พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี รถยนต์ไม่เหมือนกัน

พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี รถยนต์ไม่เหมือนกัน

เชื่อว่ามีหลาย ๆ คนสับสนระหว่างภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. ซึ่งทั้งสองย่างนี้อยู่ภายใต้กฎหมายที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องจ่ายในทุก ๆ ปี วันนี้ TPIS จะมาคลายความสับสนให้นะครับ ว่าภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ.มีความแต่กต่างกันอย่างไร

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร ?

พ.ร.บ. รถยนต์  คือ “ประกันภัยภาคบังคับ” ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ หากไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

โดย พ.ร.บ. นั้นให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่น ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ คุ้มครอง “คน” ไม่คุ้มครอง “รถ” จ้า

พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี รถยนต์ไม่เหมือนกัน-2

ป้ายภาษี รถยนต์ คืออะไร ?

ภาษีรถยนต์ หรือที่หลายคนเรียกว่า “ป้ายวงกลม” เป็นสิ่งที่ต้องต่อกันทุกปีตามกฎหมายกำหนด หากไม่ต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี รถยนต์ของคุณจะถูกระงับทะเบียน และต้องนำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ พร้อมคืนป้ายภาษีเก่า และคุณจะถูกเก็บค่าภาษีย้อนหลังด้วยนะ แต่ถ้าใครกลัวลืมก็อย่ากังวลไป เพราะคุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือนได้นะ

อย่าลืมเด็ดขาด !! ว่าต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เสร็จก่อนต่อภาษี ซึ่งคุณจะได้ป้ายภาษีสีเหลี่ยมมาติดหน้ากระจกรถ และหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าคุณไม่มีป้ายภาษีจะมีโทษปรับ 400-1,000 บาท ส่วนค่าภาษีที่จ่ายไปทางหน่วยรัฐจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงท้องถนนให้ทุกคนได้นั้นเอง

ต่อภาษีรถยนต์ เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?

  1. เล่มทะเบียนรถยนต์ของคุณ หรือ จะเป็นสำเนาการจดทะเบียนรถยนต์ก็ได้ครับ
  2. เอกสาร พ.ร.บ รถยนต์ของคุณ
  3. ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี
  4. ใบติดตั้งแก๊สสำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊สครับ

ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหน ?

เมื่อมีเอกสารทั้งหมดเตรียมไว้ครบถ้วนแล้ว ขั้นต่อไปกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีสามารถชำระภาษีได้ทั่วประเทศไทย มีให้เลือกตามความสะดวก ทั้งช่องทางออฟไลน์ ได้แก่

  • กรมขนส่งทางบกทั่วประเทศ ไม่ว่ารถยนต์ของเราจดทะเบียนจังหวัดไหน ก็สามารถจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีได้ทั้งหมดครับ เวลาทำการ 07.30 – 16.30 น.
  • สามารถต่อภาษีรถยนต์ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วไทย ให้บริการตามเวลาทำการ
  • ธนาคาร ธ.ก.ส. รับชำระรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีรถยนต์ประจำปี
  • บิ๊กซี ทั้งหมด 14 สาขา ดังนี้ ลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่, บางนา เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.
  • เซ็นทรัล สาขารามอินทรา เปิดเวลา 10.00 – 17.00 น.
  • พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.
  • เซ็นทรัลเวิลด์ เปิดเวลา 11.00 – 18.00 น.
  • นอกจากนี้ คุณยังสามารถชำระภาษีรถยนต์ประจำปีในร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ เช่น เซเวนอีเลฟเว่น
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.00 น.

หากไม่สะดวกสถานที่ดังกล่าวก็สามารถชำระภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งช่องทางออนไลน์นั้น จะรับชำระภาษีรถยนต์ที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  • ลงทะเบียนขอรับรหัสผ่าน เข้าเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก (e-Service) ตามลิงก์นี้ eservice.dlt.go.th กรอกข้อมูลชื่อ-นามสกุล, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด, กรอกที่อยู่ให้จัดส่งเอกสาร และเบอร์โทรศัพท์
  • ลงทะเบียนเสร็จ กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ พร้อมกับกรอกรายละเอียด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
  • เลือกวิธีชำระเงินที่ใช่และสะดวกใจที่จะจ่าย สามารถจ่ายหักบัญชีเงินฝาก โอนเงิน หรือจ่ายบัตรเครดิต บัตรเดบิตที่มีสัญลักษณ์ VISA และ MASTER

ต่อภาษีรถยนต์มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ในส่วนของค่าใช้จ่ายการต่อภาษีรถยนต์ จะพิจารณาจัดเก็บภาษีรถตามความจุรถ (หน่วย: ซีซี) เป็นหลัก เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ท่าน มีอัตราค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • 600 ซีซีแรก 0.50 บาท ต่อ ซีซี
  • 601 – 1,800 ซีซี ละ 1 บาท 50 สตางค์
  • มากกว่า 1,800 ซีซี ละ 4 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ 1,500 ซีซี อายุ 1 ปี

  • 600 ซีซี แรก = 300 บาท ( ขนาดซีซี 600 x อัตราภาษี 0.50 บาท)
  • ส่วนสอง 601 ซีซี ถึง 1,500 ซีซี = 1,350 บาท (ขนาดซีซี 900 x อัตราภาษี 1.50 บาท)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 1,500 ซีซี อายุ 1 ปี รวมทั้งสิ้น 1,650 บาท (300 + 1,350)

โดยหากเป็นรถที่เราใช้มาเกิน 5 ปีแล้ว ในปีถัดไปเราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีรถยนต์ได้ตามนี้

  • อายุรถปีที่ 6 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 10
  • อายุรถปีที่ 7 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 20
  • อายุรถปีที่ 8 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 30
  • อายุรถปีที่ 9 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 40
  • อายุรถปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ลดหย่อนได้ ร้อยละ 50

ตัวอย่างการคำนวณกรณีได้ลดหย่อนภาษีรถยนต์ 1,500 ซีซี มีอายุการใช้งาน 8 ปี

  • 600 ซีซี แรก = 300 บาท ( ขนาดซีซี 600 x อัตราภาษี 0.50 บาท)
  • ส่วนสอง 601 ซีซี ถึง 1,500 ซีซี = 1,350 บาท (ขนาดซีซี 900 x อัตราภาษี 1.50 บาท)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 1,500 ซีซี อายุ 1 ปี รวมทั้งสิ้น 1,650 บาท (300 + 1,350)
  • ส่วนลดร้อยละ 30 สำหรับภาษีรถยนต์ปีที่ 8 = 495 บาท (ลด 30% ของค่าภาษีรถ 1,650 บาท)
  • สรุป หลังได้รับหักค่าลดหย่อนภาษีรถยนต์อายุ 8 ปี คือ 1,155 บาท (1,650 – 495)

พูดง่าย ๆ ยิ่ง รถยนต์ซีซีสูงเท่าไหร่ อัตราการเก็บภาษีก็จะสูง ขึ้นตามไปด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก:

สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ TPIS พร้อมติดต่อกลับทันที!

TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส ที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์

เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ แถมยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันภัยรถยนต์กับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม