วิธีวางแผนการเงินของคนอายุ 20

วิธีวางแผนการเงินของคนอายุ 20

วัย 20 เป็นช่วงเวลาสำคัญในการวางรากฐานการเงินที่สำคัญ เพราะหากเราเริ่มต้นวางแผนการเงินตั้งแต่แรกเริ่มได้ก็จะช่วยให้คุณสามารถมีอิสรภาพทางการเงินในช่วงบั้นปลายของชีวิต บรรลุเป้าหมายทางการเงินและสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเร็วไปที่จะเริ่มต้น แต่ใครที่เริ่มก่อนก็จะได้เปรียบคนอื่นอย่างแน่นอน ต่อไปนี้คือขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการเงินสำหรับคนอายุ 20

1.เงินเก็บสำรองฉุกเฉินสำหรับคนอายุ 20

บันไดขั้นแรกของการวางแผนทางการเงินให้ประสบความสำเร็จที่ทุกคนจะต้องเริ่มต้น คือ การสร้างเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน เพื่อที่จะช่วยให้คุณรับมือกับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาลหรือในกรณีที่ต้องตกงานกะทันหัน จำนวนเงินสำรองดังกล่าวที่ควรมีจะต้องมีเก็บอย่างน้อยที่สุด 6 – 12 เดือนของค่าใช้จ่าย ซึ่งเมื่อก่อนอาจจะมีคนแนะนำว่า 3 เดือนก็น่าจะเพียงพอ แต่ในสภาพปัจจุบัน เงินสำรองฉุกเฉิน 3 เดือนไม่เพียงพอแล้ว

เงินเก็บสำรองฉุกเฉินสำหรับคนอายุ 20

2.ทำประกัน

ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทประกัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและสภาพการเงินในขณะนั้น ซึ่งคนในวัย 20 แม้จะไม่ใช่เสาหลักของบ้าน แต่อย่างน้อย การมีประกันไว้ก็จะช่วยอุ่นใจในความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตได้และที่สำคัญค่าเบี้ยขณะที่อายุยังน้อยจะถูกกว่ามาก การทำประกันเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องตัวเองและทรัพย์สิน ประกันที่จำเป็นสำหรับคนอายุ 20 ได้แก่

  • ประกันอุบัติเหตุ ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายได้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะคนวัย 20 ซึ่งเป็นวัยแห่งความคึกคะนอง เดินทาง ท่องเที่ยวและใช้ชีวิต
  • ประกันสุขภาพ ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วย แม้จะดูเหมือนไม่เกิดโรคร้ายแรงแต่ก็ประมาทไม่ได้ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบันที่ค่อนข้างสูงมาก
  • ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ให้ความคุ้มครองชีวิตและช่วยสร้างเงินออมในระยะยาว

3.วางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน

การวางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนจะช่วยให้คุณติดตามการใช้จ่ายและจัดสรรเงินอย่างชาญฉลาด อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่ารายจ่ายที่จ่ายออกไปอยู่ที่ใด เพื่อที่จะได้พิจารณาว่ารายจ่ายส่วนไหนที่สามารถลดได้และจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องจ่าย โดยแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าเช่า ที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าบันเทิง จากนั้นจัดสรรงบประมาณสำหรับแต่ละหมวดหมู่และพยายามอย่าใช้เกินความจำเป็น

4.เป้าหมายในการออมของคนอายุ 20

กำหนดเป้าหมายในการออมเงินที่ชัดเจน โดยอาจจะแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เช่น การออมเงินด้วยวิธีการฝากประจำระยะสั้น 2 ปี เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน เมื่อครบกำหนดจะได้เป็นเงินก้อนออกมา แผนระยะยาวอาจนำเงินก้อนจากฝากประจำมาซื้อบ้าน หรือใช้สำหรับการจัดงานแต่งงาน หรือเพื่อการเกษียณอายุ เริ่มต้นด้วยการออมเงินจำนวนเล็กน้อยเป็นประจำและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อรายได้ของคุณเพิ่มขึ้น

5.ศึกษาและเริ่มลงทุนเพื่อต่อยอดเงิน

ศึกษาและเริ่มลงทุนเพื่อต่อยอดเงิน

การลงทุนเป็นวิธีที่ให้เงินงอกเงยอย่างไม่มีขีดจำกัด เพียงแต่คุณจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องของการเงินและการลงทุนอย่างจริงจัง ศึกษาเกี่ยวกับตัวเลือกการลงทุนต่างๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม และอสังหาริมทรัพย์ เริ่มต้นด้วยการลงทุนจำนวนเล็กน้อยและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อคุณมีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น

6.วางแผนภาษี

การวางแผนภาษีสามารถช่วยให้คุณประหยัดเงินได้อย่างมาก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายภาษีและใช้ประโยชน์จากการหักลดหย่อนภาษีและเครดิตภาษี เช่น การทำประกันชีวิตจะช่วยให้คุณนำเบี้ยที่จ่าย ไปลดหย่อนภาษีได้ หรือการลงทุนในกองทุนรวมอย่าง SSF หรือ RMF โดยเงินที่นำไปลงทุนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

7.วิธีเลือกซื้อ SSF-RMF ของคนวัย 20

SSF (Super Saving Funds) คือกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถที่จะนำเงินที่ซื้อกองทุนมาลดหย่อนภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาได้ ให้ประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเพียง 5 ปี (2563-2567) และที่สำคัญระยะเวลาในการขายหน่วยลงทุนคือ 10 ปี นั่นหมายความว่าจะซื้อแล้วถือรอ 10 ปี จึงจะขายได้

RMF (Retirement Mutual Fund) คือ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการออมเงินเพื่อการเกษียณ เป็นการลงทุนในระยะยาว เพราะจะขายได้ก็ต่อเมื่ออายุครบ 55 ปี และมีการลงทุน 5 ปี ต่อเนื่อง แต่ถ้าขายก่อนอายุ 55 ปี จะต้องคืนภาษีที่ได้จากการลดหย่อนคืนทั้งหมด 5 ปีย้อนหลัง หากต้องการที่จะลงทุนใน SSF-RMF ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้

  • เป้าหมายการลงทุน กำหนดเป้าหมายการลงทุนของคุณให้ดี ว่าจะลงทุนในระยะสั้น ระยะกลางหรือระยะยาว เพราะมีเงื่อนไขในการขายเป็นตัวกำหนดและเลือกกองทุนที่ตรงกับเป้าหมายเหล่านั้น
  • ประเมินความเสี่ยง การลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าคุณยอมรับในความเสี่ยงเหล่านั้นได้หรือไม่ ควรทำการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองจากนั้นเลือกกองทุนให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้
  • ค่าธรรมเนียม ทุก ๆ การซื้อและขายหน่วยลงทุน ย่อมมีค่าธรรมเนียมเสมอ ดังนั้นควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของกองทุนต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับข้อตกลงที่ดีที่สุด

จะเห็นว่าการเริ่มต้นวางแผนทางการเงินตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ จะช่วยให้คุณบริหารจัดการความเสี่ยงและการเงินของตนเองได้ โดยเฉพาะในวัย 20 ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว เริ่มที่จะฝึกลงทุนน้อย ๆ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เยอะขึ้น เพื่อที่จะสร้างความมั่นคงในอนาคตและบรรลุเป้าหมายทางการเงินของคุณให้สำเร็จ

ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ