คำถามที่พบบ่อย

( FAQs )

บริการด้านประกันภัย

บริษัท ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส จำกัด เป็นนายหน้าประกันภัยผู้ให้บริการด้านการประกันภัยรถยนต์ และประกันภัยสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์ (Loan Protection)* โดยเป็น บริษัทในกลุ่มตรีเพชรและตรีเพชรอีซูซุลิสซิ่ง

* หมายเหตุ : เฉพาะลูกค้าที่ทำการเช่าซื้อกับ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุลิสซิ่ง จำกัด เท่านั้น

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับบริการของ ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส คลิกที่นี่

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของประกันภัยรถยนต์ คลิกที่นี่

○ การทำประกันภัยผ่านนายหน้าประกันภัย ลูกค้าจะได้รับคำแนะนำที่หลากหลายและตรงกับความต้องการ อาทิเช่น การแนะนำและเลือกบริษัทประกันภัยที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า และเปรียบเทียบอัตราค่าเบี้ยประกันภัย รวมถึงช่วยดูแลและประสานงานให้แก่ลูกค้า กรณีที่ลูกค้าประสบปัญหาเรื่องการเคลมประกันภัย

○ การทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยโดยตรง ลูกค้าอาจจะไม่ได้รับบริการการเปรียบเทียบข้อมูลบริการด้านประกันภัย หรืออัตราค่าเบี้ยประกันภัยที่หลากหลาย ซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้าพลาดโอกาสในการรับบริการด้านประกันภัยที่คุ้มค่าที่สุด

ท่านสามารถทำการเปลี่ยนแปลง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ และข้อมูลทะเบียนรถได้ คลิกที่นี่

บริษัท ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส จำกัด
สถานประกอบการ สำนักงานใหญ่ 88/1-6 ชั้น 2 ถนนร่มเกล้า แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510

ท่านสามารถดูแผนที่ได้ คลิกที่นี่

ประกันรถยนต์

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ คือ พ.ร.บ. คุ้มครองการรักษาพยาบาลคนที่เกิดอุบัติเหตุจากรถของเรา ทำให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วคนเจ็บจะได้รับการรักษาแน่นอน และเป็นส่วนที่เราต้องแสดงเอกสารเมื่อเวลาไปต่อทะเบียนรถ เนื่องจากกฎหมายบังคับให้เราทำ

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ ประกันสารพัดชั้นที่เราต่ออายุกันทุกๆ ปี เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นย่อมมีค่าใช้จ่ายที่ต้องซ่อมแซมรถยนต์ให้กลับมาใช้ได้เป็นปกติและนอกจากการรักษาคนเจ็บที่เกิดอุบัติเหตุจากรถของเราแล้ว ตัวเราเองและคนที่โดยสารมากับเราในรถที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นนั้นก็จะได้รับการดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย เป็นที่มาว่าทำไมต้องต่อประกันรถกันทุกปี

รถกระบะที่ซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้ ภายหลังนำไปติดตั้งโครงเหล็กหลังคา และไม่ได้แจ้งกับบริษัทรับประกัน ถ้าหากเกิดเหตุได้รับความคุ้มครองส่วนของโครงเหล็กหลังคาและแต่งรถเพิ่ม กรณีเช่นนี้ โครงเหล็กหลังคาที่ติดตั้งภายหลังได้ทำประกันแล้ว หากเกิดเหตุเสียหาย ผู้รับประกันต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเอง กรณีต้องการให้บริษัทรับประกันคุ้มครองด้วย ต้องแจ้งให้บริษัทรับประกันทราบ และทางบริษัทรับประกันส่วนมากจะแนะนำให้เพิ่มราคาประกันภัยรถยนต์และเบี้ยประกันให้คุ้มครองส่วนนี้

ทำประกันและแจ้งการติดตั้งแก๊สแล้ว เมื่อเกิดเหตุวินาศภัยขึ้นจะได้รับความคุ้มครองตัวรถรวมถึงถังแก๊สด้วย ไม่ว่าเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ประกันจะจัดการส่วนนี้ให้ทำประกันแต่ไม่มีการแจ้งการติดตั้งแก๊ส หากเกิดเหตุเป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องกับคู่กรณีชดใช้ค่าเสียหายต่อถังแก๊สได้ด้วยตัวเอง บริษัทประกันจะไม่สามารถช่วยเรียกร้องได้ หากเป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชุดอุปกรณ์แก๊สเอง

ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันภัยที่ต้องรับผิดชอบโดยตัวเองเองในความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ตัวอย่างเช่นการ ทำประกันภัยรถยนต์มีการกำหนดความเสียหายส่วนแรกไว้ที่ 3,000 บาท/ครั้ง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ละครั้ง หากความเสียหาย เท่ากับ 3,000 บาท หรือน้อยกว่า คุณจะไม่ได้รับการชดเชยจากทางบริษัทประกันภัย แต่ถ้าคุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง และความเสียหายของคุณเท่ากับ 4,000 บาท คุณจะจ่ายเพียงแค่ 3,000 บาทเท่านั้น ส่วนบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนที่เพิ่มขึ้น 1,000 บาท

ค่า Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรก บริษัทประกันจะเรียกเก็บจากผู้ทำประกันในกรณีที่ไม่สามารถหาคู่กรณีหรือระบุเวลา สถานที่เกิดเหตุได้ชัดเจน, และความเสียหายที่ไม่มีรอยบุบ ร้าว แตกแต่เป็นความเสียหายเกี่ยวกับสีเช่น สีด่าง ถลอกแบบนี้ถือว่าเกิดจากความเสื่อมไม่ใช่อุบัติเหตุ

ใบขับขี่นับว่าเป็นเอกสารสำคัญในการทำประกันภัย เพราะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าผู้เอาประกันภัยนั้นมีความสามารถในการขับขี่รถยนต์ ถ้าไม่มีใบขับขี่หรือเคยมีใบขับขี่แต่ถูกเพิกถอน ถ้าเป็นความเสียหายของรถยนต์คันที่เอาประกันภัยต้องซ่อมเอง  แต่ถ้าเป็นความเสียหายบุคคลภายนอก บริษัทประกันภัยต้องรับผิดชอบให้

ลูกค้าจะมีโอกาสได้เปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันที่หลากหลายบริษัทประกัน เพื่อตัดสินใจได้ก่อนที่จะเลือกซื้อ โดยนายหน้าจะมีข้อมูลทั้งหมดของทุกบริษัทประกัน จึงทำให้สะดวกและง่ายกว่าหากลูกค้าต้องการติดต่อแต่ละบริษัทประกันเพื่อเปรียบเทียบ และตัดสินใจในการซื้อประกัน

เบี้ยประกัน ถูกกว่าซื้อโดยตรงกับบริษัทประกัน เนื่องจากว่านายหน้า มีจำนวนของลูกค้าที่ทำประกันในมือจำนวนมาก จึงสามารถใช้จำนวนลูกค้าที่มากนี้ในการต่อรองกับบริษัทประกัน เพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ราคาถูกกว่าลูกค้าทำประกันโดยตรงกับบริษัทประกัน

นายหน้าประกัน คนกลางที่ช่วยติดต่อประสานงานแทนลูกค้าในทุกเรื่อง แต่เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันส่วนใหญ่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัทตัวเองไว้ ขณะที่นายหน้าจะรักษาผลประโยชน์ให้กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่ เมื่อต้องเคลมประกันนายหน้าก็จะมีอำนาจในการต่อรองกับบริษัทประกันมากกว่าลูกค้าเคลมเอง

1.กรณีความเสียหายจากการชน มีการแบ่งแยกความคุ้มครองดังนี้

ล้อ, ล้อแม็กซ์

– ถ้าเป็นล้อ, ล้อแม็กซ์เดิม (เดิมคือที่ติดมากับตัวรถ) บริษัทประกันจะ รับผิดชอบเต็มมูลค่า

– ถ้ามีการเปลี่ยนล้อ, ล้อแม็กซ์ แต่มีมูลค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับล้อเดิม บริษัทประกันรับผิดชอบเต็มมูลค่า

– ถ้ามีการเปลี่ยนล้อ, ล้อแม็กซ์ แต่มีมูลค่าสูงขึ้นกว่าล้อเดิม บริษัทประกัน ส่วนมากจะคุ้มครองให้ ต่อเมื่อลูกค้าได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นไปให้ บริษัทประกันทราบเป็นลายลักษณ์อักษร (เพราะว่าบริษัทประกันต้องรับทราบในการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของทรัพย์สินตามความคุ้มครองในกรมธรรม์ ถือเป็นสาระสำคัญที่ลูกค้าจะต้องแจ้ง เนื่องจากจะมีผลกับค่าเบี้ยประกัน) ถ้าไม่แจ้ง บริษัทประกัน มีสิทธิ์ปฎิเสธความคุ้มครองหรือ คุ้มครองเพียงราคามาตรฐาน ที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตเท่านั้น

ยาง

บริษัทประกันส่วนมากจะคุ้มครองให้ลูกค้าในอัตราร้อยละ 50 หรือ 50 % ของราคาค่ายาง (โดยให้เหตุผลว่าต้องมีการหักค่าเสื่อมการใช้งาน แม้ไม่มีการชน หรืออุบัติเหตุเกิด หรือยางของลูกค้าที่เสียหายจะเป็นยางใหม่ ใช้งานมาไม่นาน ไม่ถึงเดือน หรือเป็นยางอะไหล่อาจจะไม่เคยมีการใช้เลยก็ตาม)

กรณีความเสียหายที่เกิดจากการชนหรืออุบัติเหตุ จะต้องมีความเสียหายที่ บริเวณแก้มยาง (ส่วนที่จากขอบล้อลงไปถึงส่วนที่สัมผัสพื้นถนน) และต้องมีส่วนควบของตัวรถได้รับความเสียหายด้วย เช่น ล้อแม็กซ์ครูด, บิ่น (ถ้ามีรอยยางอย่างเดียวไม่รับผิดชอบ)

2. กรณีความเสียหายจากการลักทรัพย์

จะมีความคุ้มครองลักษณะเดียวกันกับการชน แต่เพิ่มเติมคือ จะต้องไปแจ้งความต่อตำรวจ, พนักงานสอบสวนเพื่อให้ลงบันทึกประจำวัน เป็นหลักฐานเพิ่มเติมในการไปแจ้งเคลมกับบริษัทประกัน

**หมายเหตุ: เงื่อนไขอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามแต่ละบริษัทประกัน

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

เบี้ยประกันภัยชีวิตแบบสะสมทรัพย์สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล เบี้ยประกันชีวิตสําหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุด 100,000 บาท

ผู้รับประโยชน์สามารถเป็นใครก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติบริษัทต้องขอให้เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียกับผู้เอาประกันภัย เนื่องจากบริษัทเกรงว่าจะมีการทุจริตโดยเอาชีวิตผู้อื่นมาทําประกันชีวิต และฆ่าเพื่อหวังเงินประกันชีวิต

สามารถยื่นคําร้องเพื่อขอให้ตรวจสอบการทําประกันชีวิตได้ โดยต้องมีรายละเอียดชื่อ-นามสกุล ติดต่อที่สํานักงาน คปภ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั่วประเทศ

การทำประกันชีวิตที่บริษัทประกันจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัยการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์นี้ เป็นส่วนของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืน เมื่อสัญญาครบกำหนด

ออม 5 ปี คุ้มครอง 10 ปี ถือว่านับเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเงินออม เพราะเป็นแบบประกันที่มีเงินคืนให้อย่างต่อเนื่องทุกปี และเมื่อครบสัญญาจะได้รับเงินก้อนคืน 500% ของจำนวนเงินที่เอาประกันภัย เพื่อแผนการต่างๆในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสำหรับบุตรหลาน แผนการประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือเงินสำรองในยามฉุกเฉินพร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองตลอดสัญญา เป็นหลักประกันที่มั่นคงช่วยให้คุณอุ่นใจได้ว่าทุกแผนการเตรียมไว้ให้แก่คนที่คุณรักจะยังคงเป็นไปตามเป้าหมาย แม้ในยามที่คุณจากไป

เบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะเริ่มต้นที่ 18,520 บาทต่อปี

ตรวจสอบว่าตัวเราต้องการระยะเวลาคุ้มครองสั้น หรือระยะยาว ตั้งใจว่าจะเก็บเงินก้อนไว้ 5 ปีแล้วค่อยเอาออกมาใช้ การเลือกทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อายุกรมธรรม์ 5 ปี ก็จะเหมาะสม หรืออีก 10 ปีจะเกษียณแล้วตั้งใจทำประกันแบบสะสมทรัพย์ระยะเวลากรมธรรม์ 10 ปี แล้วเอาเงินก้อนออกมาใช้หลังเกษียณ ก็เป็นการวางแผนที่ดีเช่นกัน

1.รับเงินคืนรายปี แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
2.รับเงินก้อน เมื่อครบกำหนดสัญญา
3.รับความคุ้มครองชีวิตตลอด 10 ปี
4.เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้
5.สมัครได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ

ตามความเหมาะสมควรจ่ายเบี้ยประกันชีวิตนั้นไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ต่อปี หรือหากใครมีภาระหนี้สินอย่างอื่นเพิ่ม ก็อาจปรับลดเบี้ยประกันลงตามความเหมาะสมได้ เพราะถึงแม้ว่าถ้าจ่ายเบี้ยประกันสูง ก็จะได้จำนวนเงินเอาประกันที่สูง พร้อมจำนวนเงินที่ได้รับสูงตามไปด้วย แต่ถ้าเลือกแบบสูงเกินไปก็อาจจะเกินกำลังตัวเอง เมื่อจ่ายหลายๆ งวดก็จะทำให้รู้สึกเหนื่อย และอาจจ่ายได้ไม่ครบตามสัญญาได้

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

โดยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ จะให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก ให้ความคุ้มครองครอบคลุมกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้
กรณีเสียชีวิต
การสูญเสียอวัยวะและสายตา
กรณีทุพพลภาพถาวร
ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะคุ้มครองผู้เอาประกันที่มีช่วงอายุตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ สำหรับกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลของทิพยประกันภัย จะคุ้มครองผู้เอาประกันที่มีอายุระหว่าง 5 – 70 ปีบริบูรณ์

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลชดเชยค่ารักษาพยาบาลเฉพาะกรณีที่เป็นการรักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลจากอาการเจ็บป่วยอื่นๆ

คุ้มครอง 1 ปี จ่ายเบี้ยประกันครั้งเดียว

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเหมาะกับทุกคนที่มีความเสี่ยงจะบาดเจ็บหรือเกิดการสูญเสียต่อชีวิตและสุขภาพร่างกายจากอุบัติเหตุ

เนื่องจากอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และประกันอื่นๆ ให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุได้ไม่ครอบคลุมเท่ากับประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล การซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะขณะอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น มันจะช่วยเติมเต็มกรณีที่เดินทางไปประสบอุบัติเหตุในต่างประเทศ ซึ่งประกันการเดินทางไม่ได้ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมไว้

ขั้นอาชีพ 1-2 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านบริหาร หรืองานจัดการ งานเสมียนหรืองานขาย ในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักร หรือผู้ซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว

ขั้นอาชีพ 3 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องกลหนัก ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการขนส่งที่มีการเดินทาง หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ

หมายเหตุ : อาชีพที่ไม่รับประกันภัย : ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง เช่น คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม , ช่างยนต์ , ช่างก่อสร้าง , พนักงานในเหมือง , กรรมกร , ชาวประมง , คนงานในแท่นขุดเจาะน้ำมัน , พนักงานทำความสะอาดกระจกภายนอกอาคารสูง , พนักงานติดตั้งไฟฟ้าแรงสูง , นักแข่งรถ , นักร้อง , นักแสดง , นักกีฬา , คนขับรถรับจ้าง , นักข่าว , พนักงานรักษาความปลอดภัย , นักการเมือง , คนขับรถ

ประกันสุขภาพทั้งหลายจะมีการจ่ายเพื่อชดเชยค่ารักษาพยาบาล ให้ก็ต่อเมื่อเราต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น (ยกเว้นอนุสัญญาที่เป็น OPD ที่จ่ายเงินชดเชยค่ารักษากรณีเป็นผู้ป่วยนอก โดยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล) ดังนั้น หากเราเจ็บป่วยเล็กน้อย จากการเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม หัวแตก มีดบาด ฯลฯ ซึ่งไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ก็ไม่สามารถใช้ประกันสุขภาพที่มีอยู่ได้ ถ้าหากว่าเรามี PA ที่จ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลไว้ด้วยก็สามารถใช้ PA เบิกชดเชยค่ารักษาได้ ถามว่าถึงขั้นจำเป็นไหม ก็อาจจะไม่ถึงขั้นนั้น เพราะการรักษาที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ซึ่งจะมีค่ารักษาที่ไม่สูงมากอาจรับภาระค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ ยกเว้น การรักษาบางอย่าง หรือไปรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลหรือโรงพยาบาลเอกชั้นนำ ถ้ามีค่ารักษาแพง ถ้ามี PA ไว้ก็อาจจะช่วยแบ่งเบาภาระได้มากกว่า

ถ้าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ณ วันนี้ยอมรับภาระหนักขึ้นอีกนิดหน่อย แต่นั่นหมายถึง เราสำรองเงินไว้ให้กับครอบครัว และคนที่เรารัก จะพาครอบครัวไปถึงจุดหมาย ก็เปรียบเสมือนการสร้างหลักประกันไว้ให้กับครอบครัว

การต่อประกันภัย

ท่านสามารถดูวันสิ้นสุดความคุ้มครองได้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่ท่านมีอยู่ และติดต่อมายัง ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส เพื่อให้เจ้าหน้าที่เปรียบเทียบราคา และความคุ้มครองที่เหมาะสมให้แก่ท่าน และเมื่อท่านได้ซื้อกรมธรรม์ผ่าน ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส แล้ว ในปีถัดไปท่านจะไม่ต้องกังวลเรื่องการต่อประกันภัยอีกต่อไป เพราะเรามีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องการต่ออายุประกันภัยโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของเราจะติดต่อท่านล่วงหน้าเพื่อแจ้งทำการต่อประกันภัย ซึ่งจะทำให้ท่านได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง

ท่านสามารถติดต่อมาที่ ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส ได้โดยตรง โดยตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส จะทำการประสานงานตรวจสภาพรถและแจ้งต่อประกันให้แก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ท่านโดยเร็วที่สุด

ท่านสามารถติดต่อมาที่ ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส ตามช่องทางการสื่อสารต่อไปนี้ คลิกที่นี่

ท่านสามารถติดต่อมาที่ ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส ตามช่องทางการสื่อสารต่อไปนี้ คลิกที่นี่

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระค่าเบี้ยประกันภัย คลิกที่นี่

การติดต่อขอเคลมประกัน

กรุณาโทรศัพท์แจ้งอุบัติเหตุต่อบริษัทประกันภัยตามหมายเลขที่ระบุในกรมธรรม์ที่หน้ารถ หรือแผ่นพับที่บริษัทประกันภัยของท่านมอบให้

ข้อมูลที่ต้องแจ้งให้ทางบริษัทประกันภัยทราบเมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ มีดังนี้

1. ชื่อผู้เอาประกันภัย และ/หรือ หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ของรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุ
2. หมายเลขทะเบียน ยี่ห้อ และสีของรถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุ
3. ชื่อผู้ขับขี่
4. สาเหตุและลักษณะของอุบัติเหตุโดยย่อ
5. สถานที่เกิดเหตุ จุดที่สังเกตหรือเห็นได้ชัดเจน และสถานที่นัดหมาย เช่น สถานีตำรวจ หรือสถานที่ได้เคลื่อนรถยนต์ไป

ยิ่งให้รายละเอียดมากเท่าใด พนักงานของบริษัทประกันภัยจะถึงที่เกิดเหตุเร็วขึ้นเท่านั้น และถามชื่อพนักงานผู้รับแจ้งของบริษัทประกันภัยพร้อมเวลาที่แจ้ง เพื่อบริษัทประกันภัยจะได้หาผู้รับผิดชอบต่อท่านได้

โทรศัพท์แจ้งรายละเอียดกับบริษัทประกันภัยของท่าน โดยการแจ้งเคลมประกันภัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

คลมสด (Fresh Claim) การเคลมแบบมีคู่กรณี
คือ การเคลมที่ต้องการให้พนักงานของบริษัทประกันภัยไปตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ ได้แก่ การเกิดเหตุที่มีคู่กรณี หรือมีผู้บาดเจ็บ หรือรถคันที่เอาประกันหรือรถคู่กรณีเสียหายมาก ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้ขับขี่รถที่เอาประกันหรือรถคู่กรณีจะได้รับเอกสารการเคลม (ใบเคลม) จากพนักงานที่มาตรวจสอบอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถนำไปติดต่อซ่อมที่ศูนย์บริการหรืออู่ในเครือของบริษัทประกันภัยได้แล้วแต่กรณี

คลมแห้ง (Dry Claim) การเคลมแบบไม่มีคู่กรณี
คือ การเคลมที่ไม่ต้องการให้พนักงานของบริษัทประกันภัยไปตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ เช่น รถที่เอาประกันเสียหายเล็กน้อยและไม่มีคู่กรณี ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้ขับขี่รถที่เอาประกันสามารถนำรถเข้าไปติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัท ประกันภัยได้ตลอดเวลาที่สะดวก แต่ทั้งนี้ต้องก่อนกรมธรรม์หมดอายุ ในบางครั้งอาจจะโทรแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อให้พนักงานมาถ่ายรูปและออกเอกสารการเคลมให้ก่อนนำรถเข้าซ่อม

ซ่อมห้าง หรือ ซ่อมศูนย์
คือ การซ่อมที่ศูนย์บริการของรถยี่ห้อนั้นๆ หรือ อู่ที่ได้มาตรฐานคุณภาพเทียบเท่า โดยทั่วไปประกันซ่อมห้างมีให้เลือกสำหรับรถใหม่อายุ 1-4 ปี อะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมเป็นอะไหล่แท้จากศูนย์บริการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคิวการให้บริการของศูนย์บริการ

ซ่อมอู่
คือ เข้ารับการซ่อมที่อู่ทั่วไปที่มีข้อตกลงไว้กับบริษัทประกัน ในกรณีที่เป็นรถใหม่อายุ 1-3 ปี บริษัทประกันจะใช้อะไหล่ของแท้จากศูนย์ในการจัดซ่อม หากเป็นรถที่อายุมาก อะไหล่ที่ใช้อาจเป็นอะไหล่มือสองหรืออะไหล่มาตรฐานเทียบเท่าของแท้

เบี้ยประกันซ่อมห้างกับซ่อมอู่อาจต่างกันไม่มาก สำหรับรถยี่ห้อที่มีศูนย์บริการที่มีความพร้อมในการซ่อมสีซ่อมตัวถังอยู่มาก ตรงกันข้าม หากเป็นรถยี่ห้อที่ศูนย์บริการน้อย อาจทำให้เบี้ยประกันซ่อมห้างสูงกว่าเบี้ยประกันซ่อมอู่มาก หรือในบางกรณีอาจไม่มีประกันซ่อมห้างให้เลือกเลย