ประกันสุขภาพสำหรับคนทำงาน
หากถามว่าการทำประกันสุขภาพมีความจำเป็นหรือไม่ สำหรับวัยทำงานที่มีสวัสดิการอยู่แล้ว อาจคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ เพราะรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าที่จะจ่ายเบี้ยรายปี ซึ่งคำตอบว่าจำเป็นหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่เราอยากให้คุณพิจารณาประเด็นที่ว่าสวัสดิการที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ เพราะคำตอบนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าควรทำประกันสุขภาพหรือเปล่า
ทำไมคนทำงานควรมีประกันสุขภาพ
เหตุผลแรกคือสวัสดิการซึ่งที่ทำงานจัดให้อย่างประกันกลุ่ม มักจะเน้นเฉพาะการรักษาที่จำเป็น แต่ถ้าต้องการคุณภาพในการรักษามากขึ้น ก็ต้องสำรองจ่ายเอง เช่น สำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือ OPD บางบริษัทมีประกันกลุ่มที่ครอบคลุมส่วนนี้ แต่ก็กำหนดค่ารักษาเป็นรายครั้ง เช่น ครั้งละ 1000 บาท ซึ่งแทบไม่พอกับการรักษาในหลาย ๆ โรค แต่ถ้ามีประกันสุขภาพ ปัญหาวงเงินไม่เพียงพอนี้จะหมดไป เพราะคุณสามารถเลือกวงเงินและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เหมาะกับคุณได้เอง
อีกเหตุผลที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน อนาคตการทำงานของหลายคนถือว่าไม่แน่นอนเลย ใครที่ผ่านประสบการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คงจำได้ว่าหลายบริษัทต้องปรับโครงสร้างด้วยการลดจำนวนพนักงาน ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าเหตุการณ์แบบนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก .. และหากเกิดขึ้นอีก สวัสดิการที่เคยได้รับจากบริษัทนั้นก็จะหมดไป แต่ความเจ็บป่วยยังคงเกิดขึ้นกับเราได้ทุกที่ทุกเวลา
นอกจากนี้ สำหรับวัยทำงาน ยังเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยมากกว่าช่วงวัยอื่น ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากการเดินทาง โรคจากการทำงาน หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันอื่น ๆ ซึ่งถ้ามีประกันสุขภาพเอาไว้ หากเกิดอะไรขึ้น ประกันก็พร้อมดูแลคุณ
ความคุ้มครองที่เหมาะกับพนักงานออฟฟิศและงานที่มีความเสี่ยงสูง
ในการทำประกันสุขภาพ บริษัทประกันจะแบ่งกลุ่มอาชีพออกเป็น 4 ขั้น ตามระดับความเสี่ยง สำหรับพนักงานบริษัททั่วไปที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศเป็นหลัก รวมถึงงานที่ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เป็นอันตราย อาชีพกลุ่มนี้ถือว่าเป็นอาชีพขั้นที่ 1 คือ มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งแทบไม่มีปัญหากับการทำประกัน จะมองหาความคุ้มครองแบบไหน ก็เลือกได้ตามสบาย
หากงานของคุณต้องเกี่ยวข้องกับความชำนาญเฉพาะด้าน การทำงานมีออกไปนอกสถานที่บ้าง (เช่น วิศวกร , ช่างไม้ ฯลฯ) จะถือว่ามีความเสี่ยงมากขึ้น จัดว่าเป็นอาชีพขั้น 2 แต่ถ้างานของคุณเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรโดยตรง เช่น งานฝ่ายผลิต จะอยู่ในกลุ่มอาชีพขั้นที่ 3 และงานที่มีความเสี่ยงสูงมาก (เช่น ตำรวจ , คนที่ต้องทำงานบนที่สูง) จะจัดอยู่ในกลุ่มอาชีพขั้นที่ 4 ซึ่งบางบริษัทอาจไม่อนุมัติให้ทำประกัน
ต่อไปนี้คือความคุ้มครองที่แต่ละกลุ่มอาชีพควรพิจารณา
เคล็ดลับในการเลือกแผนประกันที่ตอบโจทย์การทำงานหนัก
อันดับแรก ให้ตั้งต้นจากสวัสดิการพื้นฐานซึ่งที่ทำงานจัดให้ พิจารณาว่าเรายังขาดอะไรอยู่ เช่น หากประกันกลุ่มของบริษัทคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน หรือ IPD แต่ให้ค่าห้องน้อยมาก ก็อาจมองหาประกันสุขภาพที่ให้วงเงินค่ารักษาต่อครั้งค่อนข้างสูง หรืออาจมองหาประกัน OPD ในกรณีที่บริษัทไม่มีสวัสดิการส่วนนี้ให้ และอย่าลืมเปรียบเทียบแผนประกันจากหลาย ๆ ที่ก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ได้ตัวเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด
เคล็ดลับต่อมา ให้ใช้ประโยชน์จากผลตรวจสุขภาพประจำปีที่แต่ละบริษัทจัดให้พนักงานเข้ารับการตรวจ การทำงานหนักอาจทำให้เราเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น ถ้าดูผลตรวจแล้วมีความเสี่ยงต่อโรคอะไร ก็อาจเริ่มมองหาประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองกลุ่มโรคนั้น รวมถึงเมื่ออายุมากขึ้น ก็ควรเริ่มมองหาประกันโรคร้ายแรงเช่นกัน
สุดท้าย สำหรับคนที่แม้ว่าจะทำงานหนัก แต่ก็ยังอยากได้ประกันที่ดีในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ให้มองหาประกันที่มีความรับผิดชอบส่วนแรก (deductable) คือการใช้สวัสดิการพื้นฐานหรือจ่ายเองในเบื้องต้น และใช้ประกันเพื่อจ่ายส่วนที่เกินมา วิธีแบบนี้จะช่วยให้คุณได้แผนประกันซึ่งครอบคลุมในส่วนที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
การเจ็บป่วย เกิดขึ้นกับเราได้ทุกเวลา แม้ว่าเราจะไม่มีทางรู้ว่าจะป่วยเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เราทำได้คือการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้อีกสิ่งที่ทำได้คือการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพโดยการเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะกับตัวเองเพื่อให้อุ่นใจในทุกครั้งที่เจ็บป่วย
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ