ประกัน OPD คืออะไร และทำประกัน OPD อย่างเดียวได้ไหม

What OPD insurance

เชื่อว่าคนที่กำลังวางแผนต้องทำประกันสุขภาพต้องเคยได้ยินคำว่า ‘ประกัน OPD’ หนึ่งในประกันสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากให้วงเงินการรักษาเหมาจ่ายต่อครั้งสูง นอกจากนั้นค่าเบี้ยประกันยังไม่แพง ผู้ที่สนใจสามารถทำเพิ่มเติมจากประกันสุขภาพที่มีได้ หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าประกัน OPD คืออะไร และจะทำประกัน OPD ตัวเดียวได้ไหม เรามีคำตอบมาฝาก

ประกัน OPD คืออะไร และทำประกัน OPD อย่างเดียวได้ไหม

ประกัน OPD มีชื่อเต็มว่า Outpatient Department หมายถึง ประกันที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล , ค่าธรรมเนียมในการพบแพทย์ , ค่าวินิจฉัย , ค่าตรวจวิเคราะห์ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าสามารถกลับบ้านทันทีหลังการรักษา ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล แต่หากต้องนอนสังเกตอาการ ต้องใช้เวลาน้อยกว่า 6 ชั่วโมง

หากถามว่ามีประกันสังคม หรือมีประกัน IPD (In Patient Department) ประกันสุขภาพในกรณีเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในอยู่แล้ว สามารถทำประกัน OPD ได้หรือไม่ คำตอบคือ ‘ได้’ เพราะถือว่าเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองคนละกรณี ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกในซื้อประกันสุขภาพ บริษัทประกันภัยหลายแห่งมักรวมเอาประกัน OPD และ IPD ไว้ในกรมธรรม์ฉบับเดียว ดังนั้นถ้าอยากซื้อประกัน OPD เพียงอย่างเดียว ควรอ่านรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครองให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ

ความคุ้มครองของประกัน OPD อย่างเดียว

อย่างที่รู้กันแล้วว่าประกัน OPD ให้ความคุ้มครองผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยนอกที่ไม่ต้องนอนพักรักษาพยาบาลหรือผู้ที่เฝ้ารับการสังเกตอาการน้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการเข้ารับการรักษาพยาบาลต่อครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นประกัน OPD ส่วนใหญ่มักมีการจำกัดวงเงินความคุ้มครองต่อครั้ง / วงเงินคุ้มครองต่อปี / จำนวนครั้งในการเคลมประกัน และที่สำคัญเงื่อนไขของอาการเจ็บป่วยที่ให้ความคุ้มครอง ซึ่งส่วนใหญ่มีข้อกำหนดระยะเวลารอคอยในการรับการรักษาดังต่อไปนี้

  • กรณีอุบัติเหตุ ได้รับความคุ้มครองทันทีเมื่อประกัน OPD อนุมัติ
  • กรณีโรคทั่วไป ได้รับความคุ้มครองหลังจากประกัน OPD อนุมัติ 30 วัน
  • กรณีเจ็บป่วยด้วย 8 โรคร้ายแรง ได้แก่ โรคเนื้องอก , ถุงน้ำ , มะเร็ง , โรคริดสีดวงทวาร , โรคไส้เลื่อนทุกประเภท , โรคต้อเนื้อ , โรคต้อกระจก , โรคทอนซิลหรืออดีนอยด์ , โรคนิ่วทุกประเภท , โรคเส้นเลือดขอด และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ ได้รับความคุ้มครองหลังจากประกัน OPD อนุมัติ 120 วัน

กรณีเจ็บป่วยจากโรคหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคต่อมไทรอยด์ , โรคลมบ้าหมู , โรคเบาหวาน , โรคความดันโลหิต , โรคภูมิแพ้ , โรคหัวใจ , โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น ได้รับความคุ้มครองหลังจากประกัน OPD อนุมัติ 180 วัน

บทความ เลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสม ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยเกษียณ

What OPD insurance

ใครควรทำประกัน OPD อย่างเดียว?

เนื่องจากประกัน OPD เป็นประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก การสมัครประกัน OPD เพียงอย่างเดียวจึงเหมาะกับ

  • คนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง  

เพราะประกัน OPD ให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีผู้ป่วยนอกที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาพยาบาลต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ประกัน OPD จึงเหมาะสำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีประวัติเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องหลายวัน แต่หากร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย และมีประวัติเสี่ยงเป็นโรครุนแรง แนะนำให้ทำประกัน IPD ควบคู่ เพื่อลดความกังวลเรื่องของค่ารักษาพยาบาล

  • คนที่ต้องการลดค่าเบี้ยประกันต่อปี 

ปัจจุบันแม้ว่ามีการส่งเสริมให้ทุกคนทำประกันอุบัติเหตุ , ประกัน IPD และประกัน OPD ให้ครบ จุดประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรักษาพยาบาล แต่สำหรับคนที่มีข้อจำกัดเรื่องค่าเบี้ยประกันต่อปี การทำประกัน OPD ถือเป็นตัวเลือกที่ช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกัน แต่ยังได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่ต้องการ

  • คนที่ต้องการความรวดเร็วในการรับการรักษาพยาบาล 

ถึงคนส่วนใหญ่จะได้รับสวัสดิการจากการประกอบอาชีพอย่างสวัสดิการรักษาพยาบาลในฐานะข้าราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิ์ประกันสังคม แต่ทั้งนี้ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ในทุกโรงพยาบาล ผู้ใช้สิทธิ์ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลที่กำหนดไว้เท่านั้น เพราะฉะนั้นหากต้องการความรวดเร็ว สะดวกสบาย เมื่อเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเล็กน้อย การทำประกัน OPD เพิ่มเติมถือเป็นทางเลือกตอบโจทย์

จะเห็นว่าประกัน OPD เป็นอีกหนึ่งประเภทประกันที่สำคัญ เพราะมีข้อดีทั้งช่วยลดความกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่าย และสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ตามต้องการ แต่อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินซื้อควรอ่านรายละเอียด เงื่อนไข และตรวจสอบความคุ้มครองอย่างละเอียดเสมอ

บทความ ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองอะไรบ้าง