7 คำแนะนำ ก่อนเลือกซื้อประกันชีวิต

7 คำแนะนำ ก่อนเลือกซื้อประกันชีวิต

การซื้อประกันในปัจจุบันมีมากมายหลากหลายช่องทาง และสะดวกมากขึ้นกว่าแต่ก่อนไม่ว่าจะเป็น ซื้อผ่านตัวแทน ซื้อผ่านนายหน้าประกัน ซื้อผ่านเว็บไซต์ หรือ ช่องทางอื่นๆ ที่เราสะดวก แต่ช่องทางไหน มีบริการอะไร และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ลองอ่านรายละเอียดกันดูนะครับ

1. เลือกช่องทางการซื้อประกันชีวิต

1.1 ซื้อประกันผ่านตัวแทนประกันชีวิต

  • ตัวแทนประกันสามารถให้คำปรึกษา และแนะนำประกันที่เหมาะกับเราได้นอกจากนั้นยัง สามารถขอฃคำปรึกษา ความรู้เกี่ยวกับประกันแต่ละประเภทได้ตลอดเวลา
  • มีบริการหลังการขาย ช่วยเหลือ และดูแลเรื่องประกันให้เราตลอด ไม่ว่าจะเตือนต่อ ประกัน หรือเคลมประกัน
  • มีประกันให้เลือกหลายรูปแบบ ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ และประกันอื่น ๆ แต่จะ ไม่มีประกันของบริษัท ประกันอื่น ๆ ให้เปรียบเทียบหรือเลือกซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิต

1.2 ซื้อประกันผ่านนายหน้าประกันชีวิต

  • มีประกันให้เลือกทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันสุขภาพ ฯลฯ เมื่อซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิต
  • มีบริการหลังการขายดูแลอย่างดี ทั้งการต่อประกัน การเคลมประกัน และปรึกษาเชิงลึก เกี่ยวกับประกันได้ต่างๆ ได้
  • สามารถแนะนำประกันที่เหมาะกับเราที่สุดได้ และมีประกันหลากหลายบริษัทฯ ในมือเพราะ ไม่มีสังกัดของประกันเหมือนตัวแทนประกัน

1.3 ซื้อประกันชีวิตผ่านพนักงานขาย ทางโทรศัพท์ (เทเลเซลล์)

  • สะดวก ง่าย อยู่ที่ไหนก็ซื้อได้ เพียงแค่แจ้งข้อมูล และประกันที่ต้องการจะซื้อ
  • ให้คำปรึกษา และแนะนำประกันที่เหมาะกับเราได้ มีประกันให้เลือกมากมาย หลาย บริษัทฯ แต่ก็มีประกันบางประเภทที่ไม่สามารถซื้อผ่านทางเทเลเซลล์ได้
  • มีบริการดูแลหลังการขาย ติดต่อผสานงานทั้งการเตือนต่ออายุประกัน การเคลม และ แนะนำโปรโมชั่นพิเศษ (เทเลเซลล์บางที่อาจจะไม่มีบริการในส่วนนี้)

1.4 ซื้อประกันชีวิตผ่านเว็บไซต์

  • ง่าย สะดวก ซื้อประกันที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้
  • มีข้อมูลครบถ้วนพร้อมรายละเอียดประกันต่างๆ ให้อ่านและทำความเข้าใจอย่างละเอียด แต่ต้องศึกษาข้อมูลประกันด้วยตัวเองไม่มีคนแนะนำหรือให้คำปรึกษา
  • มีประกันให้เลือกมากมายหลายบริษัท และสามารถเปรียบเทียบเบี้ยได้ทันที
  • ไม่มีบริการหลังการขาย หรือให้คำปรึกษาเชิงลึกในการวางแผนเลือกซื้อประกัน

1.5 ซื้อประกันชีวิตผ่านธนาคาร

  • ค่อนข้างซื้อได้ง่ายสะดวก เพราะสามารถซื้อได้จากธนาคารตามสาขาต่างๆ
  • ไม่สามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำเชิงลึกได้เพราะพนักงานแบงค์ อาจจะไม่ได้มี ประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับประกัน
  • ไม่สามารถดูแลเรื่องการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับประกันได้ เช่น การเคลม การปรึกษา ด้านประกันเชิงลึก

2. ซื้อประกันชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเอง

ก่อนจะซื้อประกันชีวิตเราควรศึกษาหาข้อมูล และวางแผนให้เหมาะสมกับความต้องการของเราก่อน เพราะประกันชีวิตมีหลายรูปแบบ และจุดประสงค์ก็แตกต่างกันออกไปซึ่งประกันชีวิตมีอะไรบ้าง

แต่ถ้าหากยังไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน เราอาจจะพิจารณาจากความเสี่ยงที่เราจะต้องเจอในแต่ละวันเป็นเรื่องแรก เช่น งานที่เราทำมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือบาดเจ็บมากแค่ไหน เพราะจุดประสงค์หลักของประกันชีวิตคือการดูแลและคุ้มครองชีวิต

3. เลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม

หลังจากพิจารณาเรื่องความเสี่ยงในชีวิตแล้วควรคำนึงถึงรายได้ของเราด้วยว่าสามารถชำระเบี้ยประกันชีวิตไหวหรือไม่ โดยคำนวณจากเงินเดือนว่าสามารถแบ่งมาจ่ายค่าเบี้ยประกันได้เท่าไหร่ที่จะไม่กระทบต่อการใช้ชีวิต

ละถ้าหากไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนอาจจะต้องคิดว่าต้องกันเงินก้อนเท่าไหร่ที่จะนำมาจ่ายค่าเบี้ยได้โดย ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตในแต่ละปี เพราะ หากทำประกันเกินจำเป็น อาจกลายเป็นภาระชีวิตมากกว่าที่จะมาดูแลชีวิตของเรานั้นเอง

4. กรอกแบบสอบถามประกันชีวิต ตามความเป็นจริง

สำหรับการทำประกันชีวิตจะมีการตอบแบบสอบถามประวัติการรักษา และประวัติสุขภาพ เราควรตอบตามความเป็นจริงทุกอย่าง เพราะถ้าเราปิดบัง หรือโกหกข้อมูล บริษัทประกันมีสิทธิ์ที่จะไม่คุ้มครองเราตามกรมธรรม์ที่ทำไว้ได้

5. ตรวจสอบข้อมูลในแบบคำขอ และกรมธรรม์

ตรวจสอบเอกสารทั้งแบบคำขอ และกรมธรรม์ประกันชีวิตให้ถูกต้องทุกครั้ง โดยเฉพาะ ชื่อผู้รับประโยชน์ และชื่อผู้เอาประกัน หากข้อมูลส่วนใดไม่ถูกต้องรีบแจ้งให้บริษัทประกันแก้ไขข้อมูลให้เรียบร้อยถูกต้องก่อนลงชื่อในเอกสาร

6. จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต

หลังจากจ่ายค่าเบี้ยประกัน ให้เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ถ้าหากซื้อประกันชีวิตกับตัวแทน และต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตผ่านตัวแทน ต้องขอใบเสร็จรับเงินชั่วคราวไว้เสมอเพื่อเป็นหลักฐานการชำระเบี้ยประกัน

7. เก็บรักษาข้อมูลกรมธรรม์ให้คนใกล้ชิด หรือผู้รับประโยชน์รับรู้

นอกจากจะบอกข้อมูลกรมธรรม์ให้ผู้รับประโยชน์รู้แล้ว อย่าลืมบอกว่าเก็บกรมธรรม์ไว้ที่ไหนด้วยเพราะ ถ้าเก็บรักษากรมธรรม์ไม่ดี หรือหาย ต้องไปแจ้งความเพื่อทำกรมธรรม์ใหม่ และถ้ากรมธรรม์ชำรุดต้องนำเอกสารพร้อมแนบกรมธรรม์เก่าเพื่อขอทำกรมธรรม์ใหม่ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมเล็กน้อยด้วย

สรุปสุดท้ายนี้

ก่อนเลือกซื้อประกันชีวิต ทุกครั้งอย่าลืมเช็กคำแนะนำทั้ง 7 ข้อนี้ก่อนเพราะประกันชีวิตมีหลากหลายรูปแบบบางครั้งเราอาจจะซื้อประกันชีวิตผิดวัตถุประสงค์หรืออาจจะผิดพลาดในการให้ข้อมูลแก่บริษัทประกันและไม่สามารถเคลมประกันได้รวมถึงข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ อย่างการทำกรมธรรม์หายก็ทำให้เราเล่นเวลาและเงินได้เหมือนกัน