โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในยุคปัจจุบันเกิดจากอะไร และ ป้องกันอย่างไร
โรค NCDs หรือ Non-Communicable Diseases หมายถึงกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อไปยังผู้อื่น แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นกลุ่มโรคที่มีความรุนแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำคนไทยเสียชีวิต แล้วโรคเรื้อรังใดที่พบมากที่สุดและมีวิธีป้องกันอย่างไร เรามีคำตอบมาฝาก
โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
หากพูดถึงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คนส่วนใหญ่มักนึกถึงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เพราะเป็นโรคยอดฮิตที่มีสถิติผู้ป่วยสูงขึ้นทุก ซึ่งแต่ละโรคมีอาการและสาเหตุดังต่อไปนี้
1. โรคเบาหวาน หรือ Diabetes
เป็นโรคที่เกิดจากการที่ปริมาณฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ในร่างกายลดลง หรืออวัยวะร่างกายไม่ตอบสนอง หรือตอบสนองฮอร์โมนอินซูลินน้อยลง ทำให้ปริมาณน้ำตาลหลงเหลือในเลือดมากกว่าปกติ โดยเบาหวานระยะแรกมักมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป คือ รับประทานอาหารเก่งขึ้น , มีอาการหิวบ่อย , ปัสสาวะบ่อย , รู้สึกอ่อนเพลีย , คลื่นไส้อาเจียน , เหนื่อยหอบ , ระดับการรู้ตัวช้าลง , แผลหายช้า , มีภาวะติดเชื้อ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ทั้งภาวะเบาหวานขึ้นตา , โรคไต , ชาตามปลายมือปลายเท้า , โรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดสมอง
2. โรคความดันโลหิตสูง หรือ Hypertension
เป็นภาวะที่เกิดจากระดับความดันโลหิตเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยในระยะแรกผู้ป่วยมักมีเพียงอาการเวียนศีรษะ , ปวดหัว , ปวดท้ายทอย จึงทำให้หลายคนเข้าใจอาการเหล่านี้เกิดจากการอ่อนเพลียจากการทำงานหนัก หรืออาการปวดเมื่อยทั่วไป แล้วปล่อยไว้จนเกิดผลเสียกับหลอดเลือดกระทั่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงมากขึ้น อย่างโรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดหัวใจ , กล้ามเนื้อหัวใจหนา , เส้นเลือดโป่งพอง หรือโรคไต
3. โรคหัวใจ หรือ Heart Disease
หมายถึงกลุ่มโรคที่มีผลกระทบของการทำงานของหัวใจ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ , โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด , โรคลิ้นหัวใจ , โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ซึ่งแต่ละโรคมีอาการแตกต่างกันแต่หลัก ๆ แล้วจะพบอาการเวียนศีรษะ , อ่อนเพลีย , หายใจไม่เต็มอิ่ม , แขนขาบวม , เหนื่อยง่าย , หัวใจเต้นผิดปกติ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจทำให้หมดสติเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโรคเรื้อรัง
ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังคืออายุที่เพิ่มขึ้น เพราะเมื่ออายุมากขึ้นระบบการทำงานของร่างกายจะเสื่อมและทำให้เสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น ในปัจจุบันไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสี่ยงเป็นโรคกลุ่มนี้ ยังเกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มคนไข้อายุน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เสี่ยงกับโรคเรื้อรังมากขึ้น นั่นคือ
วิธีป้องกันและการดูแลสุขภาพ
สำหรับวิธีการป้องกัน การดูแลสุขภาพ และลดความเสี่ยงเรื่องโรคเรื้อรังนั้นสามารถทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้
1. เลือกรับประทานที่มีประโยชน์
อาหารถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งนอกจากควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและความอ้วนแล้ว ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยแนะนำให้เน้นอาหารประเภทผัก , ผลไม้น้ำตาลน้อย , เนื้อปลา และที่สำคัญดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอ สำหรับผู้หญิงควรดื่มประมาณวันละ 2.7 ลิตร ผู้ชายวันละ 3.7 ลิตร
2. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากจะได้สุขภาพที่ดีเป็นของรางวัลแล้ว ยังช่วยลดน้ำตาลในเลือด , ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต , กระตุ้นไหลเวียนโลหิต , ลดความกังวลและความเครียดด้วย สำหรับการออกกำลังกายควรออกกำลังกายประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
3. ปรับพฤติกรรมบางอย่างที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังให้เลิกสูบบุหรี่ , หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ , พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนั้นต้องหาวิธีผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดจากการเรียนและการทำงาน
4. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
เหตุผลเพราะโรคเรื้อรังกลุ่มไม่ติดต่อสังเกตอาการได้ยาก หรือมีอาการไม่ต่อเนื่อง การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อตรวจสอบค่าการทำงานของตับ ไต หัวใจ ตรวจสอบระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาล ตรวจคลื่นหัวใจ และเอกซเรย์ปอด การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นเพื่อให้ตนได้รู้รายละเอียดหรือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ แล้วหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อช่วยให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังในอนาคต
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ปัจจัยเสริมความเสี่ยง และวิธีการป้องกันดูแลสุขภาพที่เรานำมาฝาก ซึ่งจะเห็นว่าถึงแม้โรคเรื้อรังจะมีอันตราย แต่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต และการนอนที่เหมาะสม
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ