แอโรบิค ช่วยลดเสี่ยงมะเร็ง

ณ เวลานี้ศิลปินแร็พเปอร์สาว (MILLI) ได้จุดกระแสเต้น แอโรบิค ขึ้นกลางคอนเสิร์ตบนเวทีระดับโลก (Coachella) อีกครั้งหลังจากที่มีกระแสข้าวเหนียวมะม่วงไปได้ไม่นาน และนี่ถือเป็นอีกครั้งที่มีการสร้างซอฟเพาเวอร์ ในการออกกำลังกายเกิดขึ้น จนกระแสในวงการแอโรบิคเกิดเสียงฮือฮาอีกครั้ง แต่แท้จริงแล้วแอโรบิคคืออะไร มีข้อดีอะไรบ้าง และแอโรบิคสามารถป้องกันมะเร็งทั้งก่อนเป็น และหลังเป็นได้อย่างไรบ้าง วันนี้ TPIS จะมาให้คำตอบและข้อเท็จจริงกันครับ

แอโรบิค (Aerobic) คืออะไร

ออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic Exercise) คือ การออกกำลังกายที่ต้องหายใจ และออกกำลังกายไปด้วย เพื่อให้ออกซิเจนที่หายใจเข้าไปช่วยเผาผลาญ ไขมัน โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต ในร่างกาย โดยการออกกำลังกายแอโรบิคสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • กระโดดเชือก
  • เดิน
  • ว่ายน้ำ
  • ปั่นจักรยาน
  • เต้น
  • การออกกำลังกายอื่นๆ ที่ใช้การหายใจขณะออกกำลังอยู่ก็นับเป็นแอโรบิคทั้งหมด

แอนแอโรบิค (Anaerobic) คืออะไร

ออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค (Anaerobic) คือ การออกกำลังกายที่ไม่ต้องการออกซิเจน และเป็นการออกกำลังกายในช่วงสั้นๆ จะทำให้เผาผลานคาร์โบไฮเดรตในร่างกายอย่างรวดเร็ว และหลังจากออกกำลังกาย ร่างกายจะทำการเผาผลานไขมันต่ออีกด้วย ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิคสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ยกน้ำหนัก
  • โยคะ
  • วิ่งระยะสั่น
  • การออกกำลังกายอื่นๆ ที่ใช้เวลาสั้น และใช้ออกซิเจนน้อยก็ถือว่าเป็นแอนแอโรบิค

ข้อดีและข้อแตกต่าง แอโรบิค และ แอนแอโรบิค

สำหรับการออกกำลังกายทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่าข้อดีของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค และแอนแอโรบิคแตกต่างอย่างไร โดยขอเริ่มจากแอโรบิค (Aerobic) ก่อนนะครับ

ข้อดีแอโรบิค (Aerobic)

  • ลดความเครียด
  • ลดความดันโลหิต
  • ลดไขมันเสียในร่างกาย
  • ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน
  • ลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อม
  • ลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง และโรคร้ายแรง
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจดีขึ้น

หลังจากที่รู้ข้อดีของแอโรบิคแล้ว มาดูข้อดีของการออกกำลังการแบบแอนแอโรบิค (Anaerobic) กันบ้างว่ามีข้อดีอะไร

ข้อดีแอนแอโรบิค (Anaerobic)

  • เพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย
  • เพิ่มกล้ามเนื้อ
  • เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก
  • ลดไขมัน

ซึ่งโดยปกติแล้วการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิคนั้น จะค่อนข้างเหนื่อยและใช้ร่างกายอย่างหนัก จึงไม่เหมาะแก่การดูแลรักษาหรือป้องกันโรคมะเร็งสักเท่าไหร่ แต่ถ้าตั้งใจจะลดน้ำหนักเป็นหลักการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิคจะได้ผลดีกว่า

อยากเริ่มเต้นแอโรบิคทำอย่างไร

หากเราอยากจะออกกำลังกายแอโรบิค ควรทำให้ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มจนจบ ไม่งั้นอาจเกิดอันตรายและผลเสียต่อร่างกายได้ ซึ่งการแอโรบิคมี 3 ขั้นตอนดีงนี้

  1. อบอุ่นร่างกาย 5 – 10 นาที บริหารร่างกายเบาๆ ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ของร่างกาย เตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกายขั้นถัดไป
  2. ออกกำลังกายแอโรบิค 10 – 40 นาที บริหารร่างกายตามโปรแกรมที่วางแผนไว้ ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนัก เพิ่มภูมิคุ้มกัน บริหารร่างกาย
  3. ผ่อนคลายออกกำลังกายช้าๆ 5-10 นาที บริหารเบาๆ ให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเครียด หรือเหนื่อยล้าเร็วเกินไป ค่อยหยุดออกกำลังกาย

แอโรบิคป้องกันมะเร็งได้อย่างไร?

  • ลดน้ำหนัก ทำให้ไม่อ้วน เพราะการมีน้ำหนักตัวมาก อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้หลายชนิด มิหนำซ้ำการเป็นมะเร็งในขณะที่มีน้ำหนักตัวมาก อาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น และในผู้ป่วยมะเร็งที่มีน้ำหนักตัวมาก มักมีโอกาสรอดชีวิตน้อยลงอีกด้วย
  • ลดฮอร์โมน ที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม เพราะ เวลาออกกำลังกายโดยเฉพาะแอโรบิคจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นตัวกระตุ้นมะเร็งเต้านมต่ำลง และ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้
  • ลดอินซูลิน เพราะ การออกกำลังกายจะช่วยลดอินซูลิน ที่ทำให้เกิดการเติบโตและเกิดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และยังสามารถลดการเกิดโรคเรื้อรังได้อีกด้วย
  • ลดความเสียหายของเม็ดเลือดขาว เพราะ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มการหมุนเวียนออกซิเจนให้เม็ดเลือดขาวทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้น
  • ลดการสะสมของเสียในร่างกาย เพราะ ถ้าร่างกายได้ขยับ ได้ออกกำลังกาย จะสามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้นและช่วยป้องกับมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้

หากเป็นโรคมะเร็งควรแอโรบิคอย่างไร

  • หากภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรออกกำลังกายหรือแอโรบิคในที่สาธาณะ เพราะอาจติดเชื้อได้ง่าย ทั้งทางอากาศและผู้คนในที่สาธาณะ
  • หากมีอาการอ่อนแรง ไม่ควรออกกำลังกายหนัก แต่สามารถยืดเส้นเล็กๆ น้อยๆ วันละ 10 – 15 นาที เมื่อร่างกายปรับสภาพได้จึงค่อยๆ เพิ่มเวลาออกกำลังกายได้
  • หากมีอาการของระบบประสาท ไม่ควรรีบลุก หรือเดิน เพราะอาจบาดเจ็บจากการล้มได้ ควรหากิจกรรมหรือการออกกำลังกายอยู่กับที่ก็เพียงพอแล้ว
  • หากมีโรคที่เกี่ยวกับโลหิตจาง สามารถออกกำลังได้ แต่ถ้ามีอาการโลหิตจางรุนแรง ห้ามออกกำลังกายเด็ดขาด และขยับตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะอาจมีอาการหน้ามืดเป็นลมได้ง่าย
  • หากใช้รังสีในการรักษา ไม่ควรออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำเพราะ คลอรีน ทำให้ผิวแห้ง คัน และเกิดตกสะเก็ดได้

สรุป

การออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพเราควรเตรียมตัว อบอุ่นร่างกายให้พร้อม และหาแรงจูงใจในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพราะจะทำให้เรามีจิตใจแจ่มใส อารมณ์ดีขึ้น ขณะออกกำลังกาย แต่ถ้าเราออกกำลังกายและดูแลตัวเองอย่างดีแล้ว ยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตเพื่อให้มีค่ารักษาเพียงพอ ด้วยความห่วงใยจาก TPIS ครับ