วิธีวางแผนการเงินสำหรับชีวิตคู่

วิธีวางแผนการเงินสำหรับชีวิตคู่

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันนี้ ‘การเงิน’ มีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตคู่ ดังนั้นเมื่อคิดวางแผนสร้างครอบครัวร่วมกันแล้วต้องไม่ลืมที่จะวางแผนทางด้านการเงินร่วมกันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความชัดเจนของเป้าหมายทางการเงินในอนาคตซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ ได้แก่ เป้าหมายระยะสั้น (เช่น การท่องเที่ยว) , เป้าหมายระยะกลาง (เช่น ซื้อบ้าน) และเป้าหมายระยะยาว (เช่น การศึกษาของบุตร , การเกษียณอายุ เป็นต้น) การจัดการทางด้านการเงินจึงควรแบ่งเป็นสัดส่วน ดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายกองกลางของครอบครัวในแต่ละเดือน เช่น ค่าน้ำ , ค่าไฟ , ค่าอาหาร , ค่าผ่อนบ้าน และค่าใช้จ่ายจิปาถะ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งความรับผิดชอบดูแลแต่ละรายการ หรืออาจแบ่งเงินรายได้ของแต่ละฝ่ายมารวมกันเป็นบัญชีกองกลางเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็ได้
  • เงินออม และเงินสำรองฉุกเฉิน เป็นการสำรองเงินไว้เผื่อเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เจ็บป่วย , ตกงาน , ได้รับอุบัติเหตุ , รถเสีย , ซ่อมบ้าน เป็นต้น ควรสำรองเงินให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัวอย่างน้อย 3 – 6 เดือน โดยสามารถเก็บเงินก้อนนี้ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจะได้นำมาเสริมสภาพคล่องได้อย่างทันท่วงที สำหรับการจัดการเงินในกลุ่มนี้นั้นสามารถกระจายความเสี่ยงได้ด้วยการทำประกันประเภทต่าง ๆ อาทิ ประกันสุขภาพ , ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล , ประกันรถ , ประกันบ้าน เป็นต้น
  • เมื่อตัดสินใจเป็นหุ้นส่วนชีวิตกันแล้ว อย่าลืมเป็นหุ้นส่วนการลงทุนเพื่อต่อยอดเงินเก็บระยะยาวของครอบครัวด้วยการแบ่งเงินเดือนอย่างน้อย 10% ของแต่ละฝ่ายมาลงทุนร่วมกันในตราสารหนี้ , กองทุนรวม หรือหุ้น
  • เงินที่ต้องใช้สำหรับอนาคต เช่น ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรจนกระทั่งจบการศึกษา หรือการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ เป็นต้น เงินกลุ่มนี้ควรเป็นการเก็บออมระยะยาว เช่น บัญชีเงินฝากประจำ , ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ , ประกันชีวิตสำหรับการศึกษาของบุตร , ประกันชีวิตหลังเกษียณ เป็นต้น ทั้งยังสามารถออมผ่านการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น หรือหุ้นเพื่อสร้างโอกาสให้เงินเติบโตในระยะยาวได้

ประกันชีวิตที่ต้องมีสำหรับชีวิตคู่

ประกันชีวิตที่ต้องมีสำหรับชีวิตคู่

แม้ประกันชีวิตจะมีหลายแบบเพื่อให้ครอบคลุมความมั่นใจทุกจังหวะชีวิตตั้งแต่เริ่มสร้างครอบครัวไปจนถึงการใช้ชีวิตหลังเกษียณ แต่ก็มีประกันชีวิตบางแบบที่จำเป็นต้องมีสำหรับชีวิตคู่ ยกตัวอย่างเช่น

  • ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ซึ่งเป็นประกันชีวิตที่สามารถคุ้มครองรายได้ในระยะยาว เหมาะสำหรับคนที่เป็นเสาหลัก หรือหัวหน้าครอบครัว เนื่องจากให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตโดยทายาทจะได้รับมรดกเป็นเงินก้อนใหญ่ที่เพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตในวันที่ครอบครัวต้องสูญเสียผู้ที่หารายได้หลัก ทั้งนี้อย่างต่ำทุนประกันควรอยู่ที่ 5 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งปีของครอบครัว หรือ 3-5 เท่าของรายได้ต่อปี เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
  • ประกันสุขภาพ ด้วยค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูงขึ้นทุกวัน การมีประกันสุขภาพจะช่วยซัพพอร์ตให้การเงินของครอบครัวมั่นคง ไม่ต้องควักเงินเพื่อจ่ายค่ารักษาที่สูงขึ้น อีกทั้งการมีประกันสุขภาพจะช่วยให้เข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน ในช่วงที่ได้รับการรักษาก็มีเงินชดเชยให้ด้วย ช่วยให้คู่สมรสอุ่นใจว่าแม้จะเจ็บป่วยหนักเพียงใดก็จะได้รับการรักษาที่รวดเร็วโดยไม่เสียรายได้ในช่วงที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล

วิธีเลือกประกันชีวิตแบบคู่สมรส

วิธีเลือกประกันชีวิตแบบคู่สมรส

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า ‘ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ’ เป็นหนึ่งในแผนประกันชีวิตที่ต้องมีเพื่อความมั่นคงสำหรับชีวิตคู่ ไม่เฉพาะคู่รักชาย-หญิงเท่านั้น แต่คู่รักหรือคู่สมรส LGBTQA+ ( กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับ 22 ม.ค. 68 ) ก็สามารถสร้างหลักประกันอนาคตที่มั่นคงให้กับคนที่คุณรักด้วยประกันชีวิตแบบตลอดชีพได้เช่นกัน

โดยสามารถระบุให้คู่รักหรือคู่สมรสเป็นผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ซึ่งครอบครัวของผู้ทำประกันจะไม่สามารถโต้แย้งได้เนื่องจากเป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งนี้คู่รักชาย-หญิง หรือคู่สมรส LGBTQA+ ต้องยื่นเอกสารเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ทะเบียนบ้านที่อาศัยด้วยกัน , กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน , รูปภาพ ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่แต่ละกรมธรรม์จะเรียกเพิ่มเติมตามเงื่อนไข โดยวิธีเลือกประกันชีวิตแบบคู่สมรสสามารถเข้าเลือกประกันชีวิตแบบคู่สมรสผ่านทางออนไลน์ได้เลย เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

วิธีวางแผนการเงินร่วมกันกับคู่สมรสด้วยประกันชีวิต

วิธีวางแผนการเงินร่วมกันกับคู่สมรสด้วยประกันชีวิต

ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ Unit Linked คือกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครอง (กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์) และผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเบี้ยประกันที่จ่ายในแต่ละปีจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนของการคุ้มครอง และ ส่วนของการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ประกันชีวิตประเภทนี้มีความยืดหยุ่นสูง ผู้ทำประกันสามารถเพิ่มหรือลดสัดส่วนความคุ้มครอง และการลงทุนได้ตามความต้องการของแต่ละช่วงชีวิต เช่น

  • หลังแต่งงานต้องการเร่งสร้างฐานะครอบครัวก็สามารถปรับลดความคุ้มครองแล้วเพิ่มสัดส่วนการลงทุน
  • เมื่อมีลูกที่ต้องรับผิดชอบดูแลก็สามารถปรับให้มีความคุ้มครองเพิ่มขึ้น
  • ปรับลดความคุ้มครองลงได้หากหมดภาระทางด้านการเงิน เช่น ลูกเรียนจบ , หมดหนี้สิน เป็นต้น
  • สามารถหยุดพักชำระเบี้ยฯ ได้หากประสบปัญหาทางการเงินโดยความคุ้มครองยังคงอยู่ (ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทกำหนด)
  • ประกันชีวิตควบการลงทุนเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีทุนประกันชีวิต หรือวางแผนการลงทุนให้กับครอบครัว และพร้อมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกองทุนรวม

นอกจากนี้แล้วประกันชีวิตแบบคู่สมรส หรือแบบครอบครัวมีอีกหลายแบบประกันที่น่าสนใจ เช่น ประกันสุขภาพสำหรับครอบครัว , ประกันอุบัติสำหรับครอบครัว เป็นต้น

ข้อควรพิจารณาในการเลือกแผนประกันที่ครอบคลุมทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตามการตัดสินใจทำกรมธรรม์เพื่อเพิ่มความคุ้มครองสำหรับการใช้ชีวิตคู่นั้นทั้งสองฝ่ายควรปรึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ของการทำประกัน , ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน และผลประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน โดยควรเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียแล้วเลือกกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองอันคุ้มค่าเพียงพอต่อความต้องการและต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขกรมธรรม์ให้ละเอียดครบถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ

ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ