ทำไมคนสูงวัยควรทำประกันสุขภาพ และควรเลือกแบบใด

senior-health-ins-benefit

ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีแนวโน้มที่คนกลุ่มนี้จะกลายเป็นชนกลุ่มหลักแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกก็อยู่ในแนวโน้มนี้เช่นกัน เพราะผู้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง .. แม้ว่าผู้คนจะมีอายุยืนยาวมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้สูงวัยคือกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่าวัยหนุ่มสาว แล้วประกันสุขภาพจำเป็นสำหรับคนวัยนี้หรือไม่ ? รวมถึงถ้าอยากทำประกันในช่วงสูงวัยควรเลือกอย่างไร? บทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

ความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็เสื่อมลง นี่คือความจริงที่ยังไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงได้แม้ว่าการแพทย์จะพัฒนาไปมากแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่ทุกคนทำได้คือการชะลอความเสี่ยงนี้ออกไป หรือป้องกันผลที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ ต่อไปนี้คือความเสี่ยงที่พบได้บ่อยเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ

  1. ความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อ
    ค่อนข้างน่ากังวลสำหรับโรคกระดูกและข้อเป็นภาวะเพราะแทบจะไม่แสดงอาการให้เห็นเลย ยกเว้นว่าเกิดอุบัติเหตุหกล้มจนกระดูกหัก เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ภาวะกระดูกพรุนและข้อเสื่อมคือสิ่งที่เกิดขึ้นได้ โดยแพทย์แนะนำว่าผู้หญิงอายุ 55 ปี และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (BMD) และระดับวิตามินดีในเลือดเพื่อรับอาหารเสริมได้ทันเวลา
  2. ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน
    เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นคือความสามารถในการทรงตัว นี่เองเป็นสาเหตุที่คนวัยนี้มักจะหกล้มง่ายกว่าวัยอื่น การหกล้มคืออุบัติเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดและมีความรุนแรงหลายระดับ แต่ถ้าออกกำลังกายสม่ำเสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องนี้ได้
  3. ภาวะหลงลืมและความเสี่ยงเกี่ยวกับสมอง
    มีได้ตั้งแต่การหลงลืมในระยะสั้นไปจนถึงโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองเสื่อม ซึ่งการสังเกตของคนในครอบครัวจะช่วยแก้ไขความเสี่ยงจุดนี้ได้อย่างทันท่วงที โดยหากพบว่าผู้สูงวัยมีความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และความจำอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพาไปพบแพทย์
  4. ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่พบได้
    ไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ การได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่ครบถ้วน รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับสายตาและการได้ยิน สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยได้ทั้งสิ้น ซึ่งการสังเกตตัวเอง , การดูแลจากสมาชิกในครอบครัว รวมถึงตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เป็นปัญหาที่ควรรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่ปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่โรคร้ายแรงที่ยากต่อการรักษา
senior health- ins benefit

เปรียบเทียบประกันของบุคคลทั่วไปกับประกันผู้สูงอายุ

ประกันสุขภาพที่มีในตลาดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ประกันสุขภาพทั่วไป (สำหรับคนวัยทำงาน) และประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ความต่างที่เห็นได้ชัดอันดับแรกคืออายุในการรับสมัคร โดยประกันสำหรับวัยทำงานจะสมัครได้ตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี ส่วนประกันสำหรับผู้สูงวัยจะสมัครได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ประกันสูงวัยก็มักจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแค่บางประเภท โดยเน้นไปที่ความเสี่ยงซึ่งพบได้บ่อย เช่น อุบัติเหตุจากการหกล้ม และอาการเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อ ผิดกับประกันสำหรับวัยทำงานที่จะครอบคลุมโรคทั่วไปอย่างครบถ้วนและเปิดโอกาสให้ผู้ทำประกันซื้อแพคเกจคุ้มครองโรคร้ายแรงเพิ่มได้

อีกหนึ่งความแตกต่างคือค่าเบี้ยประกัน หากผู้สูงวัยอยากทำประกันสุขภาพก็จะต้องเจอกับเบี้ยประกันที่สูงกว่าวัยทำงาน อย่างไรก็ตามยังมีประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัยที่ทำได้โดยไม่ต้องตรวจหรือตอบคำถามสุขภาพ ซึ่งจุดเด่นคือค่าเบี้ยถูกมาก และอาจมีบางแผนประกันที่คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือค่ารักษาพยาบาลพื้นฐานด้วย ยกเว้นบางโรคที่เป็นมาก่อนแล้วก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง ดังนั้นประกันสูงวัยก็อาจมีระยะเวลารอคอยนานกว่าเมื่อเทียบกับประกันสำหรับวัยทำงาน

บทความ มีโรคประจำตัวซื้อประกันสุขภาพยังไงดี

senior health- ins benefit

วิธีเลือกประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุวัยเกษียณให้คุ้มค่า

อันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทำประกันเอง หรือลูกทำประกันให้พ่อแม่ สิ่งสำคัญคือเลือกแผนประกันที่เราจ่ายเบี้ยไหวตลอดอายุสัญญา หากเป็นประกันสุขภาพก็ควรมองหาแผนประกันที่รองรับการต่ออายุระยะยาวโดยเบี้ยประกันไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สูงเกินไป หากต้องการความคุ้มค่าก็ควรเปรียบเทียบแผนประกันจากหลาย ๆ ที่ก่อนตัดสินใจ

ในแง่ความคุ้มครอง ควรมองหาแผนประกันที่ตอบโจทย์ความเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งจุดนี้การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจะช่วยประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นให้เราได้ อย่างน้อยที่สุดควรมีประกันที่คุ้มครองการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) เพราะจะครอบคลุมการรักษาโรคพื้นฐาน เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม และต้องการรักษาอย่างมีคุณภาพเมื่อนอนโรงพยาบาล ก็ต้องมองหาประกันแบบผู้ป่วยใน หรือ IPD

แม้ว่าผู้สูงวัยจะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่าคนวัยทำงาน แต่ความเสี่ยงหลายด้านก็ป้องกันได้ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นแล้ว หากมีประกันสุขภาพ ก็จะช่วยให้เข้าถึงการรักษาคุณภาพสูงสุดได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย