การชาร์จรถไฟฟ้า EV แต่ละรุ่น ต่างกันอย่างไร?

การชาร์จรถไฟฟ้า EV แต่ละรุ่น ต่างกันอย่างไร?
  • DC Charging เป็นการชาร์จไฟกระแสตรงเข้าสู่แบตเตอรี่หรือ Quick Charging เป็นหัวชาร์จที่สถานีชาร์จนิยมใช้ สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้า EV   0 – 80% ได้ภายใน 30 – 60 นาที ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่รถยนต์
  • AC Charging เป็นการชาร์จไฟกระแสสลับเข้าสู่ On Board Charger ก่อน จึงเข้าไปที่แบตเตอรรี่ หรือ DOUBLE SPEED CHARGE เหมาะกับการชาร์จในบ้านสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้า EV 0 – 80% ได้ภายใน 4 – 7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่รถยนต์
  • Normal Charging เป็นสายชาร์จที่แถมมากับตัวรถสามารถชาร์จแบตเตอรี่ที่ไหนก็ได้ เหมาะกับการใช้ชาร์จยามฉุกเฉินเท่านั้น สามารถชาร์จจาก 0 – 80% ได้ภายใน 12-16 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่รถยนต์

ซึ่งTPISจะมาขยายความกันว่าการชาร์จแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไรมีผลดีผลเสียอย่างไรบ้าง เพราะหลายคนคงรู้กันอยู่แล้วว่ารถไฟฟ้า EV นั้นขึ้นชื่อเรื่องประหยัด ขับเงียบ และลดมลพิษ แต่รู้หรือไม่ รถไฟฟ้า EV ชาร์จไฟในบ้านต้องทำอย่างไร และชาร์จไฟที่สถานีชาร์จมีขั้นตอนอะไรบ้าง TPIS มีคำตอบให้ทั้งหมดครับ

การชาร์จไฟของรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ กี่ประเภท ?

จากข้างต้นที่กล่าวไว้คร่าวๆ เกี่ยวกับการชาร์จรถไฟฟ้า EV ว่ามีกี่แบบ กี่ประเภท เราจะมาดูกันว่าแต่ละแบบแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร มีผลกับรถไฟฟ้า EV ของเราไหม เริ่มต้นกันที่

1. การชาร์จธรรมดา (Normal Charge)

การชาร์จรถไฟฟ้า EV ด้วยสายชาร์จธรรมดาที่แถมมากับตัวรถ (Normal Charging) จะเป็นการชาร์จไฟกระแสสลับจากเต้าเสียบ ซึ่งจะมีความร้อนที่เต้าเสียบสูงไม่ปลอดภัยในการชาร์จเป็นเวลานานอาจทำให้เต้าเสียบร้อนละลาย และไหม้ได้ เหมาะแก่การชาร์จยามจำเป็น และกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ยกเว้นเราจะเสียบชาร์จกับเต้ารับสำหรับชาร์จรถไฟฟ้า EV โดยเฉพาะซึ่งเราจะอธิบายในขั้นถัดไป

2. การชาร์จ DOUBLE SPEED CHARGE หรือ AC (Alternating Current)

การชาร์จรถไฟฟ้า EV แบบ DOUBLE SPEED CHARGE จะชาร์จได้เร็วขึ้นปลอดภัยขึ้น มากกว่า Normal Charging แบบแรก และการชาร์จแบบ AC ยังถนอมแบตเตอรรี่ได้ดีที่สุดอีกด้วย เพราะการชาร์จแบบ AC จะใช้ไฟฟ้ากระแสสลับไปยัง On Board Charger และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าตรงเข้าสู่แบตเตอรี่รถ แต่การชาร์จแบบ AC จะเหมาะกับการชาร์จที่ห้างหรือบ้านมากกว่า เพราะเป็นการชาร์จไฟที่ใช้เวลานาน 4 – 7 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับหัวจ่ายไฟ และความจุของแบตเตอรี่รถยนต์) แต่การชาร์จแบบ AC จะมีให้บริการน้อยกว่าการชาร์จแบบ DC และการชาร์จแบบ AC สามารถเสียบชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืนได้โดยที่แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เสื่อมสภาพมากอีกด้วย โดยหัวชาร์จแบบ AC จะมี 2 แบบ Type 1 , Type2

การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-2
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-3

3. การชาร์จแบบเร็ว (Quick Charge) หรือ DC (Direct Current)

เป็นการชาร์จรถไฟฟ้า EV แบบรวดเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่แบตเตอรี่รถไฟฟ้า EV ของเราเลยซึ่งจะเป็นการชาร์จที่เร็วมากๆ โดยใช้เวลาชาร์จ 0 – 80% ภายใน 30 – 60 นาที เท่านั้น แต่การชาร์จแบตเตอรี่เร็วๆ ก็ต้องแลกกับความเสื่อมสภาพที่เร็วขึ้นด้วย โดยส่วนใหญ่สถานีชาร์จในไทยจะเป็นแบบ DC ซึ่งใช้หัวชาร์จ CHAdeMo , GB/T , CCS Type1/Type2

การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-4
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-5
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-6
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-7

ฉะนั้นอย่าลืมดูว่ารถของเราสามารถใช้หัวชาร์จประเภทไหนได้บ้าง ทีนี้เราลองมาดูขั้นตอนการใช้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV ในไทยกันบ้างว่ามีที่ไหนและมีขั้นตอนอย่างไรนะครับ

แอพพลิเคชั่นค้นหาสถานีชาร์จ และขั้นตอนการใช้งาน

สำหรับแอพพลิเคชั่นค้นหาสถานีชาร์จนั้นถือว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับคนขับรถไฟฟ้า EV เพราะในปัจจุบันสถานีชาร์จยังไม่แพร่หลายจึงจำเป็นต้องใช้แอพพลิชั่นในการวางแผนเดินทางอยู่เสมอ และเราจำเป็นต้องมีทุกแอพพลิเคชั่นเนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีแอพพลิเคชั่นที่รวบรวมทุกสถานีชาร์จไว้ในแอพพลิเคชั่นเดียว เราจึงต้องขอนำเสนอแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่ควรมีไว้ ดังนี้

การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-8
Credit ภาพจาก : EVolt

1.EVolt – สามารถดูคิว และ จองคิวการชาร์จรถไฟฟ้า EV ผ่านแอพพลิเคชั่นได้ และยังสามารถสั่งชาร์จหรือหยุดชาร์จไฟผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้อีกด้วย

วิธีการใช้งานสถานีชาร์จ EVolt

  1. เสียบสายเข้ากับรถและล็อครถยนต์
  2. เลือกสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่ต้องการใช้บริการ
  3. เลือกชนิดของหัวจ่าย
  4. กดที่ “Swipe to charge” เพื่อเริ่มทำการชาร์จ
  5. กดที่ “Swipe to end charge” เพื่อทำการหยุดชาร์จ
  6. กดจ่ายเงิน
  7. เก็บสายชาร์จ
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-9
Credit ภาพจาก : EA Anywhere

2.EA Anywhere – สามารถค้นหาสถานีชาร์จและใช้ระบบนำทางไปยังสถานีได้ โดยสถานีชาร์จ EA ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ

วิธีการใช้งานสถานีชาร์จEA Anywhere

  1. เปิด app EA Anywhere
  2. เลือก EV Station
  3. กด Icon QR code ด้านล่างขวา
  4. สแกน QR Code (หากสแกนไม่ได้ให้กรอก Access Code หน้าตู้)
  5. เลือกรุ่นรถ
  6. เลือกหัวชาร์จ
  7. นำหัวชาร์จที่ตู้ออกมาชาร์จ
  8. กด “เริ่มชาร์จ”
  9. กด “หยุดชาร์จ” พร้อมเช็คเอ้าท์
  10. เก็บสายชาร์จ
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-10
Credit ภาพจาก : MEA EV

3.MEA EV – เป็นแอพพลิเคชั่นของการไฟฟ้านครหลวง สามารถค้นหา จองคิว และควบคุมการชาร์จผ่านแอพพลิเคชั่นได้อีกด้วย

วิธีการใช้งานสถานีชาร์จ

  1. เสียบสายชาร์จ
  2. เข้า App MEA EV
  3. สแกน QR Code
  4. กด Stop Charging
  5. เก็บสายชาร์จ
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-11
Credit ภาพจาก : EV Station PluZ

4.EV Station PluZ – เป็นแอพพลิเคชั่นในเครือ ปตท. สามารถค้นหา และตรวจสอบคิวการชาร์จได้ ทั้งรถไฟฟ้า และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดย EV Station PluZ จะตั้งอยู่ในปั้ม ปตท. โดยมีบริการร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านสะดวกซื้อ ให้พักผ่อนระหว่างรอการชาร์จ

วิธีการใช้งานสถานีชาร์จ EV Station PluZ

  1. เปิด App EV Station
  2. เลือกสถานีชาร์จ
  3. เลือกหัวชาร์จ
  4. เลือกเวลาชาร์จ
  5. สแกน QR Code หัวชาร์จหน้าตู้
  6. กด “Start Charging”
  7. กด “Stop Charging”
  8. เก็บสายชาร์จ
การชาร์จรถไฟฟ้า EV มีกี่แบบ? ต่างกันอย่างไร? ชาร์จที่ไหนได้บ้าง?-12
Credit ภาพจาก : PEA VOLTA

1.PEA VOLTA – เป็นแอพพลิเคชั่นในเคลือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถ ค้นหา ตรวจสอบ และจองคิวการใช้บริการได้ในแอพพลิเคชั่น

วิธีการใช้งานสถานีชาร์จ

  1. เสียบสายชาร์จ
  2. เข้า App PEA VOLTA
  3. เลือก หัวชาร์จ
  4. กด “Start” เพื่อชาร์จ
  5. กด “Stop” เพื่อหยุดชาร์จ
  6. เก็บสายชาร์จ

วิธีติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้าน

  1. เราต้องดูก่อนว่าไฟบ้านที่เราใช้เป็นขนาดเท่าไหร่ ปกติมิเตอร์ไฟบ้านจะเป็น15(45) เฟส1 ขนาด 11 – 30 แอมแปร์ แต่ถ้าเราจะชาร์จรถไฟฟ้า EV เราควรจะเปลี่ยนมิเตอร์ไฟบ้านเป็น 30(100) เฟส1 ขนาด 31 – 75 แอมแปร์ เพื่อรองรับการชาร์จรถไฟฟ้า EV นั้นเอง
  2. เปลี่ยน MCB (Main Circuit Breaker) โดยปกติเบรกเกอร์ลูก (MCB) จะรองรับ 45 แอมแปร์ เราต้องเปลี่ยนเบรกเกอร์ลูก (MCB) เป็น 100 แอมแปร์ และปกติสายของ MCB จะมีขนาด 16 ตร.มม. เราต้องเปลี่ยนให้สาย MCB 25 ตร.มม. เพื่อรับรองการชาร์จรถไฟฟ้า EV
  3. เพิ่มตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)ในบ้าน เพื่อป้องกันการลัดวงจรหรือใช้ไฟเกินขนาด จึงต้องมีตู้ควบคุมไฟฟ้าแยกใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
  4. ติดตั้ง RCD (Residual Current Device) หรือ เซฟ-ที-คัท นั้นแหละ เพื่อป้องกันการลัดวงจรในการชาร์จ
  5. ติดตั้ง EV Socket เป็นเต้ารับชนิด 3 รู ที่มีสายดิน แต่เราต้องดูด้วยว่า EV Socket ที่เราติดตั้งนั้นสามารถรองรับไฟฟ้าขนาด 16 แอมแปร์ และสายชาร์จรถไฟฟ้า EV ของเราได้หรือไม่

ถ้าแม้การที่เราขับรถ EV จะประหยัดกว่าเติมพลังงานด้วยการชาร์จได้ง่ายกว่าน้ำมัน แต่ก็คงบอกไม่ได้ว่าควรขับรถEV หรือ ขับรถน้ำมันจะดีกว่ากัน เพราะ การขับรถEV ก็ยังมีบริการชาร์จไม่ทั่วถึงทุกทีจริงๆ อาจมีปัญหาเวลาเดินทางไกลได้ หากวางแผนไม่ลัดกุม สุดท้ายนี้ TPIS ขอให้เปรียบเทียบเลือกสิ่งที่คิดว่าคุ้มค่าและเหมาะแก่การใช้งานอย่างการเลือกประกันที่ www.tripetchinsurance.com ที่มีประกันให้เลือกมากมายไม่ว่าจะประกันชั้น 1 หรือไหนๆ อย่าลืมมาเช็คเบี้ยประกันรถยนต์เพื่อความคุ้มค่ากันนะครับ ด้วยความห่วงจาก TPIS

สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ TPIS พร้อมติดต่อกลับทันที!

TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ ทั้งประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรง แถมยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันภัยกับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ