ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและแบบจำกัดวงเงิน ต่างกันอย่างไร
ในการวางแผนอนาคต นอกจากความมั่นคงทางการเงินที่ถือเป็นเรื่องสำคัญแล้ว ความมั่นคงด้านสุขภาพก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน นอกจากสวัสดิการพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว อีกหนึ่งวิธีที่หลายคนเลือกใช้เพื่อเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพก็คือการทำประกันสุขภาพ ก่อนตัดสินใจทำประกันประเภทนี้มีหลายเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ หนึ่งในนั้นคือการเลือกระหว่าง ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย และ ประกันสุขภาพแบบจำกัดวงเงิน
ข้อดีและข้อเสียของแผนประกันแบบเหมาจ่ายและจำกัดวงเงิน
ก่อนจะพูดถึงข้อดีและข้อเสียของประกันสุขภาพทั้งสองประเภท จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายกับแบบจำกัดวงเงินต่างกันอย่างไร ซึ่งถ้าอธิบายแบบเข้าใจง่ายที่สุด ประกันแบบจำกัดวงเงินคือประกันสุขภาพที่กำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาแต่ละประเภทเอาไว้อย่างชัดเจน เช่น กำหนดว่าค่ารักษาแบบผู้ป่วยนอกหรือ OPD สูงสุดครั้งละ 2000 บาท และในบางแผนประกันอาจกำหนดด้วยว่ารักษาได้ปีละกี่ครั้ง
ในทางกลับกัน ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจะกำหนดมาเลยว่าคุณมีวงเงินค่ารักษาพยาบาลสูงสุดต่อปีจำนวนเท่าไหร่ โดยสามารถใช้จ่ายในการรักษาได้ตามวงเงินนั้น และไม่มีการจำกัดค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งยกเว้นค่าห้อง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นประกันแบบไหนก็จะกำหนดค่าห้องที่แตกต่างกันในแต่ละแผน ยิ่งวงเงินค่าห้องสูงขึ้น ค่าเบี้ยก็สูงขึ้นตามไปด้วย .. ต่อไปนี้คือจุดเด่น รวมถึงข้อจำกัดของประกันทั้ง 2 แบบ
การเลือกแผนประกันที่เหมาะกับความต้องการและงบประมาณ
การเลือกแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีอยู่ หรือการเลือกประกันเพิ่มเติมจากสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือความต้องการในการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับงบประมาณ สำหรับการเลือกแผนประกันแบบเหมาจ่ายหรือแบบจำกัดวงเงิน ควรพิจารณาจากเรื่องต่อไปนี้
ตัวอย่างสถานการณ์ที่ควรเลือกแบบเหมาจ่ายและแบบจำกัดวงเงิน
สถานการณ์ที่ 1 : มีสวัสดิการจากที่ทำงานอยู่แล้ว โดยกำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลต่อปีไว้ให้ แต่รู้สึกว่ายังไม่เพียงพอ และต้องการมองหาประกันเสริม ถ้าเป็นแบบนี้ ประกันสุขภาพแบบจำกัดวงเงินถือว่าตอบโจทย์ความต้องการได้ เพราะค่าเบี้ยไม่แพงมาก หากเลือกแผนประกันโดยตั้งต้นจากสวัสดิการซึ่งที่ทำงานมีให้ ก็จะช่วยให้ไม่ต้องกังวลกับค่าส่วนต่างสำหรับการรักษาแต่ละครั้ง เช่น ซื้อประกันสุขภาพที่มีค่าห้องเพิ่มเติม , ค่าชดเชยรายวัน ซึ่งหากเจ็บป่วยและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนต่างค่าห้องที่จะต้องจ่ายหลังจากสวัสดิการหลักก็สามารถนำมาหักกับประกันสุขภาพที่ซื้อเพิ่มได้ แบบนี้คุณจะไม่เสียค่าห้องเพิ่มเลยเมื่อวงเงินจากความคุ้มครองทั้ง 2 ตัวนั้นครอบคลุม และยังได้รับค่าชดเชยรายวันที่ต้องเข้ารับการรักษา ไม่ได้ไปทำงาน ป่วยก็มีเงินใช้จ่ายได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องรายรับ เป็นต้น
สถานการณ์ที่ 2 : พ่อแม่เป็นโรคร้าย และตัวคุณเองมีแนวโน้มอาจจะได้รับโรคร้ายเป็นมรดก การรักษาโรคนั้นสูงมากจึงอยากได้รับการรักษาอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลว่าค่ารักษาจะเกินวงเงิน และต้องการความสบายใจ แบบชนิดที่ว่าเมื่อเจ็บป่วยก็เข้ารับการรักษาได้ทันทีโดยไม่ต้องวางแผนค่าใช้จ่ายให้ยุ่งยาก ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ควรเลือกประกันแบบเหมาจ่าย และคุณยังสามารถเลือกซื้อประกันเสริมเป็นประกันโรคร้ายที่เจอ จ่าย จบ ได้ด้วย
สถานการณ์ที่ 3 : เป็นคนที่มีสุขภาพดี ไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่ก็อยากมีประกันช่วยให้อุ่นใจเมื่อต้องเข้ารับการรักษา และกำลังมองหาแผนประกันที่ค่าเบี้ยไม่สูงมาก ในกรณีแบบนี้ อาจมองหาประกันแบบจำกัดวงเงิน ส่วนจะเลือกวงเงินค่ารักษาต่อครั้งเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีงบประมาณสำหรับจ่ายค่าเบี้ยได้เท่าไหร่
ทุกวันนี้การทำประกันสุขภาพไม่ใช่เรื่องยาก บริษัทประกันส่วนใหญ่ให้คุณซื้อประกันได้ผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อมองความจริงที่ว่าการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับเราได้ง่ายขึ้น และการรักษาที่ดีก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การตัดสินใจทำประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่วันนี้จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับการใช้ชีวิตของคุณได้
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ