ทำประกันชีวิตให้พ่อ-แม่แบบไหนดี

ทำประกันชีวิตให้พ่อ-แม่แบบไหนดี

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ‘ประกันชีวิต’ เป็นหนึ่งในเครื่องมือลดความเสี่ยงด้านการเงินที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนสนใจทำประกันให้ตัวเองรวมถึงพ่อแม่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามการทำประกันนั้นมีเรื่องของค่าเบี้ยประกันมาเกี่ยวข้องโดยมีเงื่อนไขสำคัญคือยิ่งอายุเยอะค่าเบี้ยประกันยิ่งสูง ทำให้หลายคนลังเล ยังไม่ตัดสินใจทำประกันด้วยกลัวจะกระทบกับภาระใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเพื่อให้คนอยากทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ตัดสินใจง่ายขึ้นด้วยข้อมูลดี ๆ ที่นำมาฝากในบทความนี้

ประเมินความสามารถในการซื้อประกันของเรา

ถึงแม้ว่าจะเป็นประกันของพ่อแม่ แต่คนที่จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตนั้นหนีไม่พ้นคนเป็นลูก เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ประเมินความสามารถในการซื้อประกันของเรา

หนี้สินที่มี

ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องประเมินเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับภาระหนี้สิ้น แต่ถึงอย่างนั้นหลายคนมักไม่ให้ความสำคัญด้วยมองเป็นค่าใช้จ่ายตายตัวที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือนอยู่แล้ว จึงใช้วิธีหักออกจากยอดเงินรายได้ หากเห็นว่ารายได้พอที่จ่ายค่าเบี้ยประกันให้พ่อแม่มักตัดสินใจซื้อทันที โดยลืมไปว่าการซื้อประกันต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันทุกปี จึงกลายเป็นค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือนหรือต่อปี ก่อนตัดสินใจซื้อควรนำค่าเบี้ยประกันไปคำนวนรวมกับภาระหนี้สินประจำ ซึ่งถ้ารวมค่าเบี้ยประกันรวมกับยอดหนี้สินเดิมสูงกว่า 45% ของรายได้ต่อเดือน อาจต้องเลือกซื้อประกันที่ทุนประกันน้อยเพื่อลดค่าเบี้ยประกัน หรือรอให้หนี้สินลดลงก่อน ค่อยซื้อประกันชีวิตให้กับพ่อแม่ไม่สาย

อายุ

ถ้าถามว่าควรเริ่มซื้อประกันชีวิตให้พ่อและแม่ตอนอายุเท่าไหร่ คำตอบคือ “ควรทำมีความพร้อมด้านการเงิน” แต่เพราะประกันชีวิตให้พ่อแม่ที่เป็นผู้สูงอายุ สามารถทำได้ระหว่างอายุ 50 – 70 ปี หากพ่อแม่อายุยังไม่ถึงอายุที่กำหนดสามารถวางแผนทางการเงินไว้ล่วงหน้าก็จะช่วยจัดการเงินได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่เลือกด้วย เพราะหากเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถทำประกันได้ก่อนที่พ่อแม่อายุ 50 ปี

ค่าใช้จ่ายส่วนตัว

เพื่อไม่ให้การซื้อประกันชีวิตกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากหนี้สินไม่ควรเกิน 45% ของรายได้ต่อเดือนแล้ว ควรพิจารณาในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่ายารักษาโรค , ค่าอาหาร , ค่าที่พัก , ค่าโทรศัพท์ หรือค่าสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วย หากไม่รู้ว่าจะคำนวณอย่างไร ให้ใช้สูตร 50 – 30 – 20 โดยเป็นค่าใช้จ่ายประจำ 50% ของรายได้ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 30% ของรายได้ และเงินออม 20% ของรายได้

ประเมินความต้องการของพ่อแม่

นอกจากประเมินความสามารถในการซื้อประกันของลูกที่ทำหน้าที่จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแล้ว ความต้องการพ่อแม่เองก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน เพราะมีพ่อแม่ไม่น้อยที่มองว่าประกันชีวิตไม่ใช่สิ่งสำคัญและเป็นการเบียดเบียดเงินทองของลูกโดยไม่จำเป็น ก่อนทำประกันชีวิตแนะนำให้สอบถามความต้องการของพ่อและแม่ด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วความต้องการของพ่อและแม่มี 4 เรื่องหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

ประเมินความต้องการของพ่อแม่

ค่าทำศพ

จากการที่มีข่าวเกี่ยวกับค่าฌาปนกิจศพราคาแพงให้ได้ยินกันอย่างต่อเนื่อง จึงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่พ่อแม่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะพ่อแม่สูงวัยมักเป็นกังวลเรื่องนี้มากที่สุด ด้วยไม่อยากให้ลูกหลานต้องลำบากเรื่องเงินกู้หนี้สินยืมสินมาเพื่อจัดงานศพให้กับตัวเอง โดยในกรณีที่พ่อแม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ควรเลือกเป็นประกันชีวิตแบบตลอดชีพที่ให้ความคุ้มครองถึงอายุ 85 – 99 ปี ซึ่งหากพ่อแม่เสียชีวิต ลูกหลานจะได้รับเงินเอาประกันพร้อมเงินสะสมหรือเงินปันผลไว้ใช้จัดการค่าใช้จ่ายงานฌาปนกิจ อีกทั้งยังเหลือไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลานอีกด้วย

ไลฟ์สไตล์ของพ่อแม่

มีพ่อแม่ไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่พักผ่อน เที่ยว กิน ช้อปได้อย่างเต็มที่ แต่หากรู้สึกเป็นกังวลเรื่องเงินในช่วงเกษียณ ประกันชีวิตแบบบำนาญถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะหากผู้ทำประกันมีชีวิตอยู่ถึงอายุเกษียณ จะได้ผลตอบแทนจากประกันอย่างสม่ำเสมอทุกปีหรือทุกเดือน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ สำหรับพ่อแม่ที่เป็นกังวลว่าถ้าตายก่อนเกษียณแล้วเงินประกันศูนย์ บอกเลยว่าเลิกคิดไปได้เลยด้วยลูกหลานจะได้รับเงินเอาประกันก้อนใหญ่จากประกันที่ทำไว้เป็นสิ่งตอบแทน

ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ (พ่อ-แม่)

เป็นเรื่องปกติที่พ่อหรือแม่จะห่วงคู่ชีวิตของตัวเองที่ยังมีชีวิตอยู่ในวันที่ตัวเองจากไป ซึ่งในกรณีนี้ควรให้ความสำคัญกับชื่อผู้รับผลประโยชน์ หากทำประกันชีวิตให้กับพ่อ ควรใส่ชื่อแม่เป็นผู้รับผลประโยชน์ แต่ถ้าประกันชีวิตให้แม่ก็ใส่ชื่อพ่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ เป็นการช่วยให้ทั้งสองคนมีความอุ่นใจกับการทำประกันชีวิตมากขึ้น

สุขภาพ

เพราะประกันชีวิตไม่ให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลจึงทำให้พ่อแม่หลายคนปฏิเสธและไม่อยากให้ลูกทำประกันให้กับตัวเอง เนื่องด้วยไม่อยากให้ลูกเสียค่าเบี้ยประกันภัยที่สูง แต่เพื่อให้ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพและจูงใจให้ผู้สูงอายุซื้อประกันชีวิตมากขึ้น บริษัทประกันภัยหลายแห่งจึงให้สิทธิ์ซื้อประกันโรคร้ายเพิ่มเติม ซึ่งหากตรวจเจอโรคร้ายตามเงื่อนไข ผู้ทำประกันจะได้รับเงินก้อนมาใช้ในการรักษาดูแลตัวเองทันที

นอกจากทำประกันชีวิตผู้สูงอายุแล้ว ควรทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มอีกหรือไม่

คนที่กำลังวางแผนทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ แต่สงสัยว่าต้องทำประกันสุขภาพด้วยหรือไม่ ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจว่าประกันชีวิตไม่ได้คุ้มครองครอบคลุมในส่วนของค่ารักษาพยาบาล แต่จะให้ความคุ้มครองกรณีพ่อแม่เสียชีวิตเป็นเงินก้อนใหญ่พร้อมผลตอบแทนเท่านั้น ดังนั้นหากมีกำลังทรัพย์เพียงพอนอกจากทำประกันชีวิตแล้ว แนะนำให้ทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุให้กับพ่อแม่ควบคู่ไปด้วย จะช่วยลดความกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ได้มากยิ่งขึ้น

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับประกันชีวิตสำหรับพ่อแม่ที่นำมาฝาก จะเห็นว่าการเลือกซื้อประกันชีวิตให้พ่อแม่นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงประเมินความพร้อมของตัวเองและความต้องการของพ่อแม่ รับประกันเลือกประกันชีวิตถูกใจพ่อแม่แน่นอน ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ