ข้อดีและข้อเสียของประกันชีวิตแบบกลุ่มที่นายจ้างควรรู้

ประกันชีวิตแบบกลุ่ม’ นับเป็นสวัสดิการที่หลายองค์กรมอบให้กับพนักงาน .. สำหรับนายจ้างที่ไม่ได้ทำให้กับพนักงานของตัวเอง ควรศึกษาเอาไว้ .. วันนี้เรามีข้อดีข้อเสียของประกันชีวิตแบบกลุ่มที่นายจ้างควรรู้มาฝาก

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิตแบบกลุ่มสำหรับพนักงาน

หากมองเผิน ๆ การที่นายจ้างทำประกันชีวิตแบบกลุ่มให้กับพนักงานในองค์กรเพิ่มเติม คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือพนักงานและครอบครัว เพราะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัย อีกทั้งยังได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันเองด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนายจ้างเองก็ได้ประโยชน์จากการทำประกันชีวิตแบบกลุ่มให้กับพนักงานเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

1. ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการขององค์กร

แม้ว่าพนักงานทุกคนจะมีประกันสังคมที่ให้ความคุ้มครองในค่ารักษาพยาบาลและวงเงินชดเชยสำหรับกรณีต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่เนื่องจากวงเงินที่ได้รับไม่สูงมากนัก ด้วยเหตุนี้เมื่อมีพนักงานประสบอุบัติเหตุ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต หลายองค์กรมักมอบเงินชดเชยเพิ่มเติมให้พนักงานหรือครอบครัวด้วยเพราะพนักงานเหล่านั้นอาจจะเป็นหัวหน้าครอบครัวซึ่งเมื่อครอบครัวขาดเสาหลักไป ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพต่าง ๆ ย่อมตกเป็นภาระให้กับสมาชิกอื่น ๆ ต้องรับผิดชอบแทน องค์กรจึงต้องการเยียวยาช่วยเหลือครอบครัวพนักงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงเลือกการทำประกันชีวิตแบบกลุ่มที่มีเงินชดเชยให้เมื่อพนักงานสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ซึ่งประกันตัวนี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการขององค์กรลง เพราะบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนใหญ่หรือทั้งหมดแทน

ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการขององค์กร

2. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางภาษีได้

ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการเท่านั้น ประกันชีวิตแบบกลุ่มยังสามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีลดหย่อนนิติบุคคลขององค์กร ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของทางบริษัทได้ด้วยเช่นกัน

3. สร้างกำลังใจให้กับพนักงาน

ถึงพนักงานส่วนใหญ่จะใช้เงินเดือนเป็นตัวเปรียบเทียบในการเลือกว่าจะทำงานหรือลาออกไปทำที่ใหม่ แต่ถึงอย่างนั้นมีไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิการ โดยเฉพาะสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล ดังนั้นการทำประกันชีวิตแบบกลุ่มให้กับพนักงานจึงเป็นหนึ่งสิ่งจูงใจให้พนักงานยังคงทำงานอยู่กับองค์กร ลดการสูญเสียพนักงานที่เป็นทรัพยากรอันมีค่าขององค์กรอีกด้วย

4. เสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กร

ยุคนี้ไม่เพียงแต่สินค้าหรือบริการต้องดีและตอบโจทย์ผู้บริโภค ด้านภาพลักษณ์ขององค์กรเองต้องดีด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจัดเตรียมประกันชีวิตแบบกลุ่มนอกจากทำให้พนักงานรู้สึกดีกับความใส่ใจขององค์กรแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือขององค์กรในสายตาของคนนอกออกองค์กร ส่งเสริมให้เพิ่มโอกาสทางการค้ามากขึ้น

เสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กร

ความคุ้มครองที่แผนประกันกลุ่มสามารถให้ได้

สำหรับความคุ้มครองจากประกันกลุ่มจะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันกลุ่ม ซึ่งประกันกลุ่มแต่ละประเภทจะให้ผลประโยชน์และเงื่อนไขความคุ้มครองที่แตกต่างดังต่อไปนี้

  • ประกันชีวิตแบบกลุ่ม
  • เป็นรูปแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองพนักงานจากการเสียชีวิตทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นในเวลางาน หรือนอกเวลางาน ซึ่งผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินประกันทันทีเมื่อการเสียชีวิตได้รับการยืนยัน
  • ประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม
  • เป็นรูปแบบประกันที่ให้คุ้มครองต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุเท่านั้น ซึ่งในส่วนของผลประโยชน์ที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับความสูญเสียและเงื่อนไขกรมธรรม์ อย่างกรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียมือ เท้า รวมกับดวงตาจะได้รับเงินประกันภัย 100% แต่กรณีสูญเสียมือ เท้า หรือดวงตาอย่างใดอย่างหนึ่ง บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินประกัน 60%
  • ประกันภัยทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรกลุ่ม
  • เป็นรูปแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันได้รับบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุและได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการทุพพลภาพไม่สามารถประกอบอาชีพได้เป็นเวลามากกว่า 180 วัน
  • ประกันภัยสุขภาพกลุ่ม
  • เป็นรูปแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อผู้เอาประกันเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้เข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน

ข้อควรระวังในการเลือกแผนประกันชีวิตแบบกลุ่ม

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าประกันแบบกลุ่มนั้นมีหลายประเภท อีกทั้งแต่ละกรมธรรม์ยังมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่แตกต่างด้วย ด้วยเหตุนี้นอกจากทำความเข้าใจเงื่อนไขของกรมธรรม์แล้ว ยังมีข้อควรระวังในการเลือกแผนประกันชีวิตแบบกลุ่มดังนี้

ประกันชีวิตแบบกลุ่มเป็นประกันแบบฉบับเดียวทั้งองค์กร

ปกติเวลาทำประกัน แต่ละคนจะได้รับกรมธรรมประกันชีวิตคนละฉบับ แต่สำหรับการทำประกันชีวิตแบบกลุ่มจะเป็นกรมธรรม์ฉบับเดียวและเอกสารแนบรายชื่อพนักงานที่ได้รับความคุ้มครอง เพราะฉะนั้นบริษัทที่เป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันจึงต้องเป็นผู้เก็บรักษากรมธรรม์ไว้

การจ่ายค่าเบี้ยประกันคำนวณในอัตราเท่ากันทั้งองค์กร

การจ่ายค่าเบี้ยประกันคำนวณในอัตราเท่ากันทั้งองค์กร

ในการคำนวณค่าเบี้ยประกันของประกันชีวิตแบบกลุ่มไม่ได้คิดเป็นรายบุคคล แต่จะนำค่าเบี้ยประกันของทุกคนมาคำนวณและหารเฉลี่ยเพื่อคิดเป็นค่าเบี้ยประกันอัตราเดียว ซึ่งการคำนวณค่าเบี้ยประกันใหม่เมื่อครบรอบปีกรมธรรม์ ดังนั้นจึงควรมีการตรวจสอบจำนวนพนักงานเป็นประจำทุกปีเพื่อความถูกต้องของค่าเบี้ยประกัน

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการประกันชีวิตแบบกลุ่มที่นำมาฝาก ซึ่งถึงนายจ้างต้องเสียค่าเบี้ยประกันเพิ่มเพื่อทำประกันชีวิตแบบกลุ่มให้กับลูกจ้าง แต่รับประกันว่าได้ประโยชน์มากกว่าที่จ่ายแน่นอน ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ