในการซื้อประกันสุขภาพควรสอบถามระยะเวลารอคอยของประกันฉบับนั้น ๆ ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ
  • 2. ตรวจสอบความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
  • นอกจากจะมีประกันสุขภาพหลากหลายประเภทแล้ว เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าให้ทำประกันสุขภาพมากขึ้น หลายบริษัทนิยมรวมประเภทเข้าไว้ด้วยกัน อย่างประกันสุขภาพควบประกันอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นรูปแบบประกันที่ให้ให้ความคุ้มครองทั้งกรณีเจ็บป่วยทั่วไปและประสบอุบัติเหตุ แต่ทั้งนี้ความคุ้มครองทั้งสองประเภทมีกำหนดระยะเวลารอคอยที่แตกต่างกัน โดยในส่วนประกันสุขภาพจะกำหนดระยะเวลารอคอยที่ 30 วัน ขณะที่ประกันอุบัติเหตุไม่มีการกำหนดระยะเวลารอคอย สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทันทีหลังประกันอนุมัติ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบระยะเวลารอคอยของแต่ละความคุ้มครองอย่างละเอียดเช่นเดียวกัน
  • 3. คำนวณระยะเวลารอคอยให้ชัดเจน
  • ถึงแม้ว่ากรมธรรม์ประกันสุขภาพมีการกำหนดระยะเวลารอคอยไว้ชัดเจนว่า 30 วัน , 60 วัน , 90 วัน หรือ 120 วัน แต่ถึงอย่างนั้นควรคำนวนวันที่เริ่มใช้ประกันสุขภาพให้ชัดเจนว่าสามารถเริ่มใช้ได้วันไหน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล เช่น บริษัทประกันสุขภาพอนุมัติความคุ้มครองให้วันที่ 1 มกราคม และมีกำหนดระยะเวลารอคอย 30 วัน แปลว่าผู้ทำประกันได้รับความคุ้มครองได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป
วิธีวางแผนการใช้ประกันสุขภาพในช่วงระยะเวลารอคอย

โรคหรืออาการที่ไม่คุ้มครองในช่วงระยะเวลารอคอย

ปกติแล้วระยะเวลารอคอยที่บริษัทประกันแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 30 วัน , 90 วัน และ 120 วัน ซึ่งในแต่ละระยะมีโรคและอาการที่ประกันไม่คุ้มครองดังต่อไปนี้

  • ระยะเวลารอคอย 30 วัน
  • สำหรับโรคหรืออาการที่มีการกำหนดระยะเวลารอคอยที่ 30 วัน เป็นกลุ่มโรคทั่วไปไม่ร้ายแรงทั้งในกรณีเข้ารักษาพยาบาลฐานะผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD)
  • ระยะเวลารอคอย 90 วัน
  • สำหรับโรคหรืออาการที่มีการกำหนดระยะเวลารอคอยที่ 90 วัน เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังและร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง , โรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดสมอง , โรคกล้ามเนื้อ , โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท หรือโรคอื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์
  • ระยะเวลารอคอย 120 วัน
  • สำหรับโรคหรืออาการที่มีการกำหนดระยะเวลารอคอยที่ 120 วัน เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังและร้ายแรงเช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นโรคร้ายที่มีระยะการแสดงอาการนาน เช่น โรคเนื้องอก , โรคถุงน้ำดี , โรคนิ่วทุกประเภท , เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ , โรคต้อกระจก , ต้อเนื้อ , โรคไส้เลื่อน , โรคริดสีดวงทวาร เป็นต้น
โรคหรืออาการที่ไม่คุ้มครองในช่วงระยะเวลารอคอย

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับระยะเวลาการรอคอยหลังทำประกันสุขภาพที่นำมาฝาก ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่าระยะเวลารอคอยเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญและศึกษาให้ละเอียดก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ รับประกันว่าไม่เสียสิทธิ์การใช้ประกันอย่างแน่นอน

ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ