เลือกถังดับเพลิงติดรถยนต์แบบไหนดี ถึงจะเหมาะสมและปลอดภัยที่สุด
Key Takeaways
- ถังดับเพลิงติดรถยนต์มีหลายแบบให้เลือกไม่ว่าจะเป็น ถังดับเพลิงชนิดโฟม, ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย, ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง และถังดับเพลิงชนิดเคมีสูตรน้ำ โดยแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติและความสามารถในการดับเพลิงที่แตกต่างกัน
- วิธีเลือกถังดับเพลิงในรถยนต์จะต้องดูที่ ประเภทเพลิงไหม้ที่สามารถดับได้จะต้องครอบคลุม, ขนาดและน้ำหนักของตัวถังจะต้องพอดีและเหมาะสมกับการใช้งาน และงบประมาณที่มี เพื่อให้ได้ถังดับเพลิงที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและเงินในกระเป๋า
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าถังดับเพลิงติดรถยนต์เป็นไอเทมสำคัญที่มีประโยชน์มาก ๆ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ทำให้หลาย ๆ คนยังมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญกับถังดับเพลิงในรถยนต์ วันนี้ TPIS เลยจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับไอเทมสำคัญไอเทมนี้ พร้อมวิธีการเลือกถังดับเพลิงที่ตอบโจทย์ รวมถึงตำแหน่งในการติดตั้งที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด
ถังดับเพลิงติดรถยนต์ สำคัญแค่ไหน?
“ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ”
วันดีคืนดีอยู่ ๆ ก็มีคนขับรถมาชนรถเรา ใครจะรู้ว่าอีกวันก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน อย่างเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติหรือของเหลวภายในรั่ว ซึ่งอาจจะทำให้รถยนต์สุดที่รักของเราเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยหรือไฟไหม้ขึ้นได้ นั่นทำให้ถังดับเพลิงในรถยนต์กลายมาเป็นไอเทมสำคัญที่สามารถช่วยชีวิตคนในรถ แถมยังสามารถช่วยลดเปอร์เซ็นต์ความเสียงหายของตัวรถยนต์ได้เป็นอย่างดี
ประเภทเพลิงไหม้ที่เกิดในรถยนต์ได้ มีอะไรบ้าง?
ก่อนจะไปทำความรู้จักถังดับเพลิงติดรถยนต์แต่ละแบบ คนขับรถทุกคนควรรู้ก่อนว่า เพลิงไหม้ที่สามารถเกิดในรถได้นั้น มีแบบไหนบ้าง เพื่อช่วยให้เราเลือกซื้อถังดับเพลิงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยประเภทของเพลิงไหม้ที่เกิดในรถยนต์ได้ มีดังนี้
1. เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่มีคุณสมบัติติดไฟง่าย ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ พลาสติก หรือผ้า อย่างเอกสารที่อยู่ในรถ ถังขยะ หรือเบาะรถยนต์
2. เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวที่ติดไฟได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง หรือแก๊สรถยนต์
3. เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่รถยนต์ หรือมอเตอร์รถยนต์ไฟฟ้า
เลือกถังดับเพลิงติดรถยนต์แบบไหนดี?
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าถังดับเพลิงติดรถยนต์นั้นมีหลายแบบหลายประเภทให้เลือก ซึ่งจะแตกต่างกันที่สารเคมีที่อยู่ภายในถัง ซึ่งสารเคมีแต่ละแบบก็จะมีความสามารถในการดับไฟที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ถังดับเพลิงชนิดโฟม
เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำผสมกับโฟมเข้มข้น โดยน้ำยาโฟมด้านในจะทำหน้าที่ในการปกคลุมเพลิงไฟไม่ให้กลับมาปะทุอีกครั้ง แต่เป็นถังดับเพลิงที่ไม่ควรใช้กับเหตุการณ์ไฟไหม้รถยนต์ที่เกิดจากระบบไฟฟ้า อย่างแบตเตอรี่รถยนต์
- เหมาะกับเพลิงไหม้: ประเภท A และ B
- จุดเด่น: น้ำหนักค่อนข้างเบา เคลื่อนย้ายง่าย และพกพาสะดวก
- จุดด้อย: ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้
2. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย
เป็นถังดับเพลิงที่ภายในจะเต็มไปด้วยสารฮาโลตรอน หรือสารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่เป็นมิตรต่อวิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ ไร้สีจึงไม่ทิ้งคราบหลังการใช้งาน ทำความสะอาดง่าย ไม่นำไฟฟ้า และไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย
- เหมาะกับเพลิงไหม้: ประเภท A, B และ C
- จุดเด่น: มีความสามารถในการดับไฟได้ทุกประเภท ไม่เกิดความเลอะเทอะหลังใช้งาน และถ้าใช้งานไม่หมดสามารถนำมาใช้ต่อได้
- จุดด้อย: ราคาค่อนข้างสูง
3. ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง
เป็นถังดับเพลิงที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยข้างในจะบรรจุผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจนไว้ ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยระงับปฏิกิริยาทางเคมีของเพลิงไหม้ต่าง ๆ ได้ เป็นประเภทถังดับเพลิงที่มีให้เลือกหลายขนาด โดยขนาดที่เหมาะกับถังดับเพลิงในรถยนต์ คือ 2 ปอนด์ เนื่องจากมีขนาดเล็กและเคลื่อนย้ายสะดวกนั่นเอง
- เหมาะกับเพลิงไหม้: ประเภท A, B และ C
- จุดเด่น: สามารถดับไฟได้รวดเร็วกว่าแบบโฟม และราคาก็ไม่สูงมากอีกด้วย
- จุดด้อย: เมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจายและทำให้เลอะเทอะได้ง่าย และหากใช้ไม่หมดจะไม่สามารถใช้งานต่อได้ เนื่องจากแรงดันภายในจะตก และต้องส่งไปบรรจุใหม่
4. ถังดับเพลิงชนิดเคมีสูตรน้ำ
เป็นถังดับเพลิงที่เต็มไปด้วยน้ำยาและน้ำที่มีความบริสุทธ์สูง ถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในวงการดับเพลิง เพราะสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ได้ทุกประเภท แถมยังปลอดสารพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเก็บไว้ได้นาน
- เหมาะกับเพลิงไหม้: ประเภท A, B, C และ K
- จุดเด่น: ดับไฟได้ทุกประเภทและดับได้อย่างรวดเร็ว แถมยังช่วยป้องกันไม่ให้เพลิงกลับมาลุกอีกครั้ง และหากใช้งานไม่หมดก็สามารถนำกลับมาใช้ต่อได้
- จุดด้อย: ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ
แต่ไม่ว่าถังดับเพลิงในรถยนต์พวกนี้จะสามารถช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้ารถยนต์เกิดเสียหายจากเหตุไฟไหม้ไปแล้ว เราจะต้องออกค่าซ่อมเองทั้งหมด หากไม่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้
ประกันรถยนต์ชั้น 1 จะไฟไหม้หรือน้ำท่วมก็สบายใจ
ไม่ว่าจะอุบัติเหตุทางรถยนต์แบบทั่วไป หรือเหตุการณ์อื่น ๆ อย่างรถหาย น้ำท่วม และไฟไหม้ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ก็พร้อมคุ้มครองทุกอย่าง
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ทั้งคนขับ ผู้โดยสาร และบุคคลที่ 3
- คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ ทั้งกรณีรถชน น้ำท่วม และไฟไหม้
- คุ้มครองการประกันตัวคนขับ ในกรณีที่ถูกประเมินว่าเป็นฝ่ายผิด
วิธีเลือกถังดับเพลิงในรถยนต์ ต้องดูที่อะไร?
1. ประเภทเพลิงไหม้ที่ดับได้
เนื่องจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้ในรถยนต์นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา (A), เพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ (B) และเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน (C) ทำให้เวลาเราจะเลือกถังดับเพลิงมาติดตั้งในรถยนต์ ก็ควรเลือกประเภทที่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ทั้งหมดนี้ได้ เพื่อความง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
2. ขนาดและน้ำหนักของตัวถัง
แน่นอนว่าบนรถยนต์ไม่ได้มีพื้นที่มากพอสำหรับถังดับเพลิงขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องเลือกซื้อขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้ติดตั้งได้อย่างสะดวก และจะต้องมีน้ำหนักเบาเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายเวลาเกิดเหตุ โดยถังดับเพลิงที่เหมาะกับการติดตั้งในรถยนต์ คือ ถังดับเพลิงขนาดเล็กหรือถังดับเพลิงแบบพกพา ซึ่งจะต้องมีขนาดราว ๆ 2-5 ปอนด์
3. งบประมาณ
เวลาจะซื้ออะไรก็ตาม คนเราก็มักจะมีงบประมาณในการซื้อสิ่งของนั้น ๆ แตกต่างกันไป ซึ่งราคาของถังดับเพลิงส่วนมากจะขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีที่บรรจุอยู่ภายใน รวมถึงความสามารถและคุณสมบัติในการดับไฟของถังชนิดนั้น ๆ โดยให้เลือกแบบที่ใกล้เคียงกับงบประมาณ และต้องสามารถใช้ได้กับเพลิงประเภท A, B และ C จึงจะดีที่สุด
ติดถังดับเพลิงในรถยนต์ตรงไหนได้บ้าง?
1. ภายในห้องโดยสาร
เป็นตำแหน่งที่เหมาะกับการติดตั้งถังดับเพลิงมากที่สุด เนื่องจากสามารถหยิบออกมาใช้งานได้สะดวกที่สุด ซึ่งควรเลือกใช้เป็นถังดับเพลิงขนาดเล็กประมาณ 2 ปอนด์ และควรติดตั้งไว้บริเวณเบาะหน้าในจุดที่คนขับสามารถหยิบใช้ได้ รวมถึงเบาะหลังเผื่อในกรณีที่มีคนนั่งมาด้วย
2. ภายในฝากระโปรงหลัง
หากใครที่มีพื้นที่เหลือบริเวณฝากระโปรงหลัง ก็สามารถติดตั้งถังดับเพลิงได้เช่นกัน โดยสามารถเลือกถังขนาด 15 ปอนด์ เพื่อรองรับกับเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ได้ดีขึ้น แต่หากพื้นที่ไม่ได้เหลือเยอะ ก็สามารถเลือกเป็นถังดับเพลิงขนาดเล็กได้เช่นกัน
ซึ่งหลักการสำคัญ ๆ ในการติดตั้งถังดับเพลิงบนรถยนต์ มีดังนี้
- จะต้องติดตั้งในจุดที่สามารถหยิบใช้งานได้สะดวก
- จะต้องติดตั้งถังดับเพลิงให้ยึดกับตัวรถยนต์ได้อย่างแน่นหนาและมั่นคง
- จะต้องติดตั้งในจุดที่แสงแดดส่องไม่ถึงเพื่อความปลอดภัย
และถ้าใครติดตั้งถังดับเพลิงในรถยนต์ไว้แล้วเรียบร้อย แต่ยังรู้สึกไม่ค่อยสบายใจเท่าไร ก็สามารถซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองความเสียหายจากเหตุไฟไหม้ จะได้ไม่ต้องช็อกกับค่าซ่อมหากเกิดเหตุขึ้นมาจริง ๆ
“ สมัครประกันชั้น 1 ขับขี่สบายใจทุกเส้นทาง ”
ทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกถังดับเพลิงติดรถยนต์แบบไหนที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด พร้อมด้วยวิธีและตำแหน่งในการติดตั้งถังดับเพลิงในรถยนต์ แต่นอกจากถังดับเพลิงจะสำคัญแล้ว ประกันภัยรถยนต์ก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าไม่อยากหมดเงินไปกับค่าซ่อมรถ ก็ต้องไม่ลืมซื้อประกันภัยรถยนต์ดี ๆ เอาไว้ด้วย ส่วนใครที่อยากสอบถามรายละเอียดเบี้ยประกันรวมถึงความคุ้มครองต่าง ๆ ก็สามารถให้ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิสเป็นผู้ดูแลในการเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ที่ตรงใจและตอบโจทย์มากที่สุด เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้
แจ้งข้อมูลเพื่อให้บริษัทติดต่อกลับ
TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส ที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ แถมยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันภัยรถยนต์กับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ