20 สิ่งของวัตถุอันตราย ที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน ก่อนเดินทางต่างประเทศ

20 สิ่งของวัตถุอันตราย ที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน ก่อนเดินทางต่างประเทศ

เมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งสำคัญไม่ที่แพ้กับการเตรียมเอกสาร คือการจัดกระเป๋าถือขึ้นเครื่องและกระเป๋าสัมภาระที่ต้องโหลดใต้ท้องเครื่อง นอกจากจะต้องเตรียมของใช้ส่วนตัวและเอกสารสำคัญแล้ว ยังต้องระวังเรื่องกฎหมายและข้อบังคับด้านการบิน ซึ่งมีกฎระเบียบเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายบนเครื่องบิน หากผู้โดยสารนำวัตถุต้องห้ามขึ้นเครื่อง อาจถูกยึดของหรือได้รับโทษตามกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ควรศึกษาข้อห้ามเกี่ยวกับสิ่งของอันตรายก่อนขึ้นเครื่อง ในบทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งของอันตราย 20 อย่างที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน

20 สิ่งของวัตถุอันตรายที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน

1. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและสิ่งเทียมอาวุธปืนตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน

ถือเป็นสิ่งของต้องห้ามที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเครื่องบินหรือผู้โดยสาร ห้ามนำขึ้นเครื่องบินโดยเด็ดขาด เพราะอาจถูกนำไปใช้เพื่อก่อการร้ายหรือก่ออาชญากรรมบนเครื่องบิน

2. วัตถุระเบิด สามารถแยกย่อยเป็นประเภทของการระเบิดได้ดังนี้

  • 2.1 สารและวัตถุที่มีอันตรายจากการระเบิดเป็นมวล
  • 2.2 สารและวัตถุที่มีอันตรายจากการกระเด็นของเศษชิ้นส่วน แต่ไม่มีอันตรายจากการระเบิดเป็นมวล
  • 2.3 สารและวัตถุที่มีอันตรายจากไฟไหม้และอาจมีอันตรายจากแรงระเบิดเล็กน้อยหรือการกระเด็นของเศษชิ้นส่วนเล็กน้อย หรือทั้งสองอย่าง แต่ไม่มีอันตรายจากการระเบิดเป็นมวล
  • 2.4 สารและวัตถุที่ไม่มีอันตรายอย่างมีนัยสำคัญ
  • 2.5 สารที่ไวต่อการกระตุ้นต่ำมาก แต่มีอันตรายจากการระเบิดเป็นมวล
  • 2.6 วัตถุที่ไวต่อการกระตุ้นต่ำมากเป็นพิเศษ และไม่มีอันตรายจากการระเบิดเป็นมวล

ที่ต้องห้ามนำขึ้นเครื่องบินเพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดจากแรงดันหรืออุณหภูมิในห้องสัมภาระได้

3. ก๊าซ (Gases) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบถัง อัดกระป๋อง หรือภาชนะบรรจุใด ๆ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ดังนี้

  • ก๊าซไวไฟ (Flammable gases)
  • ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable, non-toxic gases)
  • ก๊าซพิษ (Toxic gases)

4. ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง , แอลกอฮอล์เข้มข้น 70% เช่น เมทานอล , เอทานอล และไอโซโพรพานอล , ทินเนอร์หรือสารละลาย , น้ำมันไฟแช็ค เป็นต้น

5. ของแข็งไวไฟ สารที่เสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Flammable solids) ตัวอย่างของแข็งไวไฟ ได้แก่

  • ฟอสฟอรัสขาว (White Phosphorus) สามารถติดไฟได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ
  • แมกนีเซียม (Magnesium) สามารถติดไฟและเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงมาก
  • ผงอะลูมิเนียม (Aluminum Powder) เกิดการลุกไหม้ได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับประกายไฟ

6. สารหรือก๊าซ เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดการไวไฟ ได้แก่ อะเซทิลีน (Acetylene) ก๊าซที่ติดไฟง่าย และอาจเกิดการระเบิดได้หากสัมผัสกับน้ำในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม , ไฮโดรเจน (Hydrogen) เมื่อโลหะบางชนิด เช่น โซเดียมหรือแคลเซียมทำปฏิกิริยากับน้ำ จะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้ง่าย

7. สารออกซิไดซ์และออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ สารออกซิไดซ์ (Oxidizing Substances) คือสารที่สามารถปล่อยออกซิเจนหรือกระตุ้นให้สารอื่นติดไฟได้ง่ายขึ้น เช่น สารฟอกขาวและโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ส่วนออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) คือสารเคมีที่มีออกซิเจนในโครงสร้างโมเลกุลและสามารถสลายตัวได้ง่าย ก่อให้เกิดความร้อนและอาจทำให้เกิดการระเบิด เช่น เบนซิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide)

8. สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic and infectious substances)

9. วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive material)

10. สารกัดกร่อน (Corrosive substances) สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายหรือกัดกร่อนโลหะ เนื้อเยื่อมนุษย์ หรือวัสดุต่าง ๆ ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง หากหกรั่วไหลระหว่างการเดินทางทางอากาศ เช่น กรดซัลฟิวริก และกรดไฮโดรคลอริก เป็นต้น

20 สิ่งของวัตถุอันตรายที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน

รายการวัตถุอันตรายลำดับที่ 1-10 ถือเป็นวัตถุต้องห้ามที่มีอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานหรือผู้โดยสาร ให้เป็นไปตาม Dangerous Goods List ที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด ทางเทคนิคขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งวัตถุในลำดับ 11 – 20 ถัดไปนี้ บางชนิดสามารถนำติดตัวหรือโหลดลงกระเป๋าไว้ใต้เครื่องได้ แต่จะต้องแจ้งให้กับสายการบินทราบและจะอยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎระเบียบที่เคร่งครัด หรือจำกัดปริมาณในการนำขึ้นเครื่อง ได้แก่

11. อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม รวมถึงเครื่องตรวจจับโลหะและกล้องวงจรปิด

12. อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเธียมอิออนหรือลิเธียมเมทัล เช่น โน้ตบุ๊ก, กล้องถ่ายรูป, โทรศัพท์มือถือ หากโหลดใต้เครื่อง ต้องปิดเครื่องและบรรจุหีบห่ออย่างเหมาะสม

13. แบตเตอรี่สำรองและ Power Bank ต้องเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีกำลังไฟ 100Wh – 160Wh จำกัดไม่เกิน 2 ก้อนต่อคน หากกำลังไฟเกินกว่าที่กำหนดห้ามนำขึ้นเครื่อง

14. อุปกรณ์ป้องกันตัว อุปกรณ์ที่มีสารก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือทำให้หมดความรู้สึก เช่น สเปรย์พริกไทย, แก๊สน้ำตา ห้ามนำขึ้นเครื่องทุกกรณี

15. อุปกรณ์ป้องกันตัว อุปกรณ์ที่มีสารก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือทำให้หมดความรู้สึก เช่น สเปรย์พริกไทย, แก๊สน้ำตา ห้ามนำขึ้นเครื่องทุกกรณี

16. โน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตที่มีแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีน้ำหนัก มากกว่า 0.3 กรัม และไม่สามารถถอดแบตเตอรี่ออกได้ ห้ามนำขึ้นเครื่อง

17. ของมีคมและวัตถุที่อาจใช้เป็นอาวุธ เช่น มีด, กรรไกร, สนับมือ, ใบมีดโกน เพราะอาจถูกใช้เป็นอาวุธทำร้ายผู้โดยสารหรือลูกเรือ

18. ของเหลว สามารถพกพาได้ แต่จำกัดไม่เกิน 100 มิลลิลิตรต่อขวดและรวมกันไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร ภาชนะที่บรรจุจะต้องเป็นภาชนะแบบใสและใส่ในถุงซิปล็อกแบบใส โดยจะต้องแสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ จุดตรวจ

19. พืชและดอกไม้สด ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แม้จะมีใบอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ

20. อุปกรณ์กีฬาบางชนิด ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน เช่น ไม้เบสบอล, ไม้กอล์ฟ, กระบอง, ไม้คิว เพราะอาจใช้เป็นอาวุธได้

นอกจากนี้ยังมีวัตถุต้องห้ามที่จะต้องแสดงและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนนำติดตัวหรือโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องอีกหลายรายการ โดยเฉพาะข้อห้ามในการนำสิ่งของเข้าในประเทศนั้น ๆ รวมไปถึงสิ่งของ , เสื้อผ้าที่เป็นของปลอมหรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่บางประเทศห้ามนำเข้าหรืออาจถูกยึดไว้ที่สนามบิน ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หากไม่มั่นใจให้สอบถามไปยังสายการบินที่ใช้บริการ

ทำไมถึงห้ามนำสิ่งของเหล่านี้ขึ้นเครื่องบิน

เหตุผลหลักที่สิ่งของเหล่านี้ถูกห้ามนำขึ้นเครื่องบินคือ ความปลอดภัยของผู้โดยสารและลูกเรือ สิ่งของบางอย่างอาจก่อให้เกิดอันตรายโดยตรง เช่น การระเบิดหรือไฟไหม้ ในขณะที่บางอย่างอาจถูกใช้เป็นอาวุธหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกบนเครื่องบินได้ นอกจากนี้สิ่งของบางประเภทอาจรบกวนระบบการทำงานของเครื่องบิน เช่น สารแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสารเคมีที่อาจทำปฏิกิริยากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

หากมีของต้องห้ามในกระเป๋า ควรทำอย่างไร

หากพบว่ามีสิ่งของต้องห้ามในกระเป๋า ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ให้ทำดังนี้

  • แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ไม่ควรพยายามซ่อนหรือนำสิ่งของนั้นขึ้นเครื่องบินโดยไม่แจ้ง เพราะอาจทำให้คุณถูกปรับหรือถูกจับกุมได้
  • ทิ้งสิ่งของนั้น หากเป็นสิ่งของที่ไม่สำคัญหรือไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ให้ทิ้งในถังขยะที่จัดเตรียมไว้
  • ส่งสัมภาระกลับ หากเป็นสิ่งของที่มีค่าและไม่สามารถทิ้งได้ ให้ส่งสัมภาระกลับหรือจัดส่งทางอื่นแทน
  • ตรวจสอบกฎหมายประเทศปลายทาง บางสิ่งของอาจถูกห้ามเฉพาะในบางประเทศ ดังนั้นควรตรวจสอบกฎหมายของประเทศที่คุณจะเดินทางไป

เคล็ดลับจัดกระเป๋าเดินทางอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงถูกยึดของ

เคล็ดลับจัดกระเป๋าเดินทางอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงถูกยึดของ

  • 1. ตรวจสอบรายการสิ่งของต้องห้ามล่วงหน้า
  • ก่อนจัดกระเป๋า ควรศึกษารายการสิ่งของที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบินจากสายการบินหรือเว็บไซต์ของสนามบิน
  • 2. แยกของใช้จำเป็นและของต้องห้าม
  • ควรแยกสิ่งของที่อาจเป็นปัญหาไว้ต่างหาก เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
  • 3. ใช้กระเป๋าใสสำหรับของเหลว
  • ของเหลวทั้งหมดควรใส่ในถุงพลาสติกใสและมีปริมาณไม่เกิน 100 มิลลิลิตรต่อชิ้น
  • 4. ตรวจสอบแบตเตอรี่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ควรนำแบตเตอรี่ขึ้นเครื่องบินในกระเป๋าถือ และไม่ควรเก็บไว้ในสัมภาระที่โหลดใต้เครื่องบิน
  • 5. ไม่นำสิ่งของผิดกฎหมาย
  • หลีกเลี่ยงการนำสิ่งของที่ผิดกฎหมายหรืออาจก่อให้เกิดความสงสัย เช่น ยาเสพติดหรืออาวุธ

การเดินทางไปต่างประเทศเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมตัวอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะการจัดกระเป๋าเดินทางให้ปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบการบิน การรู้จักสิ่งของต้องห้ามและเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นก่อนเดินทางควรตรวจสอบรายการสิ่งของที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบินและจัดกระเป๋าอย่างระมัดระวังเพื่อให้การเดินทางของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น

ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ