ซื้อขายรถมือสองเงินสด ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ปัจจุบันการซื้อรถมือสองได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เราสามารถซื้อรถมือสองได้ทั้งแบบเงินสด และ แบบผ่อนชำระกับสินเชื่อ ในบทความนี้เราจะพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดการซื้อรถมือสองแบบเงินสด ขั้นตอนการซื้อรถมือสองเงินสดทำอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มาติดตามกันเลย
เอกสารที่ต้องเตรียมในการซื้อขายรถมือสองเงินสด
1.ทะเบียนรถยนต์
เอกสารสำคัญคือสมุดเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือใบคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริง ซึ่งเป็นเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของรถต้องมีติดไว้ เพื่อใช้ตรวจสอบข้อมูลภายในเล่มให้ถูกต้องและตรงกับรายละเอียดต่างๆ ของรถ นับตั้งแต่ เลขตัวถังของรถ , เลขเครื่องยนต์ , สีของรถยนต์ ตลอดจนประวัติการเสียภาษี ประวัติการโอน ประวัติการเปลี่ยนเครื่องยนต์ เรียกว่ามีข้อมูลแบบเจาะลึกระบุไว้หมด สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์ใช้แทนป้ายทะเบียนรถที่อาจชำรุดเสียหาย หรือหลุดหล่นไปช่วงขับรถลุยเขตน้ำท่วม เป็นต้น สำหรับเล่มทะเบียนรถยนต์ก็จะเป็นสีน้ำเงิน เมื่อซื้อรถมือสองผ่อนครบตามกำหนดก็ได้รับเล่มทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของเก่ามาเป็นของเราภายใน 4-15 วัน
2.หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์
หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์เป็นเอกสารสัญญาทางกฎหมายที่สำคัญ ระบุรายละเอียดที่เกิดขึ้นถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการชำระด้วยเงินสด ผ่อนชำระ หรือขายดาวน์ก็จะระบุไว้ชัดเจนด้วย เพื่อแสดงว่าเป็นรถที่เจ้าของได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายจริงๆ ป้องกันปัญหาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ตามหลักเกณฑ์แล้วถ้าไม่มีหนังสือนี้ก็ทำการซื้อขายหรือโอนเปลี่ยนเจ้าของรถกันไม่ได้ ก่อนเซ็นในแบบฟอร์มเอกสารซื้อขายรถควรกรอกข้อมูลระบุรายละเอียดให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในภายหลัง หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดกฎหมายขึ้นมา ก็จะใช้หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์เป็นเอกสารในการฟ้องร้องได้เช่นกัน
3.ใบโอนรถ หรือแบบคำขอโอนและรับโอน
ใบโอนรถเป็นเอกสารเรื่องการโอนรถไปให้เจ้าของใหม่เพื่อเปลี่ยนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตามกฎหมาย ซึ่งชื่อผู้ซื้อหรือเจ้าของรถคนใหม่จะกลายเป็นผู้รับผิดชอบในภาระค่าใช้จ่ายของรถคันนั้นต่อไป หากยังไม่ได้ทำการโอนชื่อแล้วรถยนต์คันนั้นถูกนำไปใช้ในเรื่องผิดกฎหมาย คนที่ต้องรับผิดชอบคือเจ้าของรถคนเก่านั่นเอง การกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มต้องถูกต้องและตรงตามข้อมูลในทะเบียนรถเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เอกสารโอนรถยนต์กับกรมขนส่ง ประกอบด้วย
สำหรับการโอนรถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ โอนตรง และ โอนลอย ดังนี้
การโอนตรง คือ โอนจากผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของรถคนเดิมให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าของรถคนใหม่ ไปโอนกรรมสิทธิ์รถด้วยตัวเองที่กรมขนส่งทางบกในจังหวัดที่รถคันนั้นได้จดทะเบียนไว้นับจากวันโอน นับว่ามีข้อดีตรงที่ข้อมูลชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อคนซื้อว่าเป็นกรรมสิทธิ์แท้จริงที่ได้รับมอบจากเจ้าของรถจริงๆ
การโอนลอย คือ โอนจากผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของรถคนเดิม โดยเจ้าของรถเซ็นชื่อตัวเองในช่องคำขอโอนแล้วรับโอนเอาไว้ก่อน ยังไม่มีชื่่อผู้รับโอน มักจะเป็นกรณีที่โอนรถให้ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของเต็นท์รถ ที่รอขายรถ เมื่อขายได้แล้วขั้นตอนต่อไปคือดำเนินการเรื่องโอนที่กรมขนส่งทางบกให้เรียบร้อย สำหรับการโอนลอยมีข้อดีคือทั้งสะดวกและประหยัดเวลากันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เรียกว่าเต็นท์รถมือสองส่วนใหญ่นิยมทำกันมาก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกรมขนส่งทางบกหลายรอบ
แต่ก็มีข้อเสียเพราะการโอนลอยไม่มีหลักฐานชัดเจน หากเจ้าของไม่ได้ทำเรื่องเอง อาจให้บุคคลอื่นไปทำเรื่องโอนแทนกันได้ กรณีที่มีคนเอารถไปโอนลอยตกเป็นทอดๆ หลายมือ แล้วใครสักคนนำรถไปทำเรื่องผิดกฎหมาย เช่น ขนย้ายยาเสพติด โทษก็จะย้อนกลับมาตกอยู่กับชื่อเจ้าของเดิมที่มีความเสี่ยงต้องรับผิดชอบปัญหาที่ขึ้นเกิดเสียเอง ในเคสของการโอนลอยนั้นส่วนใหญ่เจ้าของรถนำรถไปทำประกันไม่ได้ เพราะไม่มีชื่อเจ้าของในทะเบียน นั่นเอง
เราสามารถขอเอกสารใบโอนได้จากกรมการขนส่งทางบก หรือจะดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
4.หนังสือมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจใช้สำหรับมอบอำนาจในการโอนกรรมสิทธิ์ของรถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกในกรณีผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่สะดวกไปทำธุรกรรมด้วยตนเอง เช็คให้ชัวร์ว่าผู้ขายลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจมาด้วย
5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขาย
เจ้าของรถคนเดิมเป็นผู้ขายต้องเตรียมบัตรประชาชน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องและทะเบียนเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล บ้านพร้อมสำเนา เตรียมเอาไว้อย่างน้อย 2 ชุด เผื่อว่าต้องการมอบอำนาจในการโอนกรรมสิทธิ์ หากผู้เกี่ยวข้องได้เคยเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลเกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่จะซื้อขาย ก็ควรเตรียมเอกสารไว้ให้พร้อมด้วย สำหรับสถานที่ในการโอนรถยนต์ในกรุงเทพ คือสำนักขนส่งแต่ละพื้นที่ นั่นคือ บางขุนเทียน, ตลิ่งชัน, สุขุมวิท, หนองจอก และจตุจักร หรือต่างจังหวัดยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
เมื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มโอนรถต่าง ๆ และกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเตรียมเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นให้พร้อมก่อนนำไปยื่นเรื่องที่ฝ่ายงานทะเบียน กรมขนส่งทางบก หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดแล้ว จะต้องนำรถไปที่กรมขนส่งทางบกเพื่อทำการตรวจสภาพรถและเช็กเลขตัวถังว่าตรงกับใบคู่มือจดทะเบียนรถ การเปลี่ยนสิทธิในการเป็นเจ้าของรถก็จะเสร็จสมบูรณ์
ข้อควรระวังในการซื้อ-ขายรถมือสอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รถยนต์มือสองได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถจากบุคคลทั่วไปหรือเต็นท์รถมือสองต้องตรวจเช็คให้ถี่ถ้วน สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถมือสองมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลย
ราคารถมือสองถูกกว่ามือหนึ่งเป็นอย่างมากซึ่งถือเป็นข้อดี แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงว่ารถมือสองเป็นรถที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว หากต้องการซื้อมาใช้ จะต้องตรวจเช็คให้ดีเพื่อจะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ