ยามอุบากองคืออะไร วิธีดูฤกษ์ดูยามได้กี่แบบ
คำว่า ยามอุบากอง เป็นคำที่อาจไม่คุ้นเคยสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงโหราศาสตร์ รู้จักกันดี เพราะคำนี้หมายถึงศาสตร์หนึ่งในการพยากรณ์เพื่อหาฤกษ์งามยามดีในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการเดินทางที่คนโบราณเชื่อว่า ก่อนจะเดินทางไปไหนมาไหนต้องดูฤกษ์ให้ดี
ยามอุบากอง คืออะไร
ยามอุบากอง มาจากชื่อของทหารพม่านายหนึ่งที่ชื่อว่า ‘อุบากอง’ เป็นนายทหารระดับขุนพลที่นำกองทัพพม่าเข้ามาทางเมืองเชียงใหม่เมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน
แต่ถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ในระหว่างทำการรบและถูกส่งตัวมาคุมขังที่กรุงเทพฯ นายทหารท่านนี้เป็นผู้มีวิชาในเรื่องดูฤกษ์ดูยามการเดินทาง และได้มีการเขียนฤกษ์ยามยาตราขึ้น
ลักษณะคล้ายกับยันต์ เรียกกันว่ายันต์อุบากอง ยันต์นี้ช่วยให้นายทหารสามารถหาวันเวลาที่เหมาะแล้วแหกคุกออกมาได้ และยังได้สอนวิชานี้ให้กับพรรคพวกในคุกจนกระทั่งพากันหลบหนีกลับพม่าไปได้เกือบหมด
ยกเว้นทหารบางรายที่ไม่ได้หนีไป (เพราะมีเชื้อไทยจากพ่อหรือจากแม่บ้าง) และทหารเหล่านี้ก็ได้นำเอาวิชาการเขียนยันต์ยามยาตราติดตัวมาด้วย
หลังจากนั้น ก็ได้มีการนำมาทำเป็นตำราเพื่อศึกษาเล่าเรียนในเวลาต่อมาโดยตั้งชื่อตำราตามชื่อของขุนพลพม่าว่าตำราดูฤกษ์ ยามอุบากอง เป็นฤกษ์ที่ใช้ในการออกเดินทาง
หาฤกษ์เดินทางจาก ยามอุบากอง ได้กี่แบบ
ทุกวันนี้คนไทยยังคงนิยมการดูฤกษ์ตามศาสตร์นี้กันอยู่ มีการเขียน ยามอุบากอง ขึ้นโดยอาศัยหลักการจากตำราโหราศาสตร์โบราณที่ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาถึงยุคสมัยปัจจุบัน การดูฤกษ์ด้วยศาสตร์นี้มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบใช้วัน – เวลา
เป็นตำราการดูฤกษ์ดูยามที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะดูง่าย สามารถดูได้จากตารางนี้
เวลา | เช้า | สาย | เที่ยง | บ่าย | เย็น |
กลางวัน | 06.01 – 08.24 น. | 08.25 – 10.48 น. | 10.49 – 13.12 น. | 13.13 – 15.36 น. | 15.37 – 18.00 น. |
กลางคืน | 18.01 – 20.24 น. | 20.25 – 22.48 น. | 22.49 – 01.12 น. | 01.13 – 03.36 น. | 03.37 – 06.00 น. |
อาทิตย์ | ● ● ● ● | X | ● ● | ● | |
จันทร์ | ● | ● ● ● ● | X | ● ● | |
อังคาร | ● ● | ● | ● ● ● ● | X | |
พุธ | ● ● | ● | ● ● ● ● | X | |
พฤหัส | X | ● ● | ● | ● ● ● ● | |
ศุกร์ | ● ● ● ● | X | ● ● | ● | |
เสาร์ | ● | ● ● ● ● | X | ● ● |
ตารางฤกษ์ยามอุบากองที่เห็นอยู่นี้เป็นตารางโหราศาสตร์โบราณ เขียนขึ้นตามตำรายามอุบากองสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในแต่ละช่อง คือ เครื่องหมายที่บอกว่า ยามอุบากอง ช่องไหน ฤกษ์ดีและฤกษ์ไม่ดี ดังนี้
สัญลักษณ์ | ความหมาย |
● | ไม่ควรเดินทาง |
● ● | ออกเดินทางได้เพราะเป็นฤกษ์ดี มีโชค |
● ● ● ● | ฤกษ์ดี เดินทางได้ |
ช่องว่าง | ฤกษ์ธรรมดา ไม่มีโชคแต่เดินทางได้ |
X | ฤกษ์อัปมงคล ไม่ควรเดินทาง |
วิธีดูฤกษ์แบบใช้วันและเวลา คือ นำวัน – เวลา ที่คาดว่าจะเดินทางมาเทียบในตาราง เช่น เวลาที่จะเดินทาง คือ วันเสาร์ 10 โมง เช้า
เมื่อนำมาเทียบในตารางจะไปตกอยู่ในช่องที่มีสัญลักษณ์จุดกลม 4 จุด (ช่องที่ไฮไลท์จุดสีเขียว ดังในภาพที่แสดงให้เห็นด้านล่างนี้) นั่นคือฤกษ์ดีเดินทางได้
เวลา | เช้า | สาย | เที่ยง | บ่าย | เย็น |
กลางวัน | 06.01 – 08.24 น. | 08.25 – 10.48 น. | 10.49 – 13.12 น. | 13.13 – 15.36 น. | 15.37 – 18.00 น. |
กลางคืน | 18.01 – 20.24 น. | 20.25 – 22.48 น. | 22.49 – 01.12 น. | 01.13 – 03.36 น. | 03.37 – 06.00 น. |
เสาร์ | ● | ● ● | X | ● ● |
2. แบบข้างขึ้นข้างแรม
เป็นการดูฤกษ์อีกแบบหนึ่งที่สายมูนิยมใช้ ผู้ที่มีเครื่องรางของขลัง และมีความชำนาญด้านโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์มักจะใช้วิธีดูฤกษ์อุบากองแบบข้างขึ้นข้างแรม โดยตำรานี้จะมีตารางสัญลักษณ์เช่นเดียวกับแบบแรก ส่วนการเทียบเวลากับตารางนั้น ถ้าเป็น ยามอุบากองข้างขึ้น จะอาศัยการดูพระจันทร์ข้างขึ้น กับดูวันและเวลาทั้ง 3 อย่าง ประกอบกัน
สำหรับการเทียบเวลาตามตาราง ยามอุบากองข้างแรม จะใช้วิธีดูพระจันทร์ข้างแรมกับดูวันและเวลาเช่นกัน แต่จะเริ่มนับเวลากลับด้านจากเย็นไปเช้า (ปกติจะเริ่มนับเวลาจากเช้าไปเย็น)
ยามอุบากองข้างขึ้น และข้างแรมนี้ถือว่ามีความแม่นยำมากที่สุดเพราะเวลาดูจะต้องใช้ตารางอุบากองสองแบบควบคู่กันคือใช้ทั้งตารางฤกษ์ยามข้างขึ้น และตาราง ยามอุบากองข้างแรม
3. แบบดิถีค่ำและเวลา
เป็นการดูฤกษ์เวลาคล้าย ๆ กับแบบแรก ต่างกันตรงที่แบบนี้มีการนับฤกษ์เพียงแค่ 5 วัน ไม่มีวันศุกร์และวันเสาร์
ยามอุบากอง ใช้ดูฤกษ์อื่นๆ อีกได้ไหม
ในสมัยก่อน ฤกษ์อุบากองนี้จะใช้สำหรับหาช่วงเวลาดีที่เหมาะกับการเดินทางเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันการดูฤกษ์ตามยามอุบากอง สามารถใช้ในด้านอื่นได้ด้วย เช่น ดูฤกษ์นัดพบปะกับลูกค้า คู่เจรจาทางธุรกิจ เจ้านาย ไปนำเสนองาน หรือไปสมัครงาน ฯลฯ
รวมถึงใช้ ยามอุบากองฤกษ์ออกรถ การดูฤกษ์ยามเพื่อทำบุญบ้าน หรือจัดงานพิธีสำคัญอื่น ๆ อีกด้วย การดูฤกษ์และทำตามฤกษ์นี้นับว่าได้ผลดีสำหรับหลาย ๆ คนในแง่ของความสบายใจ เหมือนมีที่ยึดเหนี่ยว ช่วยให้ไม่รู้สึกหวาดกลัว หรือเป็นกังวล
ออกรถใหม่ตามฤกษ์ ยามอุบากอง
ยามอุบากอง ได้รับความนิยมและเชื่อถือศรัทธามาโดยตลอด ไม่เฉพาะแค่เรื่องเดินทาง แต่ในเรื่องของการออกรถ หลายคนก็ได้นำเอาวิธีดูยามยาตราของพม่าดั้งเดิมนี้มาใช้ดูฤกษ์ด้วยตัวเองโดยอาศัยการอ่านยันต์ก่อนถอยรถคันใหม่
วิธีง่าย ๆ ก็คือดูความหมายของสัญลักษณ์ในช่องเวลาบนยันต์อุบากองก่อนที่จะออกรถ สัญลักษณ์ไหนความหมายดีก็จะรีบออกรถตามช่วงเวลาที่มีสัญลักษณ์นั้นอยู่
ดูยามอุบากองฤกษ์ออกรถ เป็นการดูฤกษ์เพื่อความเป็นสิริมงคลสำหรับก้าวใหม่อีกก้าวหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การดูฤกษ์ยามเป็นความเชื่อที่มีมาแต่ครั้งโบราณ หากการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันอาจจะต้องนำมาปรับใช้กันตามความเหมาะสมของแต่ละคน
วิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มทำภารกิจใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกรถใหม่ หรือเรื่องอื่น ๆ ก็ตามนั้น ควรพิจารณาจากปัจจัยรอบตัวประกอบกันไปด้วยโดยไม่ควรยึดถือแต่ฤกษ์ยามเพียงอย่างเดียว ดังนั้น จึงควรตรวจเช็กสภาพรถก่อนเดินทางไกลทุกครั้ง และหมั่นบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้อยู่เป็นประจำ
หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อประกันภัยรถยนต์ หรือ ต่อ พ.ร.บ. แล้วล่ะก็… ที่ ตรีเพชรอินชัวรันส์ เสนอราคาเบี้ยประกันให้คุณคุ้มค่า ถูกใจ! เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ รวดเร็ว ความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ให้คุณซื้อประกันรถได้อย่างสบายใจ คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!