10 วิธี แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
TPIS รู้ว่าหลาย ๆ บริษัท ฯ คงเริ่มกลับมาทำงานนั่งโต๊ะที่ออฟฟิศกันบ้างแล้ว แต่หลาย ๆ คนก็คงได้นั่งทำงานกันที่บ้านกันยาว ๆ ถึงอย่างนั้นออฟฟิศซินโดรมก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศเท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นกับทุกคนที่ทำพฤติกรรมเดิม ๆ นั่งท่าเดิม ๆ ยิ่งเวลาที่เราต้องโฟกัสกับงานมาก ๆ หากใครรู้ทันก็คงซื้อประกันสุขภาพรอไว้แล้ว แต่อย่างน้อยเราก็ควรรู้ไว้บ้างว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมใดบ้าง
โดยสาเหตุหลักของอาการออฟฟิศซินโดรม คือ การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มือถือมาก ๆ การนั่งทำงานอยู่กับที่ไม่ได้ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย และการก้มหน้าทำงานเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอเกร็ง ปวดตึง และยิ่งปล่อยเอาไว้นาน จะทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อเสียหายอย่างรุนแรงได้อีกด้วย
ก่อนจะสายเกินแก้ TPIS จะบอกวิธีป้องกันรักษาออฟฟิศซินโดรมกัน โดยมีวิธีตั้งแต่เบา ๆ จนไปถึงวิธีที่รักษาสำหรับคนที่อาการรุนแรง โดยจะมีวิธีการป้องกันรักษาอย่างไรลองอ่านกันดูครับ
10 วิธี แก้ออฟฟิศซินโดรม
1. นั่งทำงานให้ถูกท่า
นั่งหลังตรงพิงพนักเก้าอี้ ขาขนานพื้น ไม่งอเข่าหรือข้อศอกเกิน 90 องศา ข้อมือขนานกับโต๊ะทำงาน ไม่วางเมาส์ และคีย์บอร์ด หรืออุปกรณ์การทำงานไกลเกินไปจนต้องเอื้อมแขน หรือก้มหน้าทำงานบ่อย ๆ
2. ป้องกันแสงสีฟ้าจากหน้าจอ
ใส่แว่นหรือใช้ฟิล์มหน้าจอ ที่ป้องกันแสงสีฟ้า ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดตา และปวดหัวจาก การจ้องจอเป็นเวลานาน ๆ ได้ หรือละสายตาออกจากจอมองไปรอบ ๆ บ้าง
3. ขยับร่างกาย
ลุกเดินผ่อนคลายเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 1 ชั่วโมง สัก 5 – 10 นาที ด้วยการยืด – เหยียดกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นไม่ปวดเมื่อย
4. กินอาหารที่มีประโยชน์
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และตรงเวลา ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก
5. พักผ่อนให้เพียงพอ
ใน 1 วัน ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7 – 8 ชั่วโมง
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายเบา ๆ 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
7. ผ่อนคลายอารมณ์
นอกจากร่างกายแล้วอารมณ์ก็มีส่วนในการทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมเช่นกัน การปรับอารมณ์ไปเดินเล่น ชมนกชมไม้ ลดความเครียดระหว่างทำงาน สัก 10 นาที ก็สามารถช่วยแก้อาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน
8. หาอุปกรณ์ช่วย
หาอุปกรณ์ช่วยเหลือในการนั่งทำงาน ไม่ว่าจะเป็นหมอนรองหลัง ที่ลองข้อมือ เก้าอี้วางเท้า ที่วางคอม/โน๊ตบุ๊ก
9. ใช้ยารักษา
สำหรับอาการออฟฟิศซินโดรมขั้นรุนแรงอาจจะต้องใช้ยารักษา เช่น ยาบรรเทากล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ หรือยาแก้ปวด แต่การกินยารักษานั้นเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เพราะหากยังทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เดิม ๆ อยู่ ก็ไม่สามารถหายขาดจากออฟฟิศซินโดรมได้
10. รักษาด้วยการบำบัด
- นวด (Massage) ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และลดอาการเจ็บปวด จากอาการออฟฟิศซินโดรมได้
- ใช้เครื่องดึงหลัง/ดึงคอ (Traction) ช่วยคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดที่กระดูกสันหลังลดลงได้
- กระตุ้นไฟฟ้า (TENS) ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และลดอาการปวดลงได้
- อัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) จะช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมในระดับที่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก
เราควรปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ในการทำงาน ไม่ว่าจะลุกขึ้นเดิน บริหารสายตามองไปรอบ ๆ นอกจากจอบ้าง เพื่อป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม แต่ถ้าออฟฟิศซินโดรมมีอาการรุนแรงอาจจะต้องใช้ 2 วิธีหลัง (ข้อ 9 – 10) ในการรักษา โดยถ้าเรามีประกันสุขภาพที่คุ้มครองอาการเหล่านี้เราสามารถเบิกค่ารักษา ค่ายา หรือค่าบำบัดได้ โดยที่ไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าเราเลย เพียงแค่ใช้ใบรับรองแพทย์และใบเสร็จเท่านั้น