รายได้ไม่แน่นอน ควรทำประกันชีวิตแบบไหนเพื่อคนในครอบครัว

ในยุคที่ทั่วโลกต้องเจอกับสภาพเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง การมีรายได้ที่ไม่แน่นอนกลายเป็นปัญหาที่หลายครอบครัวต้องเผชิญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ทำอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ รวมถึงเจ้าของธุรกิจในระยะเริ่มต้นที่รายได้ยังไม่คงที่ การบริหารการเงินในสถานการณ์เช่นนี้จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความสุขของทั้งตัวเองและคนในครอบครัว โดยไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเท่านั้นแต่ยังต้องมีการเตรียมตัวเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในอนาคตอีกด้วย มีหลายวิธีที่ช่วยวางแผนทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องได้แม้ว่าคุณจะมีรายได้ไม่แน่นอน หนึ่งในวิธีที่มีความเสี่ยงต่ำคือการทำประกันชีวิต แม้ว่าค่าเบี้ยจะเป็นรายจ่ายประจำ แต่การเลือกประกันสำหรับคนที่มีรายได้ไม่แน่นอนก็เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก
ทำรายรับ-รายจ่ายในครอบครัว
การจะทำประกันชีวิตในทุกรูปแบบ ไม่ว่าคุณจะมีรายได้แน่นอนหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดคือค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไหว เพราะค่าเบี้ยประกันถือเป็นรายจ่ายผูกพันระยะยาว (ยกเว้นคุณจะเลือกทำประกันชีวิตแบบชำระเบี้ยเป็นเงินก้อนในครั้งเดียว) สำหรับครอบครัวที่มีรายได้ไม่แน่นอน การคำนวณหาค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไหวยิ่งมีความสำคัญเพื่อป้องกันการจ่ายเบี้ยไม่ไหว ซึ่งจะทำให้เสียสิทธิ์ในการได้รับความคุ้มครอง วิธีการคำนวณที่ดีซึ่งทุกคนนำไปใช้ได้คือการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครอบครัว มีขั้นตอนคือ

วิธีเลือกวงเงินคุ้มครองที่จ่ายไหวและไม่เป็นภาระรายเดือน
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าสำหรับคนที่มีรายได้ไม่แน่นอน เมื่อตัดสินใจทำประกันชีวิต สิ่งสำคัญก็อยู่ที่ว่าจะทำยังไงให้จ่ายค่าเบี้ยไหวตลอดอายุสัญญาเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ ซึ่งวิธีที่ทำได้คือการเลือกวงเงินคุ้มครองที่เหมาะสม โดยใช้ 3 เทคนิคต่อไปนี้
1.คำนึงถึงความคุ้มครองสำหรับผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ในครอบครัวที่มีรายได้ไม่แน่นอน หากต้องเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสม เสาหลักของครอบครัว (เช่น พ่อแม่หรือผู้ที่เป็นผู้มีรายได้หลักดูแลคนในครอบครัว) ควรได้รับความคุ้มครองในวงเงินที่เพียงพอเพื่อทดแทนรายได้ที่หายไปในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือการเสียชีวิต ด้วยการทำแบบนี้ หากเกิดอะไรขึ้น สมาชิกคนอื่นในครอบครัวจะยังมีเงินก้อนเพื่อให้ใช้ชีวิตต่อไปได้ นอกจากนี้ในกรณีที่เสาหลักของครอบครัวต้องทำงานที่มีความเสี่ยง อาจเลือกประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยเอาไว้จัดการค่ารักษาหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น
2. เลือกจากความสามารถในการจ่ายเบี้ย ควรเลือกวงเงินคุ้มครองที่เหมาะสมกับรายได้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น หากรายได้ไม่แน่นอน ควรเลือกแผนประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันที่ไม่สูงจนเกินไป เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการเงินในระยะยาว เทคนิคที่เป็นไปได้คือการทำประกันอย่างพอดี ให้การจ่ายเบี้ยประกันอยู่ในจุดที่ไม่ทำให้ตัวเองและครอบครัวเดือดร้อน ซึ่งก็ต้องย้อนกลับไปสู่การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้รู้ว่าจ่ายเบี้ยได้ประมาณเท่าไหร่
3. เลือกแผนประกันชีวิตที่มีระยะเวลาในการชำระเบี้ยที่ยืดหยุ่น ในกรณีที่มีรายได้ไม่แน่นอน ควรเลือกแผนประกันชีวิตที่มีระยะเวลาในการชำระเบี้ยประกันที่ยืดหยุ่น เช่น การเลือกแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนเบี้ยประกันได้ตามสถานการณ์ หรือแผนประกันชีวิตที่สามารถเลือกชำระเบี้ยได้ตามงบประมาณในแต่ละเดือน
วิธีเลือกประกันชีวิตแบบ คนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ

สำหรับคนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ การเลือกประเภทของประกันชีวิตที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากการมีรายได้ไม่แน่นอนอาจทำให้การชำระเบี้ยประกันเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ดังนั้นควรเลือกประกันชีวิตที่ตอบโจทย์ความต้องการและสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ตลอดอายุสัญญา และควรเลือกการชำระเบี้ยประกันแบบรายปี เพราะจะทำให้รวบรวมเงินได้ง่ายที่สุด
สำหรับคำถามว่าควรเลือกประกันแบบไหนดี คำตอบขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการความคุ้มครองแบบไหน หากต้องการประกันชีวิตที่เบี้ยไม่สูงมากและความคุ้มครองในระยะสั้น ประกันแบบชั่วระยะเวลาหนึ่ง (Term Life Insurance) ก็คือตัวเลือกที่เหมาะกับคุณ แต่หากจ่ายค่าเบี้ยประกันได้ในระยะยาว และต้องการประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตในอนาคต ก็ต้องเลือกประกันสะสมทรัพย์ และสุดท้ายคือประกันควบการลงทุนหรือ Unit Linked Insurance ซึ่งจะเหมาะกับคนที่แม้ว่ารายได้ไม่แน่นอน แต่ก็ต้องการได้ทั้งโอกาสลงทุนและความคุ้มครองชีวิต
แม้ว่ารายได้ไม่แน่นอน แต่หากมีการวางแผนอย่างเป็นระบบด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างเป็นระบบ และทราบว่าตัวเราสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้เท่าไหร่ จากนั้นทำทุกอย่างให้ได้ตามแผนที่วางไว้ โอกาสในการทำประกันชีวิตเพื่อความมั่นคงของตัวเองและครอบครัวก็จะเป็นเสมือนหลักประกันให้ทุกคนได้อุ่นใจ
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ