กฎ 50/30/20 เก็บเงินยังไงให้ชีวิตไม่สะดุด

กฎ 50/30/20 เก็บเงินยังไงให้ชีวิตไม่สะดุด

กฎ 50/30/20 เป็นวิธีการบริหารเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะมีความยืดหยุ่น ไม่ตึงเกินไป มีประสิทธิภาพ ส่วนจะต้องทำอย่างไรนั้น มาดูกันเลย

ความสำคัญของการมีเงินสำรอง

เงินสำรอง หมายถึง เงินที่ถูกเก็บสะสมไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ด้วยเหตุนี้คนส่วนใหญ่จึงมักเก็บเงินสำรองในรูปของเงินสดหรือเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ เนื่องจากมีสภาพคล่องสามารถนำมาออกมาใช้จ่ายได้ง่ายและรวดเร็ว เหตุผลที่ทุกคนควรมีเงินสำรองเนื่องจากมีความสำคัญดังนี้

  • ช่วยลดความกังวลเรื่องเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

เพราะไม่อาจคาดเดาได้ว่าเหตุการณ์ฉุกเฉินจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นการมีเงินสำรองจะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และไม่ต้องไปกู้ยืมเงินจากคนอื่นให้เสียดอกเบี้ยภายหลังอีกด้วย  

  • ช่วยเพิ่มความอุ่นใจสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

แม้ว่าจุดประสงค์หลักของการเก็บเงินสำรองคือการเตรียมเงินไว้ใช้เวลาฉุกเฉิน แต่ถึงอย่างนั้นการมีเงินสำรองไว้ยังช่วยเพิ่มความรู้สึกมั่นคงทางด้านเงินให้กับตัวเองและครอบครัว สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวล 

  • ช่วยในการวางแผนและบรรลุเป้าหมายทางการเงินให้ง่ายขึ้น

การแบ่งแยกค่าใช้จ่าย เงินเก็บ และเงินสำรองอย่างชัดเจน จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมทางการเงินของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังง่ายต่อการบรรลุเป้าหมาย อย่างการซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือนำเงินไปลงทุนด้วย

ประหยัดแบบไม่ทำให้ชีวิตตึงเครียด

ประหยัดแบบไม่ทำให้ชีวิตตึงเครียด

สำหรับคนที่อยากเก็บเงินสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร แนะนำให้ใช้กฎ 50/30/20 สูตรบริหารการเงินที่จะช่วยจัดการเงินแต่ละกระเป๋าอย่างสมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญไม่ตึงเครียดจนเกินไป สามารถนำมาปรับใช้กับทุกคนได้ไม่ยาก โดยมีอัตราส่วนดังต่อไปนี้

  • สัดส่วน 50% ของรายได้ สำหรับค่าใช้จ่ายประจำ 

เป็นส่วนที่แบ่งไว้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งค่าอาหาร , ค่าเดินทาง , ค่าโทรศัพท์ , ค่าสาธารณูปโภค รวมไปถึงหนี้สินรายเดือนที่ต้องชำระประจำด้วย

  • สัดส่วน 30% ของรายได้ สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อความสุข 

เป็นส่วนที่แบ่งไว้ใช้ซื้อความสุขให้กับตัวเอง อย่างการช้อปปิ้งเสื้อผ้า , ดินเนอร์กับครอบครัว , การท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ควรจัดสรรเงินในส่วนนี้ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจซื้อความสุขเพลินจนกระทบกับเงินในส่วนอื่นได้

  • สัดส่วน 20% ของรายได้ สำหรับเงินออมและการลงทุน 

เป็นส่วนที่แบ่งไว้เพื่อเก็บไว้เป็นเงินสำรองและลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน อย่างกองทุนรวม , กองทุน SSF , กองทุน RMF หรือการลงทุนในหุ้น อย่างไรก็ตามก่อนลงทุนควรเก็บเงินสำรองไว้อย่างน้อย 3 – 12 เดือน จะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น

อ่านแล้วหรือยัง?

wangjai and maanjai

วิธีบริหารหนี้สินให้สมดุล

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนเป็นหนี้ส่วนใหญ่มองว่าการเก็บเงินสำรองเป็นเรื่องยาก เพราะเมื่อมีหนี้หลายคนมักให้ความสำคัญกับหนี้เป็นอันดับแรก ทั้ง ๆ ที่ในความจริงแล้วต่อให้มีหนี้สินก็สามารถเก็บเงินได้เช่นกัน โดยมีวิธีบริหารจัดการให้สมดุลง่าย ๆ ดังนี้

  • ทำงบการเงินเพื่อแยกรายรับ – รายจ่าย และยอดหนี้ให้ชัดเจน

เหตุผลที่คนมีหนี้ควรทำงบการเงินให้ชัดเจนนั้นเพื่อให้รู้สภาพคล่องทางการเงินของตัวเองในช่วงเวลานั้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งกรณีที่มีสภาพคล่องสูงจะทำให้ประเมินระยะเวลาและความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองได้ง่ายขึ้น

  • จัดลำดับการชำระหนี้

หากอยากหมดหนี้เร็วสิ่งแรกที่ต้องทำคือการจัดลำดับความสำคัญของหนี้สินเพื่อประเมินอัตราดอกเบี้ยรวม , ยอดหนี้คงเหลือในแต่ละเดือน , ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย และกำหนดเวลาที่ชำระหนี้ครบ สำหรับหนี้สินที่ควรจัดการเป็นอันดับแรกคือหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง 

  • รวมหนี้เป็นก้อนเดียว

กรณีที่ไม่สามารถจัดการหนี้สิน แนะนำให้ ‘รีไฟแนนซ์’ รวมหนี้แต่ละก้อนให้เป็นก้อนเดี่ยวเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการหนี้สิน นอกจากนั้นยังช่วยลดดอกเบี้ย ลดยอดหนี้ต่อเดือน ยืดระยะเวลาในการชำระ หรืออาจได้รับสิทธิพิเศษพักการชำระ ช่วยให้บริหารจัดการการเงินได้ดีขึ้น

ลงทุนเล็กน้อยเพื่ออนาคต

ลงทุนเล็กน้อยเพื่ออนาคต

นอกจากเก็บเงินสำรองและจัดการหนี้สินให้สมดุลกับรายได้แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามคือการลงทุนเพื่อให้เงินที่มีอยู่พอกพูนและมั่นคงยิ่งขึ้น สำหรับการลงทุนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การฝากประจำ , พันธบัตรรัฐบาล , หุ้นกู้ , กองทุน , หุ้นไทย , หุ้นต่างประเทศ และสินทรัพย์ดิจิตอล แต่การนำเงินออมไปลงทุนควรศึกษารายละเอียดและประเมินความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ เนื่องจากการลงทุนทุกรูปแบบให้ผลตอบแทนและมีความเสี่ยง

จะเห็นว่าการมีเงินสำรองเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกคน ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน การบริหารเงินด้วยกฎ 50/30/20 เป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นการเก็บเงิน

ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ